How To

5 วิธีกำจัดเห็บตามผนังบ้าน ปลอดภัย ไร้รังควาน!

ผนังบ้านของคุณอาจเป็นแหล่งซ่องสุมของเหล่าเห็บร้าย โดยเฉพาะตามรอยแตก ซอกมุม หรือบริเวณที่สัตว์เลี้ยงชอบเดินผ่าน การปล่อยปละละเลยอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณและสัตว์เลี้ยง เพราะเห็บไม่เพียงสร้างความรำคาญเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะนำโรคต่างๆ มาสู่คนและสัตว์ได้อีกด้วย บทความชุดนี้รวบรวมวิธีเด็ดกำจัดเห็บตามผนังบ้าน พร้อมเทคนิคป้องกันไม่ให้เจ้าตัวร้ายเหล่านี้กลับมารังควานคุณอีก

Advertisement

วิธีกำจัดเห็บ

เรามีวิธีกำจัดเห็บที่มักจะขึ้นตามผนังบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง เห็บชอบอยู่พื้นที่ที่มีหญ้าสูง ดินชื้น และมีร่มเงา เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราออกไปเล่นที่สนามเห็บมักจะเกาะติดมาด้วย

วิธีกำจัดเห็บตามผนังบ้าน

1. ใช้แหนบปลายแหลม

ใช้แหนบปลายแหลมเพื่อจับเห็บให้ชิดกับผิวมากที่สุด ดึงขึ้นด้วยแรงกดที่สม่ำเสมอและสม่ำเสมอ อย่าบิดหรือกระตุกเห็บเพราะถ้ากดแรงไป จะทำให้เห็บแตก ข้อควรระวังอย่าใช้นิ้วมือขยี้เห็บ กำจัดเห็บโดยใส่ขวดแอลกอฮอล์, ใส่ในถุง/ภาชนะที่ปิดสนิท

2. ใช้น้ำมันยูคาลิปตัสหรือสะเดา

ทั้งยูคาลิปตัสและน้ำมันสะเดาจะฆ่าเห็บ สะเดาได้รับการโฆษณาอย่างกว้างขวางว่าเป็นทางเลือกที่เป็นธรรมชาติสำหรับ DEET และได้รับการทดสอบการขับไล่กับสัตว์ขาปล้อง การศึกษาภาคสนามหลายชิ้นจากอินเดียแสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่สูงมากของสะเดา

Advertisement

3. ใช้สเปรย์ไล่กำจัดเห็บธรรมชาติ

ใช้เหมือนน้ำหอมธรรมชาติ ฉีดตอนไหนก็ได้ ไม่ต้องล้างออก ฉีดที่ตัวสัตว์เลี้ยง พื้นบ้าน. ที่นอนสัตว์เลี้ยง โซฟา. ที่นอนคน ผลิตจากพืชธรรมชาติ 100% กลิ่นไม่ฉุน

4. ใช้สเปรย์น้ำมันซีดาร์

น้ำมันซีดาร์เป็นสารไล่เห็บตามธรรมชาติ ปลอดสารพิษ และมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง

5. เลี้ยงสัตว์ในระบบปิด

สิ่งที่ป้ิองกันได้ดีที่สุดคือการไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเราออกไปเจอกับเห็บ พาเดินเล่นในเขตรั้วบ้าน ไม่ให้เข้าไปที่พื้นที่ที่มีหญ้าสูง ดินชื้น ที่เป็นแหล่งที่เห็บชอบอยู่

เห็บ (Ticks)

วงจรชีวิตเห็บ
Image by brgfx

เห็บ (Ticks) เป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์แต่สายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดในสุนัขเลี้ยงในประเทศไทยคือ Rhipicephalus sanguineus มีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นกับช่วงชีวิตโดยเห็บตัวเต็มวัยจะมีขา 8 ขา และเห็บจะมีส่วนหัวไม่ชัดเจนแต่จะเห็นส่วนที่เป็นปากยื่นออกมาทางตอนหน้าตัว เห็บจะใช้ส่วนปากของมันแทงผิวหนังของสุนัขและฝังปากของมันเข้าในชั้นใต้ผิวหนังเพื่อเกาะบนตัวสุนัข แล้วดูดกินเลือดเป็นอาหาร

วงจรชีวิตเห็บ

  • เริ่มต้นจากเห็บตัวเต็มวัยมีรูปร่างแบน (จากบนลงล่าง) มีขา 8 ขา สีน้ำตาลแดง มีขนาดยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เห็บเพศผู้จะไม่เปลี่ยนขนาดมากนักเนื่องจากมันดูดกินเลือดเป็นระยะเวลาสั้นๆและจะเดินหาเพศเมียเพื่อผสมพันธุ์ ในขณะที่ตัวเต็มวัยเพศเมียจะเกาะดูดกินเลือดจำนวนมากจนตัวเป่งขยายขนาดเป็น 12 มิลลิเมตรเมื่อมันดูดกินเลือดจนเต็มที่และได้รับการผสมพันธุ์มันจะถอนส่วนปากออกจากผิวหนัง หล่นจากตัวสุนัขแล้วไปหาที่วาง ไข่
  • เห็บเพศเมียจะหาที่วางไข่โดยเฉพาะบนพื้นดินบริเวณที่เป็นซอก มุมหรือขอบรอยต่อของบ้าน เห็บตัวเมียสามารถไต่ขึ้นที่สูงในแนวตั้งฉากกับพื้นได้ ดังนั้น บางครั้งเราจะพบว่ามันจะไต่กำแพงไปวางไข่ตามรอยแตกบนกำแพงหรือฝาฝนังบ้านได้ด้วย โดยเห็บตัวเมีย 1 ตัวจะวางไข่ประมาณ 4,000 ฟอง
  • ไข่จะใช้เวลาฟักนานประมาณ 17 – 30 วัน และฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (larva หรือ Seed ticks) ที่มี 6 ขา
  • ตัวอ่อนของเห็บ (larva หรือ Seed ticks) จะเคลื่อนที่ได้ว่องไวมาก ตัวอ่อนนี้จะขึ้นไปดูดกินเลือดบนตัวสุนัขประมาณ 2 -3 วัน เมื่ออิ่มแล้วจะหล่นจากตัวสุนัข ไปหาที่ลอกคราบ กลายเป็น ตัวกลางวัย (Nymph) ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นและมี 8 ขา
  • ตัวกลางวัยนี้จะขึ้นดูดกินเลือดบนตัวสุนัขอีก และจะหล่นลงสู่พื้น เมื่อกินอิ่มแล้วเช่นกัน จากนั้นจะทำการลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งจะต้องขึ้นบนตัวสุนัขอีกเพื่อดูดเลือดและผสมพันธุ์ต่อไป วงจรชีวิตของเห็บชนิดนี้จะ สมบูรณ์ได้ในเวลา ประมาณ 45-50 วัน

โรคที่เกิดจากเห็บ

  • การดูดกินเลือดจำนวนมากเนื่องจากติดเห็บจำนวนมากจะส่งผลให้สุนัขเเละสัตว์เลี้ยงเกิดภาวะโลหิตจาง
  • รอยกัดของเห็บจะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่สภาวะผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อเป็นหนอง
  • ก่อให้เกิดความรำคาญและอาการคัน เนื่องจากการกัด น้ำลายเห็บ การอักเสบของผิวหนัง ทำให้สุนัขไม่สบายตัว เกาและเกิดแผลตามมาได้
  • เห็บยังเป็นพาหะของเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด
  • โรคไข้เห็บ (Babesiosis)
  • Ehrlichiosis
  • Hepatozoonosis

การกำจัดเห็บตามผนังบ้านทำได้ง่ายๆ เพียงแค่หมั่นทำความสะอาด เลือกใช้วิธีที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ การป้องกันก็เป็นอีกวิธีสำคัญ หมั่นดูแลสัตว์เลี้ยง พ่นยากันเห็บ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้บ้านของคุณก็จะปลอดภัย ไร้กังวลเรื่องเห็บ สร้างสุขภาพที่ดีให้กับทุกคน

ที่มา: ku-vim.vet.ku.ac.th

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button