วันสำคัญ

วันสิทธิมนุษยชนสากล (Human Rights Day) 10 ธันวาคม

วันสิทธิมนุษยชนสากลตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี และ เป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติอีกด้วย เป็นวันที่ย้ำเตือนให้ทุกคนตระหนักและเล็งเห็นถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

วันสิทธิมนุษยชนสากล

วันสิทธิมนุษยชนสากล (ภาษาอังกฤษ: Human Rights Day) ถูกกำหนดให้ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เพื่อย้ำเตือนให้ทุกคนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน เริ่มใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ขณะนั้น ผลพวงจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ส่งผลกระทบในด้านลบทั้งทางกายและทางใจของมวลมนุษยชาติ หลากหลายความรุนแรงและจำนวนการสูญเสียได้เปลี่ยนเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ผลักดันให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของคุณค่าเป็นมนุษย์ นำไปสู่การจัดตั้ง องค์การสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางคุ้มครองดูแลมวลมนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้

สหประชาชาติ สมัชชาใหญ่มีมติเห็นชอบและประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ซึ่งเป็นการแถลงสิทธิมนุษยชนทั่วโลกครั้งแรกและเป็นความสำเร็จใหญ่แรก ๆ ของสหประชาชาติที่เพิ่งก่อตั้ง การก่อตั้งวันสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นที่การประชุมใหญ่ที่ 317 ของสมัชชาใหญ่เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2493 เมื่อสมัชชาใหญ่ประกาศข้อมติที่ 423(5) เชิญชวนให้รัฐสมาชิกทั้งหมดและองค์การอื่นที่สนใจเฉลิมฉลองวันดังกล่าวตามที่เห็นสมควร

ปกติวันนี้มีการประชุมและการนัดพบทางการเมืองระดับสูง และเหตุการณ์และนิทรรศการวัฒนธรรมว่าด้วยประเด็นสิทธิมนุษยชน นอกเหนือจากนี้ เดิมวันที่ 10 ธันวาคม มีการมอบรางวัลสหประชาชาติในสาขาสิทธิมนุษยชนทุกห้าปีและรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ องค์การภาครัฐและนอกภาครัฐจำนวนมากซึ่งมีกิจกรรมในสาขาสิทธิมนุษยชนยังจัดเหตุการณ์พิเศษเพื่อเฉลิมฉลองวันนี้ เช่นเดียวกับองค์การพลเมืองและสังคมจำนวนมาก

ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอารยะธรรมโลก (World Civilzation) ของมนุษย์ที่พยายามวางระบบความคิดเพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความระลึกรู้ คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิตั้งแต่กำเนิด โดยให้ความสำคัญกับคำว่าชีวิต นอกจากนี้แล้วสิทธิมนุษยชนยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความเป็นมนุษย์สิทธิและ เสรีภาพ และสภาวะโลกปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่เรื่องประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องของสิทธิมนุษยชนยังได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางการฑูต การงดการทำการค้าด้วย หรือกรณีการส่งกองกำลังทหารของสหประชาชาติเพื่อเข้าไปยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวิน่า และในโคโซโว ของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย เป็นต้น ด้วยสาเหตุและความสำคัญดังกล่าวมาข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะมีความสำคัญทั้งในด้านสังคมโลกและการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย

กฎหมายสิทธิมนุษยชน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน 2560 ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” มาตรา 25 ถึง 49 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก การก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยจำนวนมาตรา ในเรื่องสิทธิลดลลง 14 มาตรา เมื่อเทียบกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดสิทธิต่าง ๆ โดยให้อยู่ในหมวด 3 และไม่มีส่วนของสิทธิ ซึ่งแตกต่าง กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ที่กำหนดให้มี ส่วนของสิทธิแบ่งเป็น 9 ส่วน บททั่วไป ความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน สิทธิเสรีภาพในการศึกษา สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

สิทธิมนุษยชนประกอบด้วย

  1. สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน (Primary Right) มนุษย์ที่เกิดมาในโลก ต่างมีความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  2. สิทธิส่วนบุคคล (Personal Right) เป็นสิทธิส่วนตัวของบุคคลที่ผู้อื่นจะล่วงละเมิดมิได้ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเเต่ละบุคคล
  3. สิทธิของพลเมือง (Civil Right) เป็นสิทธิของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองเเห่งรัฐ เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องตามกฏหมาของรัฐ ซึ่งสิทธิพลเมืองได้เเก่
  • สิทธิทางสังคม (Social Rigth) เป็นสิทธิของประชาชนทางสังคมที่จะได้รับบริการจากสังคม ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม เช่น สิทธิการเข้าถึงการบริการสาธารนะ เป็นต้น
  • สิทธิทางสวัสดิการสังคม (Social Welfare Right) เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่จะได้รับสวัสดิการทางสังคม เช่น สิทธิการได้รับการศึกษา ฯลฯ
  • สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Right) ได้เเก่ สิทธิเข้าร่วมในพิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ของประชาคมในด้านศิลปะต่าง ๆ

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button