วันนี้ในอดีต

10 เมษายน ไททานิค ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์

10 เมษายน 2455 ไททานิค (RMS Titanic) ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์จากท่าเรือเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ มุ่งหน้าสู่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ไททาทิคเป็นเรือเดินสมุทรของบริษัท The White Star Line (Oceanic Steam Navigation Company) มีความยาว 269 เมตร กว้าง 28 เมตร มีระวางความจุ 46,328 ตัน ลำเรือสูงจากระดับน้ำ 18 เมตร ขับเคลื่อนด้วยใบพัด 3 ใบจากเครื่องจักรไอน้ำจากความร้อนของถ่านหิน กำลัง 50,000 แรงม้า (hp) สามารถทำความเร็วได้ 23 น็อท หรือ 43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีปล่องควัน 4 ปล่อง สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ถึง 3,547 คน พร้อมทั้งสามารถบรรจุสิ่งของไปรษณียภัณฑ์ได้อีกจำนวนมาก เรือไททานิคจึงมีชื่อนำหน้าว่า RMS (Royal Mail Steamer) ไททานิคนับเป็นเรือที่หรูหรา ใหญ่โต และแข็งแรงที่สุดในต้นศตวรรษที่ 20 ถึงขนาดเชื่อกันว่าจะไม่มีวันอับปาง แต่เพียงไม่กี่วันหลังจากนั้นไททานิคก็ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาน้ำแข็งเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 14 เมษายนปีเดียวกันและจมลงในมหาสมุทรแอตแลนติคเหนือในเช้าวันต่อมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน จากผู้โดยสารราว 2,300 คนเนื่องจากเรือมีเสื้อชูชีพไม่พอและมีเรือกู้ภัยเพียง 20 ลำ นับเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุทางเรือที่ร้ายแรงที่สุดของโลก

เรือไททานิค

อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) เป็นเรือโดยสารซึ่งจมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติกเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 หลังชนภูเขาน้ำแข็งระหว่างการเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การจมของไททานิก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,514 ศพ นับเป็นภัยพิบัติทางทะเลในยามสงบครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ไททานิก เคยเป็นสิ่งของเคลื่อนได้ที่ใหญ่ที่สุดที่ทำด้วยฝีมือมนุษย์ในขณะการเดินทางเที่ยวแรก เป็นหนึ่งในสามเรือโดยสารชั้นโอลิมปิกซึ่งดำเนินการโดยไวต์สตาร์ไลน์ สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1909-1911 โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ในเบลฟาสต์บรรทุกผู้โดยสาร 2,223 คน

ผู้โดยสารบนเรือมีบรรดาบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เช่นเดียวกับผู้อพยพกว่าพันคนจากบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย เป็นต้น ซึ่งกำลังแสวงหาชีวิตใหม่ในทวีปอเมริกาเหนือ เรือได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกสบายและความหรูหราที่สุด โดยบนเรือมียิมเนเซียม สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคารชั้นสูงและห้องจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีโทรเลขไร้สายทรงพลังซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร เช่นเดียวกับการใช้เชิงปฏิบัติการ แต่แม้ ไททานิก จะมีคุณลักษณะความปลอดภัยที่ก้าวหน้า เช่น ห้องกันน้ำและประตูกันน้ำที่ทำงานด้วยรีโมต ก็ยังขาดเรือชูชีพที่เพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารทุกคนบนเรือ เนื่องจากระเบียบความปลอดภัยในทะเลที่ล้าสมัย จึงมีเรือชูชีพเพียงพอสำหรับผู้โดยสาร 1,178 คนเท่านั้น เกินครึ่งของผู้ที่เดินทางไปกับเรือในเที่ยวแรกเล็กน้อย และหนึ่งในสามของความจุผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดเท่านั้น

ช่วงก่อนหน้าที่ไททานิคออกเดินทาง ได้เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณส่วนเก็บถ่านหินที่ บล็อก 5 และ 6 และไฟยังไหมต่อเนื่องตลอดการเดินทาง ความเสียหายนั้นส่งผลให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ก่อนถึงห้องเครื่อง และ ส่วนที่เก็บถ่านหินนั้นร้อนมาก อุณหภูมิไม่ตํ่ากว่า 1500 ฟาเรนไฮต์ จนผนังกั้นนํ้าร้อนจนแดง และตัวเหล็กของผนังกั้นนํ้านั้นบิด งอ ลดการทนทานนํ้าไปกว่า 75%

หลังเดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ไททานิก ถูกเรียกที่เชอร์บูร์ก (Cherbourg) ในฝรั่งเศส และควีนส์ทาวน์ (ปัจจุบันคือ โคฟ, Cobh) ในไอร์แลนด์ ก่อนมุ่งหน้าไปทางตะวันตกมุ่งสู่นิวยอร์ก วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ห่างจากเซาท์แทมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ไททานิก ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเมื่อเวลา 11.40 น. (ตามเวลาเรือ GMT-3) การชนแฉลบทำให้แผ่นลำเรือไททานิก เกิดความเสียหาย นํ้าได้ทะลักเข้าไปในเรือ แล้วได้เปิดห้องกั้นนํ้าทั้งหมด แต่ทว่า ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้จากห้องเก็บถ่านหิน ทำให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ไม่สามารถทนทานแนงดันนนํ้าได้ จึงส่งผลให้นํ้าทะลักเข้ามาภายในตัวเรือได้ อีกสองชั่วโมง สามสิบนาทีต่อมา น้ำค่อยๆ ไหลเข้ามาในเรือและจมลง ผู้โดยสารและสมาชิกลูกเรือบางส่วนถูกอพยพในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกไม่เต็ม ชายจำนวนมาก กว่า 90% ของชายในที่นั่งชั้นสอง ถูกทิ้งอยู่บนเรือเพราะระเบียบ “ผู้หญิงและเด็กก่อน” ตามด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งบรรทุกเรือชูชีพนั้น ก่อน 2.20 น. เล็กน้อย ไททานิก แตกและจมลงโดยยังมีอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ คนที่อยู่ในน้ำเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อันเกิดจากการจุ่มในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง ผู้รอดชีวิต 710 คนถูกนำขึ้นเรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง

ภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ทั่วโลกตกตะลึงและโกรธจากการสูญเสียชีวิตอย่างใหญ่หลวง และความล้มเหลวของกฎระเบียบและปฏิบัติการซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัตินั้น การไต่สวนสาธารณะในอังกฤษและสหรัฐอเมริกานำมาซึ่งพัฒนาการหลักในความปลอดภัยในทะเล หนึ่งในมรดกสำคัญที่สุด คือ การจัดตั้งอนุสัญญาความปลอดภัยของชีวิตในทะเลระหว่างประเทศ (SOLAS) ใน ค.ศ. 1914 ซึ่งยังควบคุมความปลอดภัยในทะเลตราบจนทุกวันนี้ ผู้รอดชีวิตหลายคนสูญเสียเงินและทรัพย์สินทั้งหมดและถูกทิ้งให้อดอยากแร้นแค้น หลายครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสมาชิกลูกเรือจากเซาท์แทมป์ตัน สูญเสียเสาหลักของครอบครัวไป พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากความเห็นใจสาธารณะและการบริจาคของมูลนิธิที่หลั่งไหลเข้ามา

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button