ภาพยนตร์

หนัง 15 เรื่อง มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 8

หอภาพยนตร์ กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ 15 เรื่อง เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 9 ในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย มีทั้งหนังสมัยใหม่ และ ภาพยนตร์ในอดีตที่เก็บอนุรักษ์ โดยทุกเรื่องต่างมีอิทธิพลต่อสังคมในยุคสมัยต่าง ๆ

สารบัญ
มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2567

รายชื่อหนัง มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2562

มรดกภาพยนตร์ของชาติ เป็นโครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ที่มีคุณค่าของชาติและเสี่ยงต่อการสูญเสีย โดยโครงการจะจัดขึ้นทุกปี และจะประกาศรายชื่อภาพยนตร์ปีละครั้ง

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำโครงการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติขึ้นครั้งแรก ในปี 2554 และประกาศรายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ ทั้ง 25 เรื่อง ในวันที่ 4 ตุลาคม ของปีนั้น ซึ่งได้กำหนดให้เป็นวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องที่จะจัดขึ้นทุกปี เพื่อขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ที่มีคุณค่าของชาติและเสี่ยงต่อการสูญเสีย โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งหมด 25 เรื่อง เช่นเดียวกับครั้งแรก และมีการประกาศรายชื่อภาพยนตร์ต่อมาทุกปี

พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๖๙ (2469)

เป็นภาพยนตร์ส่วนพระองค์ชุดแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงถ่ายด้วยพระองค์เองระหว่างการเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ เห็นภาพภูมิประเทศ พสกนิกร กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งพิธีต้อนรับยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ

การเสด็จเลียบเมืองเหนือ ROYAL TOUR IN NORTHERN SIAM (ส่วนที่ไม่ได้ใช้) (2470)

ภาพยนตร์เรื่อง (การเสด็จเลียบเมืองเหนือ ROYAL TOUR IN NORTHERN SIAM) เป็นบันทึกเหตุการณ์เดียวกับ พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ แต่นำเสนอในอีกมุมมอง เป็นการถ่ายทำโดยกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ศูนย์ผลิตและเผยแพร่ภาพยนตร์อย่างเป็นทางการแห่งแรกของสยาม ซึ่งหอภาพยนตร์ได้เก็บอนุรักษ์เศษที่เหลือจากการตัดต่อของภาพยนตร์ (Outtake) มาเรียบเรียงใหม่

ชมสยาม SEE SIAM (ไม่สมบูรณ์) (2473)

ชมสยาม ภาพยนตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุดแรกของสยาม ที่สร้างขึ้นในปี 2473 เพื่อหวังให้ชาวต่างชาติเห็นสภาพบ้านเมือง และวัฒนธรรมของประเทศ

เลือดชาวนา (เศษที่เหลืออยู่) (2479)

เลือดชาวนา (พ.ศ.2479) ถึงแม้จะหลงเหลือเพียงแค่เศษของภาพยนตร์ (ไม่เต็มเรื่อง) แต่ทั้งคู่เป็นผลงานของทีมงานผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ไทยที่หลงเหลืออยู่เพียงน้อยนิด และเป็นตัวอย่างของภาพยนตร์ไทยประเภทภาพยนตร์เรื่อง 35 มม. เสียงในฟิล์มตามแบบมาตรฐานสากลที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบของ 2 บริษัทผู้สร้าง ที่เป็นคู่แข่งกันในยุคสมัยนั้น คือ โรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง และโรงถ่ายไทยฟิล์ม

ปิดทองหลังพระ (เศษที่เหลืออยู่) (2482)

ปิดทองหลังพระ (พ.ศ.2482) ถึงแม้จะหลงเหลือเพียงแค่เศษของภาพยนตร์ (ไม่เต็มเรื่อง) แต่ทั้งคู่เป็นผลงานของทีมงานผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ไทยที่หลงเหลืออยู่เพียงน้อยนิด และเป็นตัวอย่างของภาพยนตร์ไทยประเภทภาพยนตร์เรื่อง 35 มม. เสียงในฟิล์มตามแบบมาตรฐานสากลที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบของ 2 บริษัทผู้สร้าง ที่เป็นคู่แข่งกันในยุคสมัยนั้น คือ โรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง และโรงถ่ายไทยฟิล์ม

กะเทยเป็นเหตุ (2497)

กะเทยเป็นเหตุ (พ.ศ.2497) ภาพยนตร์สมัครเล่นไทยที่มีกะเทยเป็นตัวละครหลักที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ เป็นหลักฐานสำคัญที่ในการสำรวจความเข้าใจ และทัศนคติของสังคมไทยที่มีต่อความหลากหลายทางเพศตั้งแต่ยุค 60 กว่าปีก่อน

BANGKOK METROPOLITAN BUSES AND TRUCKS (2501)

BANGKOK METROPOLITAN BUSES AND TRUCKS บันทึกเหตุการณ์ของยุคสมัยในอดีต ที่ถ่ายทอดให้เห็นภาพรถเมล์ไทย และระบบขนส่งสาธารณะในช่วงสมัยปี 2501

มวยไทย (2506)

มวยไทย (พ.ศ.2506) อันเป็น ตำรามวยไทย ของครูบัว วัดอิ่ม ครูมวยไทยสายโคราชคนสำคัญ ที่จัดทำขึ้นในรูปแบบภาพยนตร์เรื่องแรกเท่าที่มีการค้นพบ

นางสาวโพระดก (2508)

นางสาวโพระดก ผลงานภาพยนตร์ปี 2508 ของ วิจิตร คุณาวุฒิ ศิลปินแห่งชาติด้านภาพยนตร์คนแรกของไทย สร้างจากบทประพันธ์ของ สุวัฒน์ วรดิลก นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และพิศมัย วิไลศักดิ์

ฟ้าเมืองไทย ฉลองขึ้นปีที่ 8 พุธ 7 เมษา 19 (2519)

เรื่อง ฟ้าเมืองไทย ฉลองขึ้นปีที่ 8 พุธ 7 เมษา 19 (พ.ศ.2519) เป็นหนังของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียน และบรรณาธิการชั้นครู บันทึกภาพเคลื่อนไหวของนักเขียนคนสำคัญทั่วฟ้าเมืองไทย ในยุคที่วงการหนังสือเฟื่องฟูมากที่สุดยุคหนึ่งเอาไว้ได้อย่างมีชีวิตชีวา

ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด CRAZY ME (2536)

ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (พ.ศ.2536) ผลงานภาพยนตร์สะท้อนสังคมผ่านกรอบความเป็นหนังแฟนตาซี และเป็นบทบันทึกอารมณ์ และชีวิตพนักงานออฟฟิศชาวกรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2530 เป็นขวัญใจนักวิจารณ์ที่กวาดรางวัลมากมาย และแจ้งเกิดให้แก่ผู้กำกับ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์

ฝัน บ้า คาราโอเกะ FUN BAR KARAOKE (2540)

ฝัน บ้า คาราโอเกะ (พ.ศ.2540) เป็นผลงานการกำกับเรื่องแรกของ เป็นเอก รัตนเรือง ที่ฉีกกฎเกณฑ์การเล่าเรื่อง และขนบหนังไทย โดยเฉพาะหนังแนววัยรุ่นที่กำลังได้รับความนิยมก่อนหน้านั้นอย่างสิ้นเชิง

พี่มาก..พระโขนง PEE MAK (2556)

ณ สยามประเทศ ในยุคที่ยังมีสงคราม ชาวบ้านจำนวนมากต้องถูกเกณฑ์ไปรบ มากจำต้องทิ้งเมียของเขาที่กำลังท้องแก่ไว้ที่บ้านเพื่อเข้าร่วมศึก ระหว่างสงครามมากได้พบและช่วยชีวิตเพื่อทหารเกณฑ์สี่คนคือ เต๋อ เผือก ชิน และเอ จนท้ายที่สุดทั้งห้าก็กลายมาเป็นเพื่อนสนิทกัน เมื่อสงครามยุติ มากจึงชวนให้ทั้งสี่ไปเยี่ยมบ้านของเขาที่พระโขนง เมื่อถึงพระโขนง มากแนะนำให้เพื่อนรู้จักกับ นาค เมียสาวแสนสวยของเขา และยังมีแดง ลูกชายวัยแรกเกิดของมากด้วย เต๋อ เผือก ชิน และ เอ ตัดสินใจอยู่ที่พระโขนงสักระยะโดยอาศัยที่บ้านหลังเก่าฝั่งตรงข้ามบ้านมาก

ขณะนั้นมีข่าวลือหนาหูในหมู่ชาวบ้านว่า นาค เป็นผีตายทั้งกลม!! โดยต้นตอมาจากยายเปรียกเจ้าของร้านยาดองปั่น ทั้งสี่ไม่เชื่อ จึงพยายามพิสูจน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ต่อมายายเปรียกผู้ปล่อยข่าวลือเกิดจมน้ำตายลอยขึ้นอืดอย่างน่าสยดสยอง ทำให้ เต๋อ เผือก ชิน และเอ ปักใจเชื่อว่า นาค เป็นผีแน่ ๆ ทั้งสี่ไม่กล้าบอกมากตรง ๆ เนื่องจากกลัวจะต้องพบจุดจบแบบเดียวกับยายเปรียก แต่เมื่อนึกถึงบุญคุณที่มากเคยช่วยชีวิต พวกเขาจึงต้องตัดสินใจบอกความจริงให้มากรู้เพราะคนกับผีอยู่ร่วมกันไม่ได้

อาปัติ KARMA (2558)

อาปัติ (ชื่อเดิม อาบัติ) เรื่องราวของ ซัน (ชาลี ปอทเจส) เด็กหนุ่มผู้เอาแต่ใจตนเอง ไม่สนใจใคร และใช้ชีวิตคึกคะนองอย่างสุดขั้ว เขาจึงถูกพ่อบังคับให้มาบวชเณรอย่างไร้ศรัทธา จึงทำให้ซันยังคงใช้ชีวิตเหมือนปกติทั่วไปแม้จะอยู่ในผ้าเหลืองแล้วก็ตาม รวมถึงการแอบคบหากับ ฝ้าย (พลอย ศรนรินทร์) สาววัยรุ่นผู้โหยหาในความรักซึ่งเหมือนเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวเดียวที่ทั้งคู่มีให้แก่กันและเชื่อมั่นว่าไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด ทุกการกระทำที่ท้าทายการอาบัตินี้ ทำให้เณรซันต้องเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ลึกลับชวนขนหัวลุกที่ถูกปกปิดไว้ภายในวัด ทั้งเรื่องราวความสัมพันธ์ของสีกากับพระ, การเผชิญหน้ากับผีเปรตที่ตามมาขอส่วนบุญและทวงคืนชีวิตที่ต่างเชื่อมโยงกันอย่างคาดไม่ถึง รวมทั้งความผิดที่เขากำลังวิ่งหนี ก็เข้ามาตอกย้ำให้เขาต้องชดใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

INSECTS IN THE BACKYARD แมลงรักในสวนหลังบ้าน (2560)

ธัญญ่า กะเทยที่พยายามสร้างครอบครัวที่เป็นสุขและสวยงาม เธออยู่กับน้องสาวและน้องชายวัยเรียนเพียงลำพัง แต่ยิ่งธัญญ่าพยายามมอบความรักให้น้อง ๆ ของเธอมากเพียงใด พวกเขากลับยิ่งวิ่งหนีออกห่างจากธัญญ่ามากเท่านั้น และเลือกที่จะโบยบินออกไปค้นหาประสบการณ์ความรักในรูปแบบของตัวเอง ตัวละครในเรื่องประกอบด้วย พี่สาวคนโต ธัญญ่า (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์) ซึ่งเป็นสาวประเภทสอง วัย 35 ปี และน้องชายกับน้องสาวของเธอ จอห์นนี (นนท์ปวิธ ด่านศรีบูรณ์) วัย 15 ปี และเจนนิเฟอร์ (สุชาดา โรจน์มโนธรรม) วัย 17 ปี

หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์

หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์

คุณค่าทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ

เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ สถานที่ กาลสมัย บุคคล เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยและสังคมไทย ในมิติต่าง ๆ เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ทั้งในฐานะปัจเจกและกลุ่มหรือมวลชน สามารถทำให้ผู้ชมเข้าถึงและเข้าใจมิติเหล่านั้นในเชิงประวัติศาสตร์หรือความทรงจำ

คุณค่าทางศิลปะภาพยนตร์

เป็นผลงานภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ อันแสดงถึงศิลปะวิทยาทางด้านภาพยนตร์

มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

เป็นภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การนำเสนอภาพยนตร์นั้นไม่ว่าการถ่ายทำ การแสดง การตัดต่อ ฯลฯ มีความคิดริเริ่ม ไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนในภาพยนตร์อื่น ๆ

บูรณภาพ

คือความสมบูรณ์ครบถ้วนของผลงานภาพยนตร์ตรงตามต้นฉบับของผู้สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ที่ออกฉายแล้วอาจถูกตัดทอน ถูกเสริมเติมแต่งเพิ่มเติม ถูกดัดแปลงไปด้วยเหตุต่าง ๆ

ความเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือยากแก่การหาทดแทน

เป็นภาพยนตร์ที่ยังมีฟิล์มต้นฉบับหรือสำเนาในรูปแบบอื่นใดอยู่ แต่ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะสูญเสียภาพยนตร์นั้นไป ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีต้นฉบับหรือสำเนาอยู่เพียงชุดเดียว หรือภาพยนตร์นั้นกำลังเสื่อมสภาพ หรือสภาพการจัดเก็บไม่ปลอดภัย ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

อิทธิพลต่อคนและสังคม

ภาพยนตร์ที่สามารถส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อปัจเจกชนและหรือต่อสังคม ไม่ว่าทางด้านพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ อารมณ์ ฯลฯ อาจก่อให้เกิดกระแสสมัยนิยมเกิดการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ไม่ว่าชั่วระยะเวลาสั้นหรือยั่งยืนนาน

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button