เรื่องน่าสนใจ

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH370 หายไปไหน

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH370 เป็นเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศที่สูญหายเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 ระหว่างบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไปท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน

เหตุการณ์ MH370 หาย

เที่ยวบิน MH370 ของวันที่ 8 มีนาคม 2014 บินด้วยเครื่องแบบโบอิ้ง 777 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ทั้งหมด 282 คน เที่ยวบินวันนั้นมีผู้โดยสารทั้งหมด 239 คน กัปตันเที่ยวบินนี้คือ ซาฮารี อาห์มัด ชาห์ อายุ 53 ปี มีชั่วโมงบินมาแล้ว 18,400 ชั่วโมง ในจำนวนนี้ 8,600 ชั่วโมงบินกับเครื่องโบอิ้ง 777 ทำงานกับสายการบิน MH มากว่า 30 ปี ส่วนนักบินผู้ช่วยชื่อ ฟาริก ฮามิด (Fariq Hamid) อายุ 27 ปี เพิ่งทำงานกับ MH ได้เพียง 6 ปีกว่า มีชั่วโมงบินกับเครื่อง 777 มาเพียง 39 ชั่วโมง

เครื่องบินแบบโบอิ้ง 777 มีอุปกรณ์ระบบการสื่อสารระหว่างเครื่องบินกับสถานีภาคพื้นได้ 3 ระบบ คือ วิทยุสื่อสารความถี่สูง เครื่องรับส่งเรดาร์แบบอัตโนมัติ (transponder) และการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม (SATCOM) วิทยุสื่อสารจะเป็นวิธีการสื่อสารด้วยคำพูดระหว่างนักบินกับสถานีภาคพื้นตลอดเส้นทางบิน ส่วนเครื่องรับส่งเรดาร์จะส่ง สัญญาณ เพื่อให้สถานีภาคพื้นทราบความสูงที่กำลังบินอยู่ของเครื่องบิน ส่วนระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องบินกับสถานีภาคพื้น ผ่านระบบที่ซับซ้อนมากเรียกว่า ACARS (Aircraft Communication and Reporting System) เช่น การส่งข้อมูลตำแหน่งเครื่องบิน ความเร็ว ความสูง การทำงานของเครื่องยนต์ และปริมาณน้ำมันที่เหลือ เป็นต้น

เที่ยวบิน MH370 ติดต่อด้วยเสียงครั้งสุดท้ายกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:19 MYT (Malaysia Time) ของวันที่ 8 มีนาคม (17:19 UTC ของวันที่ 7 มีนาคม) ขณะบินเหนือทะเลจีนใต้ไม่ถึงชั่วโมงหลังนำเครื่องขึ้น อากาศยานหายจากจอเรดาร์ของผู้ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:22 MYT (Malaysia Time) เรดาร์ทหารของมาเลเซียยังติดตามอากาศยานขณะที่เครื่องเบี่ยงจากเส้นทางการบินตามแผนและข้ามคาบสมุทรมลายู เครื่องพ้นรัศมีของเรดาร์ทหารมาเลเซียเมื่อเวลา 02:22 ขณะบินเหนือทะเลอันดามัน ห่างจากปีนังทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) อากาศยานดังกล่าว ซึ่งเป็นโบอิง 777-200 อีอาร์ บรรทุกสมาชิกลูกเรือชาวมาเลเซีย 12 คน และผู้โดยสาร 227 คนจาก 15 ชาติ

ตำแหน่งของ MH370
ตำแหน่งของ MH370

การค้นหา MH370

เริ่มความพยายามค้นหานานาชาติในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งมองเห็นสัญญาณของเที่ยวบินครั้งสุดท้ายบนเรดาร์สอดส่องดูแลทุติยภูมิ และไม่นานก็ขยายไปช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน การวิเคราะห์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างอากาศยานและเครือข่ายคมนาคมดาวเทียมอินมาร์แซทได้ข้อสรุปว่าเที่ยวบินดำเนินไปจนอย่างน้อย 08:19 และบินลงใต้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียใต้ แม้ยังไม่สามารถกำหนดตำแหน่งแม่นยำได้ ออสเตรเลียรับผิดชอบความพยายามค้นหาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เมื่อการค้นหาย้ายไปมหาสมุทรอินเดียใต้ วันที่ 24 มีนาคม รัฐบาลมาเลเซียสังเกตว่าตำแหน่งสุดท้ายที่กำหนดจากการสื่อสารดาวเทียมอยู่ไกลกว่าที่ลงจอดใดๆ ที่เป็นไปได้ และสรุปว่า “เที่ยวบิน MH370 สิ้นสุดในมหาสมุทรอินเดียใต้” การค้นหาระยะปัจจุบัน ซึ่งเป็นการค้นหาที่ใหญ่และแพงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน คือ การสำรวจพื้นสมุทรอย่างครอบคลุมประมาณ 1,800 กิโลเมตร (970 ไมล์ทะเล) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเพิร์ธ เวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2557 ไม่พบอากาศยานจนวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เมื่อมีชิ้นส่วนกองเศษทะเลถูกพัดขึ้นฝั่งเกาะเรอูนียง ซึ่งต่อมามีการยืนยันว่าเป็นแฟลปเพอรอน (flaperon) จากเที่ยวบินที่ 370 ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งลำตัวเครื่องได้ ทำให้เกิดทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับการสาบสูญ

การสอบสวน

ทางการสหรัฐกำลังสอบสวนความเป็นไปได้ที่ว่าการก่อการร้ายเป็นเหตุให้เครื่องสูญหาย โดยมุ่งไปยังผู้โดยสารสี่คนที่ใช้รูปพรรณปลอม ซึ่งสองในสี่คนนั้น เป็นชายชาวอิหร่าน ซึ่งต้องการจะต่อเครื่องจากปักกิ่งต่อไปยังยุโรป

12 มีนาคม เรดาร์ปฐมภูมิ ของระบบป้องกันภัยทางอากาศของมาเลเซียจับได้ว่า เที่ยวบิน MH370 อาจมีการเปลี่ยนเส้นทางบินกลับมายังฝั่งตะวันตกของประเทศ โดยตำแหน่งสุดท้ายที่กองทัพอากาศมาเลเซียตรวจจับเครื่องบินไม่ทราบสัญชาติได้คือราว 200 ไมล์ทะเลทีความสูง 29,000 ฟุต ห่างจากรัฐปีนังไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกับพื้นที่ของมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และอินเดีย โดยสัญญาณได้หายไปในเวลา 02.15 น. (UTC+8)

13 มีนาคม เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ของสหรัฐอเมริกา อ้างว่าฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ตรวจสอบพบว่า มีการส่งข้อมูลอัตโนมัติ ที่จะส่งมาทุกๆ 30 นาทีจากเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ของอากาศยาน มายังภาคพื้นดิน โดยมีการส่งข้อมูลมาทั้งหมดติดต่อกัน 5 ชั่วโมง หรือเท่ากับว่าเครื่องบินได้บินต่อไปภายหลังสูญหายราว 4 ชั่วโมง หรือ 4,000 กิโลเมตรจากจุดที่สูญหาย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายมาเลเซียไม่ได้ตอบรับกับข่าวนี้

15 มีนาคม นาจิบ ราซะก์ (Dato’ Sri Haji Mohammad Najib bin Tun Haji Abdul Razak) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ออกแถลงการณ์ถึงความคืบหน้าของการสอบสวนว่า “การสื่อสารครั้งสุดท้ายระหว่างเครื่องบินและดาวเทียมระบุถึงความเป็นไปได้ของจุดหมายปลายทางสองที่ หนึ่งคือการไปทางเหนือตั้งแต่ชายแดนของคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถานจนถึงภาคเหนือของไทย หรือไปทางใต้จากอินโดนิเซียถึงตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และขณะนี้ หน่วยสืบสวนกำลังทำงานเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่”

ตลอดเวลาของห้วงเวลาที่สับสนนี้ รัฐบาลมาเลเซียค่อนข้างสงวนท่าทีและรอบคอบ มักจะเลี่ยงการตอบคำถามและข่าวลือต่างๆ ที่ออกมาอย่างรวดเร็ว การเปิดเผยข้อมูลหลายข้อมูลของรัฐบาลนั้น มักจะช้ากว่าวันที่รัฐบาลมาเลเซียได้รับข้อมูลอยู่หลายวัน ซึ่งทำให้ญาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบินต่างไม่พอใจต่อท่าทีของรัฐบาลมาเลเซีย ตลอดจนกล่าวหาว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังซ่อนข้อมูลบางอย่างไว้

เที่ยวบินนี้มีลูกเรือทั้งหมดเป็นชาวมาเลเซีย โดยมีกัปตันคือ ซาฮารีย์ อาหมัด ชาฮ์ ชาวปีนัง อายุ 53 ปี เขาเข้าทำงานที่สายการบินนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ด้วยประสบการณ์บินทั้งหมด 18,365 ชั่วโมงบิน มีผู้ช่วยนักบินคนที่หนึ่ง คือ ฟาริค อับดุล ฮามิด อายุ 27 ปี 2,763 ชั่วโมงบิน

29 กรกฎาคม 2558 มีการพบชิ้นส่วนเครื่องบินลอยมาติดชายหาดบนเกาะเรอูนียง ทางมหาสมุทรอินเดียตะวันตก ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แถลงการณ์ยืนยันว่าชิ้นส่วนปีกเครื่องบินที่พบที่เกาะเรอูนียงเป็นของเที่ยวบินที่ 370 จริง อย่างไรก็ตาม หนึ่งชั่วโมงหลังนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลง รองอัยการกรุงปารีส ได้ออกแถลงการณ์ว่าคณะผู้เชี่ยวชาญไม่มีการยืนยันใดๆ ว่าชิ้นส่วนดังกล่าวมาจาก MH370

pilots MH370
นักบิน ซาคารี อัคหมัด ชาห์ และ ผู้ช่วยนักบินนายฟาริก อับดุล ฮามิด

ทฤษฎีสมคบคิด MH370

ท่ามกลางการเกิดขึ้นของ ทฤษฎีสมคบคิด หลายทฤษฎี การตั้งข้อสันนิษฐานถึงความน่าจะเป็นว่า เกิดอะไรกับเครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ที่หายไปอย่างลึกลับ

เครื่องบินโดนยิงตกโดยไม่ตั้งใจระหว่างซ้อมรบ

ถือเป็นสมมติฐานแรกที่มีการเอ่ยอ้างถึง โดยเว็บไซต์ มิร์เรอร์ เผยว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ‘Flight370:The Mystry’ (ปริศนาเที่ยวบิน MH370) ที่สร้างความตกตะลึงพรึงเพริด เพราะเนื้อหาอ้างว่า เครื่องบินโดยสารมาเลเซีย แอร์ไลน์สลำนี้อาจถูกยิงตกโดยอุบัติเหตุ หรือไม่ได้ตั้งใจระหว่างมีการการซ้อมรบระหว่างกองทัพสหรัฐฯกับไทยในบริเวณนั้นพอดี และมีการปกปิดข้อมูลหลังเกิดโศกนาฏกรรม

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ บอกว่า ในวันที่ MH370 หายไปนั้น มีการซ้อมรบทั้งบนดิน ในน้ำ และน่านฟ้า รวมทั้งยังมีการใช้กระสุนจริงในการซ้อมรบด้วย ‘มีการยิง MH70 ตกโดยอุบัติเหตุ ไม่มีใครต้องการให้เป็นเหมือนกับโศกนาฏกรรมที่ล็อกเคอร์บี ดังนั้น ทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจึงต้องเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ

อดีตนายกฯมหาเธร์ บอก CIA รู้ดี เตรื่องบินหายไปไหน!!

อดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย เคยกล่าวหา CIA (ซีไอเอ :สำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ) รู้ดีว่า MH370 หายไปไหน? โดยอดีตนายกฯมหาเธร์ ได้เขียนลงในบล็อกแห่งหนึ่ง เมื่อปี 2558 ว่ามีใครบางคนซ่อนบางสิ่งบางอย่างไว้ เพราะหากระบบ GPS ของเครื่องบินเสียหรือล้มเหลวแล้วล่ะก็ เมื่อนั้น บริษัทโบอิ้ง หรือรัฐบาลสหรัฐฯต้องรู้ว่าเป็นเพราะสาเหตุใด

อดีตนายกฯแดนเสือเหลืองคนนี้ ยังชี้ว่า เครื่องบินโดยสารถูกไฮแจ๊ค โดนจี้กลางอากาศ และระบบคอนโทรลของเครื่องบินโดนบังคับจากที่ไหนสักแห่งในระยะไกล เพราะเป็นเรื่องแน่ชัดอยู่แล้ว บริษัทโบอิ้ง และหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ มีความสามารถในการเข้าแทรกแซงระบบควบคุมการบินของเครื่องบินโดยสารพาณิชย์ ซึ่ง MH370 เป็นเครื่องบินโบอิ้ง 777

บังคับลงจอดที่ฐานทัพสหรัฐฯ บนเกาะดิเอโก การ์เซีย

หลังจาก MH370 สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย ได้มีข่าวลือสะพัดหนักตามมาว่า เครื่องบินโบอิ้ง 777 ลำนี้ของมาเลเซีย แอร์ไลน์ส อาจถูกบังคับให้ไปลงจอด ที่ฐานทัพสหรัฐฯบนเกาะดิเอโกการ์เซีย เกาะปะการังขนาดเล็กในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากมาเลเซียไปประมาณ 3,500 กม.

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯได้ออกมาปฏิเสธข่าวลือนี้อย่างสิ้นเชิง โดยโฆษกประจำสถานทูตสหรัฐฯ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้ออกมาปฏิเสธว่าข่าวลือนี้ไม่เป็นความจริง MH370 ไม่ได้ลงจอดบนเกาะดิเอโกการ์เซีย

เกิดไฟไหม้บนเครื่องบิน

หนึ่งในทฤษฎีสมคบคิดที่มีการพูดถึงอย่างมากที่สุด คือ เกิดไฟไหม้บนเครื่องบินที่ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบิน เสียชีวิตทั้งหมด แต่เหตุไฟไหม้เกิดขึ้นก่อนที่ภายนอกของเครื่องบินจะได้รับความเสียหาย และนี่คือสิ่งที่อธิบายว่าทำไมเครื่องบินจึงบินด้วยระบบออโตไพล็อต ได้ในระยะทางไกล!!

แหล่งข่าวทางการบิน เผยว่า ถ้าเครื่องบินเกิดไฟไหม้จริง เครื่องบินจะลงกระแทกผิวน้ำในมหาสมุทรด้วยความเร็วประมาณ 600 ไมล์ต่อชั่วโมง หลังจากร่อนลงจากเพดานบินในระดับ 35,000 ฟุต โดยแหล่งข่าวชี้ว่าหลังเชื้อเพลิงหมด เครื่องบินจะไม่ตกวูบ เหมือนก้อนหินตก แต่จะร่อนลงจากความสูง 35,000 ฟุต โดยใช้เวลาประมาณ 10-12 นาที

‘เครื่องบินจะกระแทกผิวน้ำอย่างรุนแรง เหมือนกับตอนลงจอดและกระแทกชนกับแท่งคอนกรีต ไม่มีใครสามารถรอดชีวิต’ แหล่งข่าวอธิบายถึงลักษณะเครื่องบินกระแทกผืนน้ำ พร้อมชี้ว่า หลังจากนั้น เครื่องบินจะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง จนปีกเครื่องบินหลุด และบางทีลำตัวเครื่องบินอาจทิ่มลง

นักบินฆ่าตัวตาย?

หนึ่งในทฤษฎีสมคบคิดที่เกิดขึ้นทันทีหลังเครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส หายไป คือ นักบินอาจฆ่าตัวตาย เพียงแต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่า กัปตัน ซาฮารี อาห์หมัด ชาห์ (Zaharie Ahmad Shah) และนายฟาริค อับดุล ฮามิด (Fariq Abdul Hamid) นักบินผู้ช่วย ฆ่าตัวตายแต่อย่างใด!!

ขณะเดียวกัน ตำรวจมาเลเซียพยายามสืบสวนถึงความเป็นไปได้ว่า มีผู้โดยสารหรือลูกเรือคนใดบนเครื่องบินที่มีปัญหาป่วยทางจิตหรือไม่?  รวมถึงการตั้งข้อสันนิษฐานว่า กัปตัน หรือลูกเรืออาจลงมือจี้เครื่องบินเอง

เครื่องบินมีรอยแตก

6 เดือนก่อนเครื่องบินโบอิ้ง 777 ของสานยการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส จะตกนั้น สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) ได้ออกคำเตือน  ว่า ให้ทุกสายการบินมีการตรวจสอบปัญหารอยแตกบนเครื่องบินโบอิ้ง 777 ที่อาจทำให้เครื่องบินระเบิดกลางอากาศ หรือความดันในห้องโดยสารตกฮวบอย่างรวดเร็ว

มีสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายบนเครื่องบิน

ถึงแม้ยังไม่มีกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใดออกมาอ้างความรับผิดชอบ กรณี MH370 หายไป แต่ก็ยังคงมีข้อสันนิษฐานถึงความเป็นไปได้ที่เครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ลำนี้อาจโดนผู้โดยสารสองคนก่อเหตุจี้เครื่องบิน เนื่องจากได้ขโมยหนังสือเดินทางของชาวออสเตรเลียและอิตาลีมาขึ้นเที่ยวบิน MH370

ก่อเหตุร้าย เพื่อหวังเงินประกันชีวิตก้อนโต

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย ตันซรี คาลิด อาบู บาการ์ เคยชี้ว่า สาเหตุที่โบอิ้ง 777 ลำนี้ตก อาจเกิดจากการวางแผนฆ่าตัวตาย โดยมีใครคนใดคนหนึ่งบนเครื่องบินลงมือก่อเหตุ เพื่อหวังเงินประกันชีวิตก้อนโต และต้องการให้ครอบครัวนำเงินประกันชีวิตไปใช้หนี้

เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนได้ขยายผลการสอบสวนในเรื่องนี้ด้วย โดยจะตรวจสอบรายะเอียดทุกอย่างของผู้โดยสารทุกคนบนเที่ยวบิน MH370 เพื่อหาเงื่อนปมของความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้น

เรียกว่า ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ของการตั้งข้อสมมติฐานถึงสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบิน MH370 หายไปอย่างลึกลับ

malaysian airliner search

ยุติการค้นหาเที่ยวบิน MH370

ภารกิจค้นหาเที่ยวบิน MH370 ถูกยุติเมื่อต้นปี 2561 หลังความพยายามค้นหาในพื้นที่กว้างกว่า 120,000 ตารางกิโลเมตรในน่านน้ำมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาลงเอยด้วยความล้มเหลว

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button