How To

วิธีเขียนคำนำรายงาน พร้อมตัวอย่างทั้งมหาลัยและมัธยม!

ส่วนแรกที่เราได้เห็นเมื่อเปิดหนังสือ หรือเล่มรายงาน โดยส่วนใหญ่จะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตของการเขียนรายงาน หลักการเขียนคำนำรายงานหลักการง่าย ๆ ก็คือต้องเขียนให้ผู้อ่านสนใจอยากจะอ่านรายงานของเรา การเริ่มต้นอาจจะเขียนถึงที่มาที่ไปของรายงานเรื่องนี้

Advertisement

คำนำคืออะไร ?

คำนำคืออะไร ?

คำนำ (Preamble) เป็นส่วนเกริ่นนำของหนังสือที่อยู่ก่อนข้อความหลัก คำนำที่เขียนโดยผู้เขียนมีขึ้นเพื่อดึงดูดผู้อ่านโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้เขียนในการเขียนหนังสือ แรงบันดาลใจเบื้องหลังเนื้อหา กระบวนการเขียน วัตถุประสงค์ของเรื่อง และบริบททางประวัติศาสตร์ของเนื้อหา

จุดประสงค์ของคำนำรายงานคืออะไร?

แม้ว่าคำนำจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว แต่การนำการบรรยายมาเป็นโอกาสสำหรับผู้เขียนที่จะกล่าวถึงผู้อ่านโดยตรงและให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่พวกเขานอกเหนือจากเนื้อหาหลัก ในหนึ่งหรือสองหน้า คำนำมีขึ้นเพื่อ:

  • อธิบายว่าเหตุใดผู้เขียนจึงเลือกเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้
  • เผยแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือ
  • อธิบายขั้นตอนการค้นคว้าหัวข้อหนังสือ
  • สรุปขั้นตอนการเขียนหนังสือ รวมถึงความท้าทายต่าง ๆ และระยะเวลาที่ใช้เขียน
  • แนะนำหนังสือฉบับใหม่และพูดคุยถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป

หลักการเขียนคำนำ

คำนำที่ดีจะทำให้ผู้อ่านติดตามเรื่องของเราตลอด หากการเขียนคำนำไม่ดีผู้อ่านอาจจะหยุดอ่าน ดังนั้นในตอนต้นควรมีวิธีการชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความให้จบ โดยต้องสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้มากที่สุด อาทิเช่น

  • การอธิบายความหมายของเรื่อง
  • คำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
  • คำถามหรือปัญหาที่สนใจ
  • ขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
  • การเล่าเรื่อง
  • กล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน
  • อธิบายชื่อเรื่อง
  • กล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน

เนื้อหาที่ควรเลี่ยงในการเขียนคำนำ

  • ไม่ควรเขียนเนื้อหาซ้ำไปมา
  • ไม่เขียนเนื้อหาซ้ำกับบทลงท้าย
  • หลีกเลี่ยงการเขียนเรื่องประวัติศาตร์ ที่ผู้อ่านรู้จัก
  • ไม่เอ่ยถึงเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน
  • สิ่งี่สำคัญไม่ควรเล่าเนื้อเรื่องที่เกินความเป็นจริง

รูปแบบการเขียนคำนำ

  • ให้พิมพ์คำว่า “คำนำ” ด้วยอักษรขนาดใหญ่ ไว้กลางหน้ากระดาษ เว้นระยะให้ห่างจากขอบบน 2 นิ้ว
    เขียนคำนำโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้
  • จบข้อความให้ ลงชื่อ และ นามสกุลของผู้เขียน
  • ลงท้ายด้วยคำว่า “ผู้จัดทำ” และวันที่แบบย่อ เช่น 10 ก.พ. 2566 จะจัดหน้าชิดซ้าย หรือชิดขวาก็ได้ทั้งนั้นไม่ผิด แต่ส่วนมากแล้วจะนิยมจัดหน้าชิดขวา

ตัวอย่างการเขียนคำนำ

ตัวอย่างการเขียนคำนำรายงาน
ตัวอย่างคำนำ

คำนำ

Advertisement

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา……. รหัสวิชา…… ชั้นมัธยมศึกษาปีที่……… โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง………………….…………………. ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จาก………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจและ ต้องขอขอบคุณ……….ชื่อบุคคลที่ช่วยเหลือ ข้อมูล……….ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอดผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

ลงชื่อ……………..….

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

Advertisement

อ่านต่อ
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button