วันสำคัญ

10 พฤษภาคม วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ

วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปี เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน รู้เท่าทันถึงอันตราย และปฏิบัติตามมาตรการแนวทางความปลอดภัยที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ

จากโศกนาฏกรรมไฟไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาของบริษัท เคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ที่คร่าชีวิตคนงานไปทั้งหมด 188 คน และบาดเจ็บอีก 469 คน เนื่องจากโครงสร้างอาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน กลายเป็นที่มาของ วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ

เหตุเพลิงไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์

วันที่ 10 พฤษภาคม 2536 หรือย้อนไปเมื่อ 18 ปีที่แล้ว เกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาของบริษัท เคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ อ.สามพรานจ.นครปฐม ส่งผลให้คนงานนับพันต้องวิ่งหนีตายอลหม่าน

เหตุการณ์ครั้งนั้น คร่าชีวิตคนงาน 188 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก 469 คน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากเช่นนี้ เนื่องจากโครงสร้างอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารได้พังลงมาภายในเวลาอันรวดเร็วเพียง 15 นาที และที่สำคัญกว่านั้น คือการปิดประตูทางเข้าออกเพื่อไม่ให้พนักงานหนีออกมา

เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่มาของ “วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” และเป็นจุดเริ่มต้นให้ขบวนการแรงงานเคลื่อนไหวเรียกร้องการพัฒนาความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

แต่จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ยังมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแรงงานนับไม่ถ้วน ล่าสุดคือเหตุถังเก็บสารเคมี บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดระเบิด รวมทั้งเหตุการณ์วันถัดมาที่สารเคมีรั่วไหลจากโรงงานของบริษัท อดิตยาลาม เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ไทยแลนด์)

หากย้อนดูสถิติ ตั้งแต่ปี 2545-2553 พบว่ามีคนงานเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานรวมกว่า 1.7 ล้านคน เฉลี่ยปีละ 1.89 แสนคน เสียชีวิตปีละ 791 คน หรือ 1.2 คนต่อวัน ทุพพลภาพปีละ 13 คน สูญเสียอวัยวะบางส่วน 3,194 คน ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 85 เกิดจากผู้ปฏิบัติงานประมาทและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และร้อยละ 15 เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

จากวันนั้นถึงวันนี้ ถึงเวลาหรือยังที่ทุกหน่วยงาน ทุกฝ่าย จะต้องเร่งหามาตรการ อย่าปล่อยให้วัวหายล้อมคอก หรือก่อนที่จะเกิดเหตุที่น่าสลดใจอีกนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งการสร้างมาตรฐานในเรื่องความปลอดภัย การจัดเตรียมแผนดับเพลิง แผนอพยพ แผนเผชิญเหตุ และที่สำคัญการจัดซ้อมแผนร่วมกันทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือ เพราะการเตรียมพร้อมและซ้อมบ่อย ๆ จะช่วยลดความรุนแรง หรือลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่ไม่จำเป็นได้

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button