วันนี้ในอดีต

25 เมษายน เจมส์ วัตสัน และ ฟรานซิส คริก ค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอ

25 เมษายน 2496 เจมส์ วัตสัน (James Dewey Watson) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และ ฟรานซิส คริก (Francis Harry Compton Crick) นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษ ประกาศการค้นพบ โครงสร้างดีเอ็นเอ (DNA)

ดีเอ็นเอ (DNA)

ดีเอ็นเอ (DNA) ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ยังไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไรจนในปี 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสร้างแบบจำ ลองโครงสร้างของดีเอ็นเอ (DNA Structure Model) จนทำให้ได้รับรางวัลโนเบล และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอDNA มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid)

ในธรรมชาติDNA มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดเวียนขวา โดยหน่วยย่อยๆ ที่มาประกอบกันเป็นเกลียว DNA มีชื่อเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ซึ่งนิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำ ตาล (Deoxyribose Sugar), ฟอสเฟต(Phosphate) และไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base) และเบสในนิวคลีโอไทด์มีอยู่ด้วยกันสี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A), ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน(cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G)

จึงทำให้เกิดเป็นนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิดด้วยกันและให้ชื่อไปตามตัวเบสที่เป็นองค์ประกอบ และมีอักษรย่อคือ A C G T ดังนั้นความยาวของเส้น DNA จึงมีหน่วยนับเป็นคู่เบส เช่น DNAขนาด 10,000 คู่เบส หรือ 900 คู่เบส เป็นต้น

โครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบไปด้วย สายพอลินิวคลิโอไทด์ (polynucleotide) ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของนิวคลิโอไทด์หลายๆ หน่วยด้วยพันธะ ฟอสโฟไดเอสเตอร์ (phosphodiester) โดยเกิดจากสายพอลินิวคลิโอไทด์จำนวน 2 สายเรียงตัวขนานกันในทิศทางตรงกันข้าม

เข้าคู่และพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาคล้ายบันไดเวียน ที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (doublehelix) การเข้าคู่หรือเข้าจับกันของสายพอลินิวคลิโอไทด์ทั้ง 2 สายเกิดจากการเข้าคู่กันระหว่างเบสพิวรีนและเบสไพริมิดีน ด้วยพันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond) โดย A ทำการสร้างพันธะจำนวน 2 พันธะเข้าจับกับ T (A = T) และ G ทำการสร้างพันธะ จำนวน 3 พันธะเข้าจับกับ C โดยมีน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตทำหน้าที่เป็นแกนอยู่ด้านนอกของโมเลกุล

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button