อาหารเพื่อสุขภาพ

โปรตีนเกษตร หรือ เนื้อเทียม ทำมาจากอะไร ?

ช่วงกินเจเราจะพบโปรตีนที่ทำจาก โปรตีนเกษตร หรือ เนื้อเทียม แต่รู้กันหรือไม่โปรตีนเกษตรทำมาจากอะไร มีสารอาหารเท่าไหร่

โปรตีนเกษตร

โปรตีนเกษตร หรือ เนื้อเทียม (Textured Vegetable Protein : TVP) ผลิตจากแป้งถั่วเหลืองพร่องไขมัน 100% จึงมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งเป็นโปรตีนจากพืชถึง 50% โดย โปรตีน จากถั่วเหลืองดังกล่าวถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกตัว โดยเฉพาะมีไลซีน (Lysine) สูง นอกจากนี้โปรตีนเกษตรยังมีราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์

เครื่องจักรที่สำคัญในการผลิตโปรตีนเกษตรคือเครื่องเอ็กซ์ทรูดเดอร์(Extruder)โดยการใส่แป้งถั่วเหลืองพร่องไขมันเข้าเครื่องเอ็กซ์ทรูดเดอร์ ซึ่งมีความดันและอุณหภูมิสูง ในระยะเวลาสั้นๆเรียกว่ากระบวนการอัดพอง หรือ extrusion processแป้งถั่วเหลืองพร่องไขมันได้รับความร้อนขณะ

เคลื่อนตัวไปตามร่องสกรูของเครื่องเอ็กซ์ทรูดเดอร์ จนสภาพธรรมชาติเปลี่ยนไป (protein denatured)เป็นของเหลวข้นและถูกอัดผ่านรูเล็กๆที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมออกมา พร้อมกับถูกใบมีดที่ติดตั้งอยู่ที่ปลายเครื่อง ตัดออกเป็นชิ้นๆ หล่นลงสู่สายพาน นำเข้าอบเพื่อไล่ความชื่นให้เหลือต่ำกว่า 5%ก็จะได้ผลิต ภัณฑ์โปรตีนที่มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์ที่เรียกว่า “โปรตีนเกษตร”

วิธีการใช้โปรตีนเกษตร

นำมาแช่ในน้ำเย็น โดยใช้โปรตีนเกษตร 1 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที จะดูดน้ำจนพองนิ่ม (หรือแช่ในน้ำเดือดใช้เวลา 2 นาที) บีบน้ำออก นำไปประกอบอาหารได้มาดูกัน

ปริมาณสารอาหารในโปรตีนเกษตร 100 กรัม

  • โปรตีน 49.76 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต (รวม crude fiber) 40.89 กรัม
  • ใยอาหาร 13.6 กรัม
  • เถ้า 6.78 กรัม
  • ความชื้น 2.15 กรัม
  • ไขมัน 0.42 กรัม
  • พลังงาน 366.38 กิโลแคลอรี่
  • โพแทสเซียม 6.71 กรัม
  • ฟอสฟอรัส 773.7 มก.
  • แคลเซียม 138.9 มก.
  • เหล็ก 6.8 มก.
  • โซเดียม 0.95 มก.
  • ไนอะซีน 2.35 มก.
  • วิตามินบี 1 0.26 มก.
  • วิตามีนบี 2 0.26 มก.

กรดอะมิโน

  • ลูซีน 3.98 กรัม
  • ไลซีน 3.11 กรัม
  • ฟีนิลอะลานีน 2.85 กรัม
  • วาลีน 2.25 กรัม
  • ทรีโอนีน 2.18 กรัม
  • ไอโซ-ลูซีน 2.13 กรัม
  • ไทโรซีน 1.88 กรัม
  • ทริปโตเฟน 0.91 กรัม
  • ซิสตีน 0.8 กรัม

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button