วันสำคัญ

วันเทศบาล ตรงกับวันที่ 24 เมษายน ของทุกปี

วันเทศบาล ตรงกับวันที่ 24 เมษายน ของทุกปี เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลให้มากขึ้น

Advertisement

วันเทศบาล

วันเทศบาล

เทศบาล หมายถึง รูปแบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในเขตชุมชนเมือง เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดตั้งขึ้นในเขตชุมชนที่มีความเจริญและ ใช้ในการบริหารเมืองเป็นหลัก

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินของไทยให้ทันสมัย เช่นเดียวกันกับนานาอารยประเทศ โดยจัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในรูปแบบสุขาภิบาล ที่ สุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2441

เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี 2475 แล้ว ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย 2476 กำหนดให้เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น จึงได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล 2476 เมื่อวันที่ 24 เมษายน ต่อมาได้มีประกาศกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ครอบคลุมทั่วประเทศ แล้วค่อยขยายไปยังพื้นที่อำเภออื่น ๆ ที่มีประชากรหนาแน่นตามหลักเกณฑ์ ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีเทศบาลทั้งสิ้น 149 แห่ง หลังการประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมายอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ การที่รัฐบาีลมีนโยบายที่จะพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารงานที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญให้เปลี่ยนแปลงฐานะไปเป็นเทศบาลตำบล ทั้ง 980 แห่งทั่วประเทศ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ทำให้เทศบาลทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิม 149 แห่ง เป็น 1,129 แห่ง และเป็น 1,157 แห่ง ณ วันที่ 1 มีนาคม 2549 จำแนกเป็น เทศบาลนคร 22 แห่ง เทศบาลเมือง 117 แห่ง เทศบาลตำบล 1,018 แห่ง คาดว่าจำนวนของเทศบาลจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี

Advertisement

พัฒนาการของเทศบาลเป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย วันนี้นายกเทศมนตรีเกือบทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน การบริหารงานแบ่งหน้าที่ระหว่างสภาเทศบาลกับฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน พนักงานเทศบาลในปัจจุบันมีความมั่นคงและก้าวหน้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้าราชการพลเรือนอื่น ๆ คำว่า พนักงาน โดยเนื้อแท้ไม่ได้เป็นปัจจัยให้สถานะของความเป็นข้าราชการด้อยลง แต่กลับเป็นแรงผลักดันให้คนเทศบาลแสดงศักยภาพ และทุ่มเทพลังในการปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง เกิดประโยชน์แก่ประชาชนตามนโยบายของผู้บริหารทุกระดับ และเป็นไปตามแนวทางแห่งธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการที่ดี เทศบาลต้องจัดบริการสาธารณะอย่างเต็มความสามารถทุกด้าน เรียกว่าเขตเทศบาลต้องน้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ นำสู่คุณภาพชีวิติที่ดี

ด้วยบทบาทหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เชิงบริการของเทศบาลก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2532 กำหนดให้ วันที่ 24 เมษายน ของทุกปี เป็นวันเทศบาล นับตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นไป วันเทศบาล จึงมีความหมายต่อคนเทศบาลที่จะต้องพัฒนาตน พัฒนางาน และก้าวต่อไปอย่างมุ่งมั่นเคียงข้างการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ว่าร่วมคิด ร่วมทำ หรือร่วมตรวจสอบ เพื่อให้บรรลุปรัชญาแห่งรากฐานประชาธิปไตยของเทศบาลคือ เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

เทศบาล

เทศบาล

เทศบาล เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งของไทย ตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ ราชการบริหารส่วนกลาง กระจายอำนาจไปให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอิสระที่จะดำเนินการปกครองตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด เป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา เพราะเป็นการจำลองรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้ในท้องถิ่น

ปัจจุบันเทศบาลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล 2496 ซึ่งได้กำหนดให้การจัดตั้ง การเปลี่ยนชื่อ การเปลี่ยนแปลงเขต หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะของเทศบาล ให้กระทำเป็นพระราชกฤษฎีกา

เทศบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร อย่างไรก็ตามเทศบาลทั้ง 3 ระดับ มีโครงสร้างเหมือนกัน คือ ประกอบด้วย สภาเทศบาล (ซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น) และคณะเทศมนตรี (นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีอีกจำนวนหนึ่ง) จะแตกต่างกันก็เฉพาะที่ตั้งหรือจำนวนประชากรเท่านั้น

เทศบาลตำบล จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นที่มีความเจริญพอสมควร และสามารถมีรายได้พอสมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำ ปรกติจะตั้งขึ้นในท้องถิ่นของอำเภอต่าง ๆ ที่มิใช่อำเภอเมือง หรือท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด เช่น เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ตั้งอยู่ที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เทศบาลตำบลมีสมาชิกเทศบาลได้ 12 คน มีคณะเทศมนตรี 3 คน (นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีอีก 2 คน) ปัจจุบันมีอยู่ 48 แห่ง

เทศบาลเมือง จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่ตั้งแต่ 10000 คนขึ้นไป โดยประชากรเหล่านั้นอยู่หนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3000 คน/ตารางกิโลเมตร ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำ เทศบาลเมืองมีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 18 คน มีคณะเทศมนตรีได้ 3 คน เช่นเดียวกับเทศบาลตำบล

ส่วนใหญ่เทศบาลเมืองจะตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเพราะเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ดังนั้น ในแต่ละจังหวัดอย่างน้อยจะมีเทศบาลเมือง 1 แห่ง อย่างไรก็ตาม เทศบาลเมืองอาจจัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นอำเภออื่นนอกจากอำเภอเมืองก็ได้ เช่น เทศบาลเมืองบ้านโป่ง ตั้งขึ้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีเทศบาลเมืองทั้งสิ้น 87 แห่ง

เทศบาลนคร ตั้งขึ้นในท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่ตั้งแต่ 50000 คนขึ้นไป โดยประชาชนเหล่านั้นอยู่กันอย่างหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3000 คน/ตารางกิโลเมตร ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำ เทศบาลนครมีสมาชิกสภาเทศบาล 24 คน และมีคณะเทศมนตรี 5 คน (นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีอื่นอีก 4 คน)

หน้าที่ของเทศบาล

หน้าที่ของเทศบาล

การได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของเมือง เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์ และความสุขอย่างถ้วนหน้า เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ของหน่วยงานเทศบาล เทศบาลจัดบริการสาธารณะอย่างเต็มความสามารถทุกด้าน กับคำนิยามที่ตั้งกันไว้ว่า น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ นำสู่คุณภาพชีวิติที่ดี นี่ล่ะคือหน้าที่เทศบาล

ดูแลทุกข์สุขของประชาชน การพัฒนาการบริหารการจัดการของตนเองภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย และการดูแลทุกข์สุขของประชาชนไปพร้อม ๆ กัน รวมถึงบริบทของกฎหมายที่แก้ไขปรับปรุงเป็นระยะ โดยยึดถือฉบับแม่บทคือ พระราชบัญญัติเทศบาล และมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน

เทศบาลตำบล

  1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
  3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
  7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
  8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  9. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

เทศบาลเมือง

  1. กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 50
  2. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
  3. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  4. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
  5. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
  6. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
  7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  8. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

เทศบาลนคร

  1. กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 53
  2. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
  3. กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
  4. การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
  5. จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
  6. จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  7. การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
  8. การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว
  9. กิจการอื่น ๆ ตามมาตรา 54

โครงสร้างเทศบาล

เทศบาลไทยมีการแบ่งออก 3 ประเภท ตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้น ๆ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496 มาตรา 9, 10, 11 ได้มีการกำหนดดังนี้ มาตรา 9 เทศบาลตำบล คือ ท้องถิ่งซึ่งมีการประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาไทยนั้นให้ระบุชือและ เขตเทศบาลไว้ด้วย

มาตรา 10 เทศบาลเมือง คือ ท้องถิ่งอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มี ราษฏรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตาม พระราชบัญญัตินี้และ ซึ่งมีพระราชกฤษฏีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง พระราชกฤษฏีกานั้นให้ระบุชื่อและเขต ของเทศบาลไว้ด้วย

มาตรา 11 เทศบาลนคร คือ ท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฏรตั้งแต่ 50,000 ขึ้นไป ทั้งมีรายได้ฏีกายกฐานะเป็นเทศบาลนคร พระราชกฤษฏีกานั้นให้ระบุชื่อและเขต ของเทศบาลไว้ด้วย

กิจกรรมในวันเทศบาล

  1. เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญและ ความเป็นมาของการก่อกำเนิดเทศบาล
  2. เพื่อให้พนักงานเทศบาล ทุกส่วนได้ตระหนักเห็น ถึงความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น อีกทั้งมองเห็นความสำคัญของการบริการ อำนวยความสะดวก สร้างความเป็นธรรมและเสมอภาพต่อประชาชน
  3. เพื่อให้บุคคลากรมีความรัก ความผูกพัน ความสามัคคีซึ่งจะก่อให้เกิดผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการมากขึ้น

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button