วันนี้ในอดีต

1 สิงหาคม มีการผลิตรถจีปขึ้นเป็นครั้งแรก

1 สิงหาคม 2484 “รถจีป” (Jeep) ยานยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อในตำนาน คันแรกถูกผลิตขึ้น เพื่อใช้เป็นยานยนต์อเนกประสงค์ในราชการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

รถจีป

รถจีปคันแรกถูกผลิตขึ้น เพื่อใช้เป็นยานยนต์อเนกประสงค์ในราชการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพเยอรมนีได้สร้างความเกรงขามด้วยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งมีรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างเป็นพาหนะ ดังนั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดขึ้น

อเมริกาจึงพยายามสรรหาพาหนะเคลื่อนที่เร็วที่มีสมรรถนะดีกว่ามอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง ในที่สุดจึงออกมามาเป็นรถจิป โดยชื่อ “จิป” (Jeep) สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “General Purpose (Vehicle)” เรียกย่อ ๆ ว่า “GP” ต่อมากร่อนเสียงเป็น “จิป” (Jeep) รถจิปคันแรกใช้ชื่อรุ่นว่า “Willys MB” ผลิตโดยบริษัท วิลลีส์ (Willys) และ ฟอร์ด (Ford Motor) ระหว่างปี 2484-2488 ขนาดยาว 333 ซม. กว้าง 157.5 ซม. น้ำหนักประมาณ 1 ตัน ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 2,199 ซีซี. กำลัง 60 แรงม้า มี 4 เกียร์รวมเกียร์ถอยหลัง และเกียร์ขับเคลื่อนสี่ล้ออีก 2 เกียร์ ผลิตทั้งหมดราว 650,000 คัน นับว่ารถยนต์รุ่นนี้ได้เป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะในสงคราม จากความแข็งแกร่งสามารถบุกตะลุยได้ดีในเส้นทางทุรกันดาร และผ่านการทดสอบจากสมรภูมิรบมาแล้ว เมื่อบ้านเมืองสงบรถจิปจึงถูกปรับปรุง พัฒนา ยานยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในรหัสรุ่นว่า “CJ” ซึ่งย่อมาจาก “Civilian Jeep” จิปสำหรับพลเมืองรุ่นแรกคือ “CJ-2” ออกในปี 2487 ตามมาด้วย “CJ-2A”, “CJ-3A”, “CJ-4” จนถึง “CJ-10”

ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายในรหัสนี้ ผลิตระหว่างปี 2524-2528 จากนั้นก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “Jeep Wrangler” ตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา และยังคงผลิตมาถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้จิปยังผลิตรถชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ตั้งแต่รถตรวจการณ์หรูหราไปจนถึงรถกระบะและรถบรรทุก รถจิปได้กลายเป็นยานพาหนะขับเคลื่อนสี่ล้อที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ปัจจุบัน Jeep เป็นยี่ห้อรถยนต์ในเครือบริษัท Daimler-Chrysler ของเยรมนี-อเมริกา

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button