นิทานชาดก

นิทานชาดก : ชายจมูกแหว่ง

นิทานชาดก : ชายจมูกแหว่ง เป็นนิทานชาดกที่สอนให้รู้ว่า คำพูดต้องศักดิ์สิทธิ์ ชายหนุ่มสามคนต้องการดอกบัวไปประดับในงานมหรสพ แต่สระบัวนั้นมีชายจมูกแหว่งเฝ้าอยู่ ชายหนุ่มคนแรกหลอกชายจมูกแหว่งจนได้ดอกบัว แต่กลับไม่สมหวัง ในขณะที่ชายหนุ่มคนที่สองและสามพูดความจริงกับชายจมูกแหว่ง ได้ดอกบัวที่สวยงามและหอมกรุ่นไปประดับในงานมหรสพ

ชายจมูกแหว่ง

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพวกภิกษุได้บูชาต้นโพธิ์ด้วยดอกบัวเพราะอาศัยพระอานนทเถระผู้ฉลาดในการกล่าวถ้อยคำ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี มีเพื่อนที่เป็นลูกชายเศรษฐีด้วยกันอีก 2 คน

ในสมัยนั้นมีชายจมูกแหว่งคนหนึ่งทำหน้าที่ดูแลสระดอกบัวอยู่ชานเมืองพาราณสี วันหนึ่งในเมืองพาราณสีมีมหรสพ ลูกชายเศรษฐีทั้ง 3 คนได้พากันไปที่สระดอกบัวเพื่อขอดอกบัวประดับกายไปเที่ยวงานมหรสพนั้น พอไปถึงสระดอกบัวแล้วลูกชายเศรษฐีคนที่ 1 ได้พูดขอดอกบัวกับชายจมูกแหว่งว่า “พี่ชาย ผมและหนวดที่ตัดแล้วยังงอกขึ้นได้ ขอให้จมูกของท่านงอกขึ้นเช่นกัน ผมขอดอกบัวด้วยครับ” ชายจมูกแหว่งโกรธไม่ชอบใจจึงไม่ให้ดอกบัวแก่เขา

ต่อจากนั้น ลูกชายเศรษฐีคนที่ 2 ได้พูดขอดอกบัวว่า “พี่ชาย ข้าวที่หว่านในนายังงอกขึ้นได้ ขอให้จมูกท่านงอกได้เช่นกัน ผมขอดอกบัวด้วยครับ” ชายจมูกแหว่งก็ยังโกรธอีกไม่ให้ดอกบัวแก่เขา พระโพธิสัตว์จึงพูดขอดอกบัวเป็นคนที่ 3 ว่า

“พี่ชาย คนทั้งสองพูดกับท่านเกินความเป็นจริง ถึงยังไงจมูกของท่านก็ไม่มีวันงอกขึ้นมาได้อีก ผมขอดอกบัวด้วยครับ”

ชายจมูกแหว่งพอใจจึงพูดว่า “สองคนนั้นพูดมุสา ท่านจึงพูดความจริง เราให้ดอกบัวแก่ท่าน” ว่าแล้วก็ยกดอกบัวให้พระโพธิสัตว์ไปกำใหญ่

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

อย่าพูดอะไรให้เกินความเป็นจริง จะเสียใจภายหลัง โดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button