นิทานชาดก

นิทานชาดก : ตายเพราะปาก

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ตรัสอดีตนิทานเรื่อง “ตายเพราะปาก” ขึ้นเพื่อสอนเหล่าภิกษุถึงความสำคัญของการใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง นิทานเรื่องนี้กล่าวถึงฤาษีขี้โรคผู้หนึ่งที่ถูกฤาษีปากมากพูดจายั่วยุจนโมโหและฆ่าฤาษีปากมากตายในที่สุด นิทานเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงโทษของการพูดจาไม่เหมาะสม ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งและการสูญเสียได้

Advertisement

ตายเพราะปาก

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เมื่อเรียนจบศิลปะทุกอย่างจากเมืองตักกสิลา แล้วบวชเป็นฤาษี ได้เป็นอาจารย์ผู้ให้โอวาทแก่ฤาษี 500 ตน

ในที่นั้น มีฤาษีขี้โรคผอมเหลืองผู้หนึ่ง วันหนึ่ง ท่านกำลังนั่งฝ่าฝืนอยู่ ได้มีฤาษีปากมากผู้หนึ่งเข้ามานั่งใกล้ๆ แล้วพูดว่า “ท่านจงฟันอย่างนี้ จงฟันตรงนี้”

ทำให้ฤาษีขี้โรคโกรธแล้วกล่าวว่า “ท่านไม่ใช่อาจารย์สอนศิลปะการฝ่าฟืนของผมนะ” จึงฟันดาบสนั้นเสียชีวิตด้วยมีดฝ่าฟืนนั่นเอง

และในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของฤาษี มีนกกระทาตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่จอมปลวก ทุกเช้าเย็นมันจะขึ้นไปยืนขันเสียงดังลั่นอยู่บนจอมปลวกนั้นเป็นประจำทุกวัน เป็นเหตุให้พรานผู้หนึ่งมาจับมันไปเป็นอาหาร

ฤาษีพระโพธิสัตว์ไม่ได้ยินเสียงมันขันจึงถามหมู่ฤาษี เมื่อทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ท่ามกลางหมู่ฤาษีว่า

” คำพูดที่ดังเกินไป รุนแรงเกินไป และพูดเกินเวลา ย่อมฆ่าคนผู้มีปัญญาทรามเสีย เหมือนเสียงฆ่านกกระทา ที่ขันดังเกินไป “

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

การพูดมากไม่ดี ควรพูดตามกาลเทศะ และพูดแต่ที่ดี

Advertisement

อ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button