ข่าว

วาฬบรูด้า โผล่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา กลางตึกสูงใน กทม.

หญิงสาวกำลังวิ่งวุ่นอยู่ในออฟฟิศ… เธอถือแฟ้มงานไปที่โต๊ะนั้นโต๊ะนี้เพื่อขออนุมัติงานด่วน แม้วันนี้ฟ้าดีมีแดด แต่เธอไม่มีเวลาแม้มองออกนอกหน้าต่างชั้น 40 ห่างออกไปเพียง 15 กิโลเมตร สิงหา…วาฬบรูด้าตัวใหญ่ กำลังวุ่นวายอยู่เช่นกัน วันนี้ปลาเยอะดีจัง สิงหาคิดระหว่างว่ายเลียบพื้น

ก่อนทะยานตัวขึ้นเหนือน้ำ อ้าปากกว้างเพื่อหม่ำปลาตัวเล็กตัวน้อย 15 กิโลเมตร คือระยะห่างระหว่างตึกระฟ้ากับสัตว์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 15 กิโลเมตร คือระยะห่างระหว่างสาวออฟฟิศกับสัตว์สงวนชนิดใหม่ของบ้านเรา เกือบ 50 กิโลเมตร คือระยะห่างระหว่างสนามบินดอนเมืองกับสนามบินสุวรรณภูมิ หากโลกนี้มีคำว่า “มหัศจรรย์” “วาฬบรูด้าแห่งกรุงเทพมหานคร” คือหนึ่งในนั้น…แน่นอน

วาฬบรูด้า

วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ (Bryde’s whale, Eden’s whale) เป็นวาฬขนาดใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้า

มีจุดเด่นที่ครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตาม แนวราบ และมีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม ซี่บนแผ่นกรองค่อนข้างหยาบ และเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ จึงได้รับการคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ห้ามมีการค้าขายวาฬบรูด้าระหว่างประเทศ

วาฬบรูด้าพบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในอ่าวไทย สามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด แต่จะพบบ่อยที่ทะเลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลักษณะลำตัวมีสีเทาดำ รูปร่างค่อนข้างเพรียว มีลายแต้มสีขาวประปรายตรงใต้คางและใต้คอ บางตัวพบมีแถบสีจางบนแผ่นหลัง บางตัวก็มีจุดสีจางทั้งตัวคล้ายสีเทาลายกระสีขาว เวลาอยู่ในทะเลจะสังเกตเห็นสัน 3 สันเด่นชัดด้านบนของปาก

ซึ่งจะวางตัวขนานกันจากปลายปากจนถึงตำแหน่งของรูหายใจ ในขณะที่วาฬชนิดอื่น ๆ มีสันตรงกึ่งกลางปากเพียงสันเดียว เวลาผุดขึ้นหายใจเหนือผิวน้ำจะเห็นหัวและน้ำพุที่หายใจออกมาเป็นเวลานานสักครู่ ก่อนจะเห็นครีบหลังตามมา ส่วนหัวมีแนวสันนูน 3 สัน ครีบเล็กและปลายแหลม มีร่องใต้คาง 40-70 ร่อง จุดเด่นของวาฬบรูด้า คือ ครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตามแนวราบ มีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง

ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม และมีความยาวเป็นร้อยละ 10 ของความยาวลำตัว ใต้ปากล่างมีร่องตามยาวประมาณ 40-70 ร่อง พาดจากใต้ปากจนถึงตำแหน่งสะดือ แผ่นกรองที่ห้อยลงมาจากปากบนมีจำนวน 250-370 แผ่น แผ่นที่ยาวที่สุดยาว 60 เซนติเมตร ซี่บนแผ่นกรองค่อนข้างหยาบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะยาว 14-15.5 เมตร หนัก 20-25 ตัน กินอาหารโดยการกรอง มีซี่กรองคล้ายหวีสีเทา จำนวน 250-370 ซี่ อาหารส่วนใหญ่เป็นแพลงตอน, เคย, ปลาขนาดเล็ก และหมึก

วาฬบรูด้าพบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ในเขตละติจูด 40 องศาเหนือถึงใต้ ไม่พบการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นระยะทางไกล โดยมากมักพบครั้งละ 1-2 ตัว วัยเจริญพันธุ์ ในช่วงอายุ 9-13 ปี วาฬบรูด้าจะให้ลูกครั้งละ 1 ตัวทุก 2 ปี ตั้งท้องนาน 10-12 เดือน ระยะให้นมน้อยกว่า 12 เดือน ลูกวาฬแรกเกิดจะมีความยาวประมาณ 3-4 เมตร มีอายุยืนได้ถึง 50 ปี เวลาจมตัวดำน้ำจะโผล่หัวเล็กน้อยแล้วทิ้งตัวจมหายไปไม่โผล่ส่วนหางขึ้นมาเหนือน้ำ

อ่านต่อ
Back to top button

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ Analytics

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า