วันนี้ในอดีต

2 กรกฎาคม ฌอง-ฌาค รุสโซ นักปรัชญาสังคมชาวสวิสเสียชีวิต

2 กรกฎาคม 2321 ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) นักปรัชญาสังคมชาวสวิส ผู้มีอิทธิพลต่อการ ปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ผู้นำคนสำคัญแห่ง ยุคแสงสว่างทางปัญญา (Enligntenment) เสียชีวิต

ฌอง-ฌาค รุสโซ

ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau) 28 มิถุนายน 2255 เสียชีวิต 2 กรกฎาคม 2321 เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญา

แนวคิดของ ฌอง ฌาค รุสโซ

รูโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น “คนเถื่อนใจธรรม” (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความเรียงชื่อ “การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์” (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีเจตจำนงเสรี (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รูโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์

รูโซ มีชีวิตอยู่ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จนถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เกิดในเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ งานเขียนของเขาส่งอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสด้วย

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button