เรื่องน่าสนใจ

ประวัติมวยไทย กติกา และประโยชน์

มวยเป็นกีฬาที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน หลายคนคงอยากรู้จักกับประวัติมวยไทย และกฏกติกามวยไทย ให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์เวลามีการแข่งขัน

มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและใจ สำหรับการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ โดยเป็นที่รู้จักว่าเป็น “นวอาวุธ” ซึ่งประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า หากมีการเตรียมพร้อมด้านร่างกายดี

จะก่อให้เกิดอาวุธที่มีอานุภาพ มวยไทยได้เป็นที่แพร่หลายในระดับนานาชาติในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ เมื่อเหล่านักมวยไทยสามารถเป็นฝ่ายชนะนักต่อสู้ที่มีชื่อเสียงในแขนงอื่น ซึ่งการแข่งขันมวยไทยในระดับอาชีพ ได้รับการดูแลโดยสภามวยไทยโลก

ประวัติมวยไทย

ประวัติมวยไทย

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมวยไทยเริ่มมีและใช้กันในการสงครามในสมัยก่อน ซึ่งแตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกันการอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตี)

Advertisement

มวยไทยสืบทอดมาจากมวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ โดยมีสายสำคัญหลัก เช่น มวยท่าเสา (ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง) มีคำกล่าวไว้ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา”

ในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ ครูมวย ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วนค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน-ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และสำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่น ๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย) และจะมีการแข่งขันต่อสู้-ประลองกันในงานวัด และงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่าง ๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล-เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค

บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย (อิหร่าน)

จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่าง ๆ สืบต่อกันมาเป็นประจำ และเป็นที่น่าสังเกตว่า กองทัพกู้ชาติของพระเจ้าตาก ล้วนประกอบด้วยนักมวยและครูมวยที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจำนวนมาก ถึงกับได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยรบพิเศษ 3 กอง คือ กองทนายเลือก กองพระอาจารย์ และกองแก้วจินดา ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญที่ทำให้คนไทยสิ้นความหวาดกลัวต่อทัพพม่า ในการรบที่บ้านนางแก้ว ราชบุรี จนอาจเรียกได้ว่า มวยไทยกู้ชาติ

กติกามวยไทย

กติกามวยไทย

กติกามวยไทยสมัยปัจจุบันจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนครอบคลุมทุก ๆ เรื่อง การแข่งขันมวยไทย ในปัจจุบันนักมวยต้องสวมนวมขนาด 4 ออนซ์ แต่งกายแบบนักกีฬามวยคือ สวมกางเกงขาสั้นสวมกระจับ สวมปลอกรัดเท้าหรือไม่ก็ได้ เครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนได้ ส่วนเครื่องรางอื่น ๆ ใส่ได้เฉพาะตอนร่ายรำไหว้ครูแล้วให้ถอดออกตอนเริ่มทำการแข่งขัน ในการแข่งขันมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คนกรรมการให้คะแนนข้างเวที 2 คน จำนวนยกในการแข่งขันมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คนกรรมการให้คะแนนข้างเวที 2 คน จำนวนยกในการแข่งขันมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนักตัวของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของมวยสากล อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก เข้าชก เตะ ถีบ ถอง เป็นต้น ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ที่ชก แม่ไม้มวยไทยที่มีอันตรายสูงบางท่าถูกห้ามใช้เด็ดขาด อาทิ ท่าหลักเพชร เป็นท่าจับขาแล้วหักด้วยการนั่งทับ เป็นต้น

การจำแนกรุ่น มี 19 รุ่น ดังนี้

  • รุ่นพินเวท น้ำหนักต้องเกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)
  • รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)
  • รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)
  • รุ่นฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)
  • รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)
  • รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 115ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)
  • รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน118ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)
  • รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 122ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม) และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)
  • รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)
  • รุ่นไลท์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)
  • รุ่นซูเปอร์ไลท์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)
  • รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)
  • รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)
  • รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม)
  • รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม) และไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)
  • รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม) และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)
  • รุ่นฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 175 ปอนด์ (779.379 กิโลกรัม) และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)
  • รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม) และไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม)
  • รุ่นซูเปอร์เฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป (90.900 กิโลกรัมขึ้นไป)

ประโยชน์ของมวยไทย

  • มวยไทยช่วยพัฒนาการทางกาย ช่วยทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสมรรถภาพ ในการปฎิบัติงานได้ดี มีทรวดทรงดี มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำ มีทรวดทรงสง่างามสมชายชาตรี
  • มวยไทยช่วยพัฒนาการทางอารมณ์ การออกกำลังกาย การฝึกซ้อม การแสดงศิลปะ มวยไทย และการแข่งขัน จะพบทั้งความผิดหวัง และความสมหวังรวมทั้งความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย ดังนั้นนักกีฬามวยไทย จึงต้องมีความอดทน อดกลั้น เป็นอย่างดีจึงจะสามารถเป็นนักกีฬามวยไทยที่ดีได้ นักกีฬาที่มีประสบการณ์กับการพ่ายแพ้ และการชนะจากการแข่งขันบ่อย ๆ จะมีอารมณ์มั่นคงสูง และมีความเชื่อมั่นตนเอง
  • มวยไทยช่วยพัฒนาการทางด้านสังคม มวยไทย เป็นศิลปวัฒนธรรม

ทิ้งท้าย

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ของกีฬามวยไทย หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจกฏกติกา และประวัติมวยไทยกันมากขึ้น

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee