วันสำคัญ

วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ

วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จย่า พระมารดาแห่งการทันตแพทย์แผนไทย ทรงอุทิศพระองค์เพื่อช่วยเหลือปวงชนชาวไทยผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในด้านสาธารณสุข

Advertisement

สมเด็จย่า วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ

วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ

วันทันตสาธารณสุข เกิดขึ้นในปี 2512 เมื่อ สมเด็จย่า ทรงก่อตั้งหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ขึ้น เพื่อช่วยรักษาพยาบาลประชาชนในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ ทั่วประเทศ พระองค์ทรงเน้นในเรื่องการบริการทันตกรรมด้วย เนื่องจากทรงเห็นว่า คนในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยพระองค์เป็นนายิกากิตติมศักดิ์ พระองค์ทรงสนพระทัยในเรื่องบริการทันตกรรมเป็นพิเศษ ได้ทรงกำชับไว้ว่า

“ต้องมีทันตแพทย์ไปช่วยชาวบ้านทุกครั้ง เนื่องจากคนไข้ในท้องถิ่นทุรกันดาร เมื่อมีโรคฟันจะต้องทนทุกข์ทรมานและไม่สามารถช่วยตนเองได้ ดังนั้นต้องให้มีทันตแพทย์ไปช่วยโดยด่วน”

ทันตแพทย์และบุคลากรจึงเป็นส่วนหนึ่งของทีมอาสาสมัครของหน่วยแพทย์ พอ.สว. ตั้งแต่ปี 2512 เป็นต้นมา

Advertisement

ในปี 2529 มูลนิธิ พอ.สว. ได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข คณะทันตแพทยศาสตร์ ทุกมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร และทันตแพทยสมาคมฯ เริ่มจัด กิจกรรมรณรงค์ทางทันตสาธารณสุข เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันพระราชสมภพ 21 ตุลาคม โดยระดมทันตบุคลากรอาสาสมัครทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศ ออกให้บริการตรวจรักษาโรคในช่องปาก โดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร 48 จังหวัด และได้จัดกิจกรรมนี้ต่อเนื่องทุกปี จนถึงปี 2532 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้วันที่ 21 ตุลาคม เป็น วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ

จึงถือได้ว่าวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ มีที่มาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ต่อราษฎรผู้ทุกข์ทรมานด้วยโรคฟัน ซึ่งหลังจากพระองค์ท่านเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานกิตติมศักดิ์สืบต่อมาสืบสานพระปณิธานของสมเด็จย่า

ทำฟันฟรี

กิจกรรมวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข จะร่วมกับสถานบริการพยาบาลทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติขึ้น เพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทั้งการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก รณรงค์เรื่องทันตสุขภาพ และให้บริการ ทำฟันฟรี ซึ่งแต่ละปีก็จะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไป

ฟัน

ฟัน

ฟัน คือ อวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย

ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก

โครงสร้างพื้นฐานของฟัน

ประเภทของฟัน

  • ฟันตัดหน้าซี่กลาง (central incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่ มีหนึ่งราก
  • ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (lateral incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสองประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด
  • ฟันเขี้ยว (cuspid or canine) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน
  • ฟันกรามน้อย (premolar) : ขากรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร (สัตว์กินเนื้อเช่น เสือ สุนัข แมว จะมีเขี้ยวและกรามน้อยเจริญดีและแข็งแรงเป็นพิเศษ)
  • ฟันกราม (molar) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขากรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร

ส่วนประกอบของฟัน

  • เคลือบฟัน (enamel) : เป็นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันมีส่วนประกอบของแคลเซียมและฟอสเฟต
  • เนื้อฟัน (dentine) : เป็นส่วนที่แข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน มีความแข็งพอๆกับกระดูก ชั้นนี้มีการสร้างและสลายอยู่ตลอดเวลา เป็นชั้นที่มีเซลล์เป็นจำนวนมาก
  • โพรงประสาทฟัน (pulp) : เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่นำอาหารมาหล่อเลี้ยงฟัน และนำของเสียออกจากฟัน และมีเส้นประสาทรับความรู้สึกของฟัน
  • เคลือบรากฟัน (cementum) : เป็นส่วนของเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่ภายในรากฟัน ด้านหลังของเหงือก ซึ่งมีเส้นประสาทไหลเวียนมาก
  • ชั้นร่องเหงือก (gingival crevice) : ร่องระหว่างเหงือกตัวฟันกับขอบเหงือก มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร
  • เหงือก (gingiva) : เนื้อเยื่อที่หุ้มตัวฟันและกระดูกขากรรไกรไว้
  • กระดูกเบ้ารากฟัน (alveolar bone) : ส่วนกระดูกที่รองรับรากฟัน

ประโยชน์ของฟัน

  • ช่วยในการพูดให้ออกเสียงชัดเจนขึ้น
  • ช่วยรักษาโครงสร้างใบหน้า ให้มีความกว้างความยาว และความอิ่มของริมฝีปากให้สมดุลกัน
  • เป็นส่วนประกอบของบุคลิกภาพ เพราะฟันเป็นส่วนหนึ่งที่มองเห็นได้ง่ายโดยเฉพาะเวลาที่พูดคุยกัน
  • ประโยชน์ของการใช้ฟันเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

วิธีดูแลรักษาฟัน

ฟันเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อเรามาก เราจึงต้องดูแลรักษาฟันให้อยู่กับเรานานๆโดยปฏิบัติ

  • แปรงฟันอย่างถูกวิธี หลังตื่นนอนและก่อนเข้านอนทุกวันโดยการแปรงฟันที่ถูกวิธี คือ ถ้าเป็นฟันบนให้แปรงลง ถ้าเป็นฟันล่างให้แปรงขึ้น ถ้าเป็นฟันกรามให้ถูไปถูกมา
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยบำรุงเหลือกและฟัน
  • ไม่ใช้ฟันกัดและแทะของแข็ง เพราะอาจทำให้ฟันหักหรือบิ่น

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee