วันนี้ในอดีต

12 เมษายน วันสถาปนาเมืองเชียงใหม่

12 เมษายน 1839 วันสถาปนาเมือง เชียงใหม่ โดย พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง และ พ่อขุนงำเมือง ทรงร่วมกันก่อสร้างเมืองใหม่ขึ้น ณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง บริเวณเชิงดอยสุเทพ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนา จากนั้นได้ทรงขนานนามว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่” ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นนครรัฐอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย จนถึงปี 2101 ตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและพม่าอยู่หลายครั้ง จนกระทั่ง เจ้ากาวิละ และ พระยาจ่าบ้าน ขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้ยกเลิกเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่ามณฑลพายัพ และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ปรับปรุงการปกครองเป็นจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2476 จนถึงปัจจุบัน

เชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่ (Lanna-Chiang Mai) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากรราว 1.76 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมืองราว 960,000 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐชาน ประเทศพม่า

จังหวัดเชียงใหม่มีเขตเมืองที่จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร มีประชากรในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน (2553) จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อปี 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย

จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี “คำเมือง” เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก เชียงใหม่ยังถือเป็นศูนย์กลางด้านดาราศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นที่ตั้งของหอดูดาวแห่งชาติและอุทยานดาราศาสตร์แห่งชาติ

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button