วันนี้ในอดีต

27 ตุลาคม วันแมวดำ (Black Cat Day)

วันแมวดำ (Black Cat Day) ตรงกับวันที่ 27 ตุลาคม ของทุกปี ไม่ปรากฏแน่ชัดถึงที่มาที่ไปของวันดังกล่าว คนรักแมวอย่ารังเกียจแมวดำเพียงเพราะสีที่ติดตัวมัน

วันแมวดำ

วันแมวดำ

วันยกย่องแมวดํา หรือ วันแมวดำ (Black Cat Day) ตรงกับวันที่ 27 ตุลาคม ของทุกปี

แมวดำ

แมวดำ

นิสัยแมวดำ

กรณีศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่ง โดยแมวทั้ง 1,274 ตัว มีแบ่งแยกออกเป็นแมวสามสี สองสี (ขาวดำและขาวเทา) แมวสีเดียว ( ขาว ดำ เทา ) และแมวลายสลิด

ซึ่งคำตอบที่ได้รับจากการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มแมวตัวอย่าง จากปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อถูกตักเตือนพฤติกรรมพบว่าแมวที่มีความก้าวร้าวอย่างชัดเจนคือ แมวสามสี แมวขาวดำ และแมวขาวเทา สำหรับแมวดำและแมวขาวจะหงุดหงิดและก้าวร้าวมากขึ้น เมื่อมีการควบคุมที่มากเกินไป

จากผลวิจัยสรุปว่าแมวที่ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างเห็นได้ชัด คือแมวดำ แมวขาว แมวเทา และแมวลายสลิด

ลักษณะแมวดํานําโชค

เชื่อได้ว่าคติเรื่องแมวดำเป็นแมวอัปมงคลในบ้านเรา เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นในยุคหลัง โดยสันนิษฐานกันว่าแมวดำเป็นของดีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาถึงรัตนโกสินทร์ แม้แต่ในตำราดูลักษณะแมวของวัดอนงคาราม พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ พ.ศ. 2500 หรือเมื่อ 61 ปีที่แล้วก็ยังระบุว่า ในจำนวน “แมวดี” 17 ชนิดนั้น เป็นแมวสีพื้นดำถึง 9 ชนิด ได้แก่

  • แมวนิลรัตน์ ตัวดำล้วน หางยาวอ้อมถึงหัว
  • แมวนิจจักร ตัวดำสนิท รอบคอขาว
  • แมวมุลิลา ดำทั้งตัว มีแต่หูสองข้างสีขาว
  • แมวปัดเศวต ตัวสีดำ มีแถบขาวยาวจากสันจมูก ยาวไปตลอดหลังถึงปลายหาง
  • แมวกระจอก ตัวดำ รอบปากขาว
  • แมวสิงหเสพย์ ตัวดำ รอบปากขาว รอบคอขาว
  • แมวการเวก ตัวดำ สันจมูกขาว
  • แมวจตุบท สีดำ เท้าทั้งสี่ข้างขาว
  • แมวโกญจา ตัวสีดำล้วน ปากหางเรียว เท้าสิงห์ ตาเหลืองอำพัน
ความเชื่อเรื่องแมวดําของญี่ปุ่น

ความเชื่อเรื่องแมวดําของญี่ปุ่น

ประวัติศาสตร์เล่าว่าแมวอยู่คู่ประเทศญี่ปุ่นมากว่า 500 ปีแล้ว จากเดิมที่อยู่คู่วัดวาอารามเพื่อคุ้มครองอาณาบริเวณจากเหล่าหนูและสัตว์สร้างความรำคาญ แมวจึงถือเป็นสัตว์ผู้พิทักษ์มาโดยตลอด ในสมัยนั้นแมวจะมีเจดีย์ส่วนตัว ไม่ขึ้นกับใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ และถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่าอย่างมาก จนในศตวรรษที่ 10 เริ่มมีเหล่าขุนนางหรือชนชั้นสูงนำมาเลี้ยงและเป็นเจ้าของและทำให้ประชากรแมวตามธรรมชาติลดลง
แมวญี่ปุ่น

เมื่อการเลี้ยงเป็นส่วนตัวทำให้ประชากรแมวทั่วญี่ปุ่นลดลงอย่างรวดเร็ว หนูและสัตว์ต่าง ๆ เริ่มออกมาสร้างความปั่นป่วนอีกครั้ง จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสั่งให้ผู้มีแมวในครอบครองต้องปล่อยให้แมวออกมาเป็นอิสระบ้าง เพื่อจำกัดหนูและสืบพันธ์ตามธรรมชาติ

ตามคติความเชื่อของประเทศญี่ปุ่นจะเรียก “มาเนะคิเนะโกะ = แมวที่ทำหน้าที่เชื้อเชิญเงินทอง,โชคลาภ” ซึ่งภาษาญี่ปุ่น มาเนะคิ = เชื้อเชิญ และเนะโกะ = แมว ความเชื่อเรื่องแมวนำโชคนี้มีมานานกว่า 400 ปีมาแล้ว

ตำนาน

ตามตำนานเล่าว่ามีหญิงชราคนหนึ่ง มีฐานะยากจนมาก แต่ก็พยายามจะเจียดอาหารเท่าที่มีแบ่งเลี้ยงแมวที่เธอรัก แต่วันหนึ่งเธอก็ไม่สามารถเลี้ยงแมวตัวนั้นต่อไปได้อีก เธอจึงนำมันไปปล่อย คืนนั้นเธอนอนร้องไห้ด้วยความเสียใจ แล้วเธอก็ฝันเห็นแมวมาบอกให้เธอปั้นรูปแมวด้วยดินเหนียว แล้วจะทำให้โชคดี

หญิงชราตื่นขึ้นมาก็ปั้นแมวด้วยดินเหนียวตามความฝัน วันนั้นมีแขกมาหา และขอซื้อแมวตัวนั้นไป ยิ่งหญิงชราปั้นแมวมากเท่าใด ก็มีคนมาขอซื้อมากขึ้นเท่านั้น ในที่สุดเธอก็มีเงินมากพอที่จะเลี้ยงแมวที่เธอรักตลอดไป

หลังจากนั้นมาคนญี่ปุ่นก็มีความเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์นำโชค จึงมีการทำเป็นแมวนางกวักที่เราได้เห็น ๆ กันทั่วไป แต่มีข้อสังเกตแมวที่กวักมือซ้ายจะเรียกคนเข้าร้าน ยิ่งยกแขนกวักสูงแค่ไหน ก็เรียกคนได้มากแค่นั้น แต่ถ้ากวักมือขวา เป็นการเรียกเงินทอง และความโชคดีเข้าบ้าน

ส่วนแมวสามสีกวักมือซ้ายถือว่าโชคดีที่สุด เงินทองไหลมากเทมา แมวดำ ผู้หญิงญี่ปุ่นก็มีความเชื่อว่าสามารถใช้เป็นเครื่องรางป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงได้

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button