วันนี้ในอดีต

15 ธันวาคม เจมส์ ไนสมิธ ผู้คิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอล

15 ธันวาคม 2434 เจมส์ ไนสมิธ (James Naismith) นายแพทย์ชาวคานาดา สามารถคิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอล ได้สำเร็จ กีฬาชนิดนี้สามารถเล่นได้ภายในอาคาร ในช่วงฤดูหนาวซึ่งไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งอื่น ๆ ได้

เจมส์ ไนสมิธ

เจมส์ ไนสมิท (James Naismith) 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 — 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 เป็นชาวแคนาดา เป็นโค้ชกีฬาและเป็นผู้ริเริ่มการคิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอลขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) เขาเขียนกฎหลักของบาสเกตบอล และเป็นผู้เปิดสอนมหาวิทยาลัย University of Kansas ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับบาสเกตบอล

บาสเกตบอล

บาสเกตบอล (basketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน

ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ ไนสมิท บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากลโลก กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากในวายเอ็มซีเอ ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพ มีการจัดตั้งลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนนจะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (ชูต, shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะเป็นฝ่ายชนะ สามารถนำพาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (เลี้ยงลูก, dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (ฟาวล์, foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการครองบอล

เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่าง ๆ เช่น การชูต การส่ง และการเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลก็ยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button