วันตรุษจีน 2568 หรือ Chinese New Year 2025 ตรงกับวันที่ 29 มกราคม 2568 เรามีประวัติความเป็นมาวันตรุษจีน ทั้ง เทศกาลตรุษจีน การไหว้ตรุษจีน คําอวยพรตรุษจีน มาฝากกัน
ตรุษจีนปี 2568 ตรงกับ ปีเถาะ (กระต่าย) เป็นสัตว์อันดับที่สี่ของนักษัตรทั้งหมด ในตำนานเล่าว่ากระต่ายตัวนี้มีความทะนงตัว เย่อหยิ่ง ในความเร็วของมัน เขาเป็นเพื่อนบ้านกับวัว และมักจะล้อเลียนความช้าของวัว อยู่มาวันหนึ่งจักรพรรดิหยกกล่าวว่าลำดับจักรราศีจะถูกตัดสินโดยลำดับที่สัตว์มาถึงงานเลี้ยงของเขา กระต่ายออกเดินทางตอนรุ่งสาง แต่เมื่อไปถึงก็ไม่พบสัตว์อื่นเลย เมื่อคิดว่าเขาน่าจะเป็นคนแรก เขาจึงออกไปด้านนอกและงีบหลับ เมื่อเขาตื่นขึ้น สัตว์อีกสามตัวก็มาถึงแล้ว หนึ่งในนั้นคือวัวที่เขาดูถูกมาโดยตลอด
ตรุษจีน
วันตรุษจีน (ภาษาจีนย่อ: 春节, ภาษาจีนเต็ม: 春節) (ภาษาอังกฤษ: Chinese New Year) คือ วันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ หรือ “การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน” เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า “วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ”
ประวัติวันตรุษจีน
สำหรับที่มาของวันตรุษจีน เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่า 4,000 ปี จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า “ซุ่ย” ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1,000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า “เหนียน” หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
นอกจากนี้ ตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันชุงเจ๋” ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาว
ส่วนการกำหนดวันตรุษจีน ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่าง ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไปภายในบ้านทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ
อาหารวันตรุษจีน
จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้ง หมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้ง หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึง บรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับ ตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
ชุดวันตรุษจีน
การใส่เสื้อผ้าสีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคล เป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับ ตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
กิจกรรมวันตรุษจีน
วันตรุษจีนคือวันสำคัญของชาวจีน คนจะมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ประดิษฐานสิ่งของขวัญบนโต๊ะ จับปลาหายาก และร่วมเข้าพิธีเทศกาลต่าง ๆ เพื่อสร้างความสุขกับครอบครัวร่วมกัน และอื่น ๆ
ติดฝู (福) กลับหัว
การติด ฝูกลับหัว (福倒) หมายถึง โชคมงคลได้มาถึงบ้านแล้ว ระหว่าง เทศกาลตรุษจีน ชาวจีนนอกจากนิยมตกแต่งบ้านเรือนด้วยกระดาษแดง ภาพวาด และภาพกระดาษตัดสีสันสดใส สร้างบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริง และเพื่อเป็นการต้อนรับความสุขและขอโชคขอพร ก็ยังนำอักษรมงคล เช่นตัว 福 (ฝู) หรือตัว 春 (ชุน) มาติดที่บานประตูหน้าบ้าน ตามกำแพง หรือบริเวณเหนือกรอบบนของประตู การติดอักษรมงคลที่แพร่หลายที่สุด คือ 福 เป็นประเพณีมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยซ่ง และมักติดกลับหัวซึ่งในภาษาจีนกลางเรียก 福倒 (ฝูเต้า) มีความหมายว่า สิริมงคลหรือโชคดีได้มาถึงบ้านแล้ว เรื่องการกลับหัวตัวอักษรนี้มีเหตุที่มาเมื่อครั้งอดีตกาล ซึ่งเล่าสืบกันมาในหมู่สามัญชนว่า
สมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจางแห่งราชวงศ์หมิง ได้ใช้อักษร 福 (ฝู) เป็นเครื่องหมายลับในการสังหารคน หม่าฮองเฮาทราบเรื่องจึงคิดอุบายเพื่อหลีกเลี่ยงภัยดังกล่าวไม่ให้เกิดแก่ราษฎร ด้วยมีพระราชเสาวนีย์ให้ทุกบ้านติดตัวฝูที่หน้าประตูเพื่อลวงให้ฮ่องเต้สับสน รุ่งขึ้นชาวเมืองต่างนำตัวอักษรฝูมาติดที่หน้าประตูตามนั้น ทว่ามีบ้านหนึ่งไม่รู้หนังสือจึงติดตัวฝูกลับหัวด้วยความไม่ตั้งใจ เมื่อฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นเข้าก็ทรงกริ้ว รับสั่งให้ประหารคนในบ้านทั้งหมด หม่าฮองเฮาเห็นท่าไม่ดีจึงรีบทูลยับยั้งไว้ว่า
บ้านนี้ทราบว่าพระองค์จะเสด็จมา จึงตั้งใจติดตัวฝูกลับหัว 福倒 (ฝูเต้า) เพื่อแสดงความปิติยินดีต่อการเสด็จเยือนของพระองค์ ราวกับว่าความสุขสวัสดีและโชคลาภได้มาถึงที่บ้าน
ได้ยินดังนี้แล้วจูหยวนจางจึงไว้ชีวิตชาวบ้านผู้นั้น การติดตัวฝูกลับหัวสืบต่อมานอกจากเพื่อขอโชคสิริมงคลตามความหมายของตัวอักษรแล้ว ยังเป็นการระลึกถึงคุณความดีของหม่าฮองเฮาในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย
เชิญเทพผู้พิทักษ์ประตู
วันส่งท้ายปีเก่าหรือที่เรียกว่า ฉูซี (除夕) ชาวจีนมีธรรมเนียมในการติด เหมินเสิน (门神) หรือ ภาพเทพเจ้าผู้คุ้มครองประตูเหมินเสิน มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน ในอดีตกาลจะถือตัวประตูเป็นเทพเจ้าโดยตรง จนกระทั่งหลังสมัยราชวงศ์ฮั่น จึงได้ปรากฏการใช้ภาพคนมาเป็นตัวแทนเทพเจ้า แรกเริ่มเดิมทีใช้ภาพนักรบผู้กล้านามว่า เฉิงชิ่ง (成庆) ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาพวาดของ จิงเคอ (荆轲) จอมยุทธ์ชื่อดังสมัยจ้านกั๋ว เหมินเสิน ในราชวงศ์ใต้และเหนือ จะเป็นภาพคู่เทพเจ้าสองพี่น้อง เสินถู (神荼) ยูไล (郁垒) ตลอดจนสองขุนพลเอกในสมัยราชวงศ์ถัง ที่มีชื่อว่า ฉินซูเป่า (秦叔宝) และอี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ (尉迟敬德) แต่ต่อมากษัตริย์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินรู้สึกเห็นใจว่าสองขุนพลจะลำบากเกินไป จึงได้สั่งให้จิตรกรหลวงวาดภาพสองขุนพลขึ้นมา แล้วใช้ติดไว้ที่ประตูทั้งสองข้างแทน จึงได้กลายเป็นภาพ เหมินเสิน ในเวลาต่อมาเมื่อถึงยุค 5 ราชวงศ์ ได้เริ่มนำภาพของ จงขุย (钟馗) เทพผู้ปราบภูตผีปีศาจ มาติดเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
เซ่นไหว้บรรพบุรุษ
ประเพณีการเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษในวันตรุษจีน ถือกำเนิดขึ้นจากรากฐานแห่งคุณธรรมความกตัญญูกตเวที ที่ชาวจีนยึดมั่นและให้ความสำคัญ ตามประเพณีแบบดั้งเดิมแต่ละบ้านจะนำบันทึกลำดับวงศ์ตระกูลหรือที่เรียกว่า เจียพู่ (家谱) หรือรูปภาพของบรรพบุรุษหรือแผ่นป้ายที่สลักชื่อบรรพบุรุษ มาวางไว้ที่โต๊ะเซ่นไหว้ ที่มีกระถางธูปและอาหารเซ่นไหว้
ในประเทศจีนบางแห่งจะทำพิธีสักการะเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉเสิน (财神) พร้อม ๆ กับเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยอาหารที่นำมาใช้ถวายเทพเจ้าแห่งโชคลาภตามความนิยมของชาวจีนทางเหนือ โดยมากประกอบด้วย เนื้อแพะ อาหารคาว 5 อย่าง ของหวาน 5 อย่าง ข้าว 5 ชาม ขนมที่ทำจากแป้งสาลีไส้พุทรา 2 ลูก และหมั่นโถวขนาดใหญ่ 1 ลูก
สำหรับช่วงเวลาในการประกอบพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้น จะแตกต่างกันออกไปกล่าวคือบางบ้านจะเซ่นไหว้ก่อนการรับประทาน เหนียนเย่ฟั่น หรืออาหารมื้อแรกของปีใหม่ ขณะที่บางบ้านนิยมเซ่นไหว้ก่อนหรือหลังคืนส่งท้ายปีเก่าหรือที่เรียกว่า ฉุ่เย่ บางบ้านก็นิยมประกอบพิธีในช่วงเช้าของในวันที่ 1 เดือน 1 หรือ ชูอี (初一)
แท้จริงแล้วการสักการะบูชาเทพเจ้าและไหว้บรรพบุรุษนั้น ก็คือการกล่าวอวยพรปีใหม่กับเทพและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ลูกหลานได้รำลึกถึงบรรพชน หลังจากทำพิธีไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษแล้ว ลูกหลานจะช่วยกันเผากระดาษเงิน กระดาษทอง
อาหารค่ำส่งท้ายปีเก่า
เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭) หมายถึงอาหารค่ำของคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญก่อนขึ้นปีใหม่ที่ชาวจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมักไหว้บรรพบุรุษและจุดประทัดกันก่อนที่จะลงมือรับประทานอาหารมื้อพิเศษนี้ เหนียนเยี่ยฟ่าน มีความพิเศษ ตรงที่เป็นมื้อใหญ่ที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกวัยและทุกเพศจะพร้อมหน้าพร้อมตาล้อมวงร่วมรับประทานอาหารกัน สมาชิกที่แยกไปอยู่ที่อื่นจะพยายามกลับมาให้ทันวันส่งท้ายปี แต่หากกลับมาไม่ได้จริง ๆ ครอบครัวจะเว้นที่ว่างพร้อมวางชามและตะเกียบไว้เสมือนหนึ่งว่ามากันครบ หลังจากทาน เหนียนเยี่ยฟ่าน เสร็จแล้วผู้ใหญ่จะให้ ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า อั่งเปา แก่เด็ก ๆ ความพิเศษของ เหนียนเยี่ยฟ่าน ยังอยู่ที่อาหารอันหลากหลายให้สมาชิกที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปี ได้ผ่อนคลายร่วมทานอาหารอย่างมีความสุขอยู่กับครอบครัวในคืนสุดท้ายของปี
ขณะที่ชื่อของอาหารที่นำมาตั้งโต๊ะยังแฝงไว้ด้วยความหมายที่เป็นสิริมงคล จานบังคับที่ทุกโต๊ะต้องมีคือ ไก่ (鸡 จี) และ ปลา (鱼 อี๋ว์) แทนความหมาย เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา (吉祥如意 จี๋เสียงหยูอี้) และ มีเงินทองเหลือใช้ทุกปี (年年有余 เหนียนเหนียนโหยวอี๋ว์)
กินขนมเข่ง (年糕) ชีวิตเจริญยิ่งขึ้นทุกปี
อาหารที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษจีนอีกอย่าง คือ ขนมเข่ง ขนมที่ชาวจีนเรียก เหนียนเกา (年糕) นิยมทำกินในหมู่ชาวจีนทางใต้ ประเพณีกินเหนียนเกาในวันตรุษมีมา 7,000 กว่าปีแล้ว เดิมทีทำขึ้นเพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ ภายหลังกลายเป็นอาหารนิยมในช่วงตรุษจีน มีความหมายอำนวยพรให้ชีวิต เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นทุกปี ๆ (生活年年提高)
จุดประทัด
นอกจากคืนวันส่งท้ายปีเก่าและวันที่ 5 เดือน 1 ที่จะมีการจุดประทัดกันแล้ว ประเพณีการจุดประทัดในเช้าวันแรกของปีใหม่ก่อนออกจากบ้าน ก็เป็นความเชื่อของชาวจีนว่า จะเป็นการเริ่มต้นปีด้วยความคึกคักหรือที่เรียกว่า 开门炮 (ไคเหมินเพ่า) เพื่อต้อนรับวันแรกของปีประทัดของจีนมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมทีใช้ปล้องไม้ไผ่ตั้งไฟเผาให้ระเบิดจนเกิดเสียงดังใช้ในการขับไล่ภูตผีป้องกันเสนียดจัญไร ต่อมาใช้ในพิธีไสยศาสตร์ของพ่อมดหมอผีและการเสี่ยงทาย จนในที่สุดกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการอธิษฐานขอความสงบร่มเย็น
กินเกี๊ยวข้ามปี โชคดีตลอดไป
ประเพณีการกินเจี่ยวจือ 饺子 หรือเกี๊ยวต้มจีนใน ตรุษจีน เริ่มเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หมิง โดยคนในครอบครัวจะต้องห่อเกี๊ยวให้เสร็จก่อนเที่ยงคืนของวันสิ้นปี รอจนยามที่เรียกว่า 子时 จื่อสือ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 23 – 1 นาฬิกาของวันถัดมาก็จะเริ่มรับประทานกัน และเป็นเวลาเริ่มต้นวันใหม่ของปีใหม่พอดี การทานเกี๊ยวจึงมีความหมายว่า เปลี่ยนปีเชื่อมเวลา 更岁交子 เพราะคำเรียกอาหารชนิดนี้ 饺 เจี่ยวก็ออกเสียงคล้าย 交 เจียวซึ่งมีความหมายว่าเชื่อมต่อกัน และ 子 จื่อก็คือ 子时 จื่อสือนั่นเอง นอกจากนั้นการรับประทานอาหารชนิดนี้ยังมีความหมายสำคัญของการรวมตัวของคนในครอบครัวอีกด้วย เมื่อแป้งที่ห่อไส้เรียกว่า 和面 เหอเมี่ยน คำว่า 和 พ้องเสียงกับคำว่า 合 เหอ ที่แปลว่าร่วมกัน และ 饺 เจี่ยวก็ออกเสียงคล้ายกับคำว่า 交 ที่มีอีกความหมายว่า มีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย การที่เกี๊ยวเป็นอาหารสำคัญที่ไม่อาจขาดได้ในวันตรุษจีนยังมีเหตุผลมาจากรูปลักษณ์ของเกี๊ยว ที่เป็นรูปทรงคล้ายเงินในสมัยโบราณการรับประทานเกี๊ยว จึงเหมือนการนำเงินทองเข้ามาสู่ตัว
นอกจากนั้น ไส้ในเกี๊ยวก็ยังสะดวกต่อการบรรจุสิ่งที่เป็นมงคลลงไปให้เป็นความหวังต่อคนที่รับประทานด้วย เช่น ลูกกวาด ถั่วลิสง พุทราแดง เม็ดเกาลัด เหรียญเงิน โดยคนที่กัดเจอลูกกวาดชีวิตในปีใหม่ก็จะยิ่งหอมหวาน ในขณะที่ถั่วลิสงมีความหมายว่าแข็งแรงและอายุยืนนาน ส่วนพุทราแดงและเกาลัดก็จะมีบุตรภายในปีนั้น และหากกัดเจอเหรียญเงินก็จะยิ่งร่ำรวยเงินทอง
อั่งเปา
อั่งเปา คือ เงินของขวัญที่มีการให้และรับในวัฒนธรรมจีน อั่งเป่า แปลว่า ซองสีแดง ที่มอบให้โดยมีเงินบรรจุอยู่ด้านใน ซึ่งเงินที่บรรจุภายในเรียก 利是 อั่งเปานิยมมีการให้มอบให้ในงานสำคัญของครอบครัว เช่น พิธีแต่งงาน หรือ ตรุษจีน (วันปีใหม่ของจีน) โดยในวันตรุษจีนผู้ที่มีอายุสูงกว่าหรือทำงานมีเงินเดือนแล้ว จะเป็นคนให้อั่งเป่าแก่เด็กหรือญาติที่ยังไม่ได้ทำงาน
สีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดี และเงินที่บรรจุภายบางครั้งจะเป็นเลขนำโชค เช่น เลข 8 อ่านในภาษาจีนจะมีความหมายถึงความรุ่งเรือง หรือความร่ำรวย ดังนั้นการที่จะให้อั่งเปากับลูกหลาน หรือ บริวาร ชาวจีนจะนิยมใส่ซองเป็นเงิน 200 , 400 , 800 บาท
แต๊ะเอีย
แต๊ะเอีย คือ สมัยก่อนเหรียญเงินของชาวจีนที่ใช้นั้นจะมีรูตรงกลาง ตามธรรมเนียมปฏิบัติผู้ใหญ่จะร้อยเหรีญเงินเหล่านั้นด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ ในเทศกาลตรุษจีน พวกเด็กๆ ก็มักจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
การให้แต๊ะเอีย จะเป็นเลข “ซี่สี่” คือ 400 จะเป็นตัวเลข 4 กับแบงก์ ร้อย 4 ใบ หรือจะให้เป็น 2 เท่า 3 เท่าของ ซี่สี่ คือ 800 ก็ได้ อีกอย่างที่น่าสนใจสำหรับเทศกาลตรุษจีน คือ การติดยันต์แผ่นใหม่ที่หน้าประตูบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลและคุ้มครองภัย
คําอวยพรตรุษจีน
- 万事如意 新年发财 (ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้) : ปีใหม่ (จีน) ขอให้ร่ำรวย ๆ และขอให้สมหวัง
- 新正如意,新年发财 (ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ) : ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวังปีใหม่ขอให้ร่ำรวย
- 福禄双全 (ฟู๋ลู่ซวงฉวน) : ศิริมงคลเงินทองอำนาจวาสนา
- 万事如意 (ว่านซื่อหยูอี้) : สมความปรารถนา
- 恭喜发财 (กงสี่ฟาไฉ) : ขอให้ร่ำรวย
- 财源广进 (ไฉเหยียนกว่างจิ้น) : เงินทองไหลมา
- 招财进宝 (เจาไฉ่จิ้นเป่า) : เงินทองไหลมา
- 年年有余 (เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋) : เหลือกินเหลือใช้
- 事事顺利 (ซื่อซื่อซุ่นลี่) : ทุกเรื่องราบรื่น
- 金玉满堂 (จินยวี้หม่านถัง) : ร่ำรวยเงินทอง
- 一本万利 (อิ้เปิ่นว่านลี่) : กำไรมากมาย
- 大吉大利 (ต้าจี๋ต้าลี่) : ค้าขายใด้กำไร
- 年年发财 (เหนียนเหนียนฟาไฉ) : ร่ำรวยตลอดไป
- 龙马精神 (หลงหม่าจินเสิน) : สุขภาพแข็งแรง
- 吉祥如意 (จี๋เสียงหยูอี้) : สมความปรารถนา
- 好运年年 (เห่ายวิ่นเหนียนเหนียน) : โชคดีตลอดไป
- 四季平安 (ซื่จี้ผิงอัน) : ปลอดภัยตลอดปี
- 一帆风顺 (อี้ฝันฟงซุ่น) : ทุกอย่างราบรื่น
- 幸福如意 (ซิ่งฝูหรูอี้) : มีความสุขสมปรารถนา
- 恭喜发财 (กงสี่ฟาไฉ) : ขอให้ร่ำรวย
- 财源广进 (ไฉเหยียนกว่างจิ้น) : เงินทองไหลมา
- 吉祥如意 (จี๋เสียงหรูอี้) : เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา
- 年年有余 (เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋) : เหลือกินเหลือใช้
- 事事顺利 (ซื่อซื่อซุ่นลี่) : ทุกเรื่องราบรื่น
- 一本万利 (อิ้เปิ่นว่านลี่) : กำไรมากมาย
- 大吉大利 (ต้าจี๋ต้าลี่) : ค้าขายได้กำไร
- 一帆风顺 (อี้ฝันฟงซุ่น) : ทุกอย่างราบรื่น
ตรุษจีนในประเทศไทย
วันจ่ายตรุษจีน 2566/2023
วันจ่ายตรุษจีน (ตื่อเส็ก) คือ วันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้ และเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
วันไหว้
วันไหว้ ตอนเช้ามืดจะไหว้ “ป้ายเล่าเอี๊ย” (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ “ป้ายแป๋บ้อ” (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ “ป้ายฮ่อเฮียตี๋” (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว
วันเที่ยว (ชิวอิก) หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ “ป้ายเจีย” เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า “กิก” (橘) ไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ 吉 แปลว่า โชคลาภ หรือ ภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษากวางตุ้ง ส้มเรียกว่า “ก้าม” (柑) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง (金) [3] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น ?) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
การไหว้ตรุษจีน
ในวันฉลอง ตรุษจีน อาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันอื่น ๆ ในปี อาหารชนิดต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่าง ๆ ที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่าง ๆ มีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมัน
ของไหว้ตรุษจีน
- ไหว้ตรุษจีนใช้ธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก และ กระดาษเงินกระดาษทอง
- เทียนสีแดง
- แจกัน และดอกไม้สดที่ดูสดใสและหลากสี
- น้ำชา หรือ น้ำสมุนไพร เป็นต้น แนะนำว่าควรใส่ด้วยภาชนะสีแดง
- ข้าวสวย
- เจฉ่าย 5 อย่าง ได้แก่ เห็ดหอม, เห็ดหูหนู, ดอกไม้จีน, วุ้นเส้น, ฟองเต้าหู้
- ผลไม้ 3 ชนิด หรือ 5 ชนิด เช่น ส้ม กล้วย องุ่น สับปะรด แอปเปิ้ล
- เม็ดบัว มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
- เกาลัด มีความหมายถึง เงิน
- สาหร่ายดำ คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
- เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
- หน่อไม้ คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์
- ปลาทั้งตัว เป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกันและความอุดม-สมบรูณ์
- ไก่ สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์
- เส้นหมี่ ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
กระดาษเงินกระดาษทอง
ในการไหว้ตรุษจีนนั้น จะต้องมีการเตรียมกระดาษเงินกระดาษทอง สำหรับใช้ไหว้ด้วย เพราะคนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า “อิมกัง” ลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองด้วยการเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้บรรพบุรุษได้ใช้ เพื่อแสดงความกตัญญู ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองมีทั้งแบบที่ใช้ไหว้เจ้า และแบบที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษ
- กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า “เผ่งอัน” เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดี ใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
- กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานต้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
- กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
- กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย
- ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า “เคี้ยวเท่าซี” เชื่อกันว่าการพับเรือ จะได้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่น ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด
- อิมกังจัวยี่ คือ แบงก์กงเต๊ก
- อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทางไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย
- เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ
- ตั้วกิม เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตาย การเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เซ่นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ “เหี่ยม” หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิษฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี
ผลไม้ไหว้ตรุษจีน
- ส้มสีทอง : ส้มสีทอง หมายถึง ความสวัสดีมหามงคล อีกทั้งส้มสีทองยังเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ร่ำรวยเงินทอง
- กล้วยหอมทอง : กล้วยหอมทอง หมายถึง การกวักโชคลาภ การมีลูกมีหลานสืบสกุล มีบริวารที่ดี ดังเช่นกล้วยที่มีกล้วยหลายลูก และหลายหวีในเครือเดียวกัน
- สับปะรด : สับปะรดในภาษาจีนจะเรียกว่า อั้งไล้ ซึ่งมีความหมายถึงโชคลาภที่จะได้มา
- องุ่นแดง : องุ่นเป็นผลไม้ที่นิยมนำมาไหว้เจ้าในวันตรุษจีนเช่นกัน ซึ่งก็ควรเลือกองุ่นแดงมากกว่าองุ่นดำหรือองุ่นเขียวนะคะ เพราะสีแดงเป็นสีแห่งความร่ำรวย โชคดี ทั้งนี้ความหมายขององุ่นก็หมายถึงความเพิ่มพูน ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เหมือนลักษณะองุ่นที่เป็นพวง มีผลดกชิดกันนั่นเอง
- แก้วมังกร : แก้วมังกร ผลไม้ที่มีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ การมีโชคลาภ โดยแนะนำให้เลือกแก้วมังกรที่มีเนื้อด้านในเป็นสีม่วงออกแดง ซึ่งจะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลยิ่ง ๆ ขึ้นไป
- แอปเปิลแดง : แอปเปิลแดงมีความหมายถึงสันติสุข สันติภาพ การเป็นอยู่ที่สงบสุข ไร้ความวุ่นวาย ไร้โรคภัยใด ๆ มาเบียดเบียน
- สาลี่สีทอง : สาลี่สีทองหมายถึง ความมั่นคง การพบเจอโชคลาภและสิ่งดี ๆ ในชีวิต
- ลูกพลับ : ลูกพลับมีความหมายถึง ความยั่งยืน เนื่องจากพลับเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ มีความมั่นคง หนักแน่น สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้อย่างราบรื่น อีกทั้งลูกพลับที่มีสีเหลืองทอง ยังเป็นสีแห่งความรุ่งเรืองและความร่ำรวยอีกด้วย
- ทับทิม : ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดสีแดงสด มีเมล็ดมาก การใช้ทับทิมเป็นผลไม้ไหว้ตรุษจีนจึงมีความหมายถึง การมีลูกชายมาก ๆ อีกทั้งชาวจีนยังมีความเชื่อกันว่า ทับทิมเป็นไม้มงคล ใบหรือกิ่งทับทิมก็มีอำนาจไล่ภูตผีปีศาจ จึงนิยมปลูกทับทิมไว้ในบริเวณบ้าน หรือพกใบทับทิมติดตัวไว้เพื่อเป็นเครื่องรางป้องกันภัย เป็นต้น
ขนมไหว้วันตรุษจีน
- ขนมเข่ง หมายถึง ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์
- ขนมเทียน หมายถึง ขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดินดัดแปลงมาจากขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายว่า หวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
- ขนมไข่ หมายถึง ความเจริญเติบโต
- ขนมถ้วยฟู หมายถึง ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
- ขนมสาลี่ หมายถึง รุ่งเรือง เฟื่องฟู
- ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว หมายถึง ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค โดย หมั่นโถว มีแบบที่ทำจากหัวมัน เนื้อออกสีเหลือง และแบบไม่ผสมมัน เนื้อออกสีขาว นิยมทำให้แตกเหมือนดอกไม้บาน ถ้าลูกเล็กจะแต้มจุดแดง ลูกใหญ่จะปั๊มตัวหนังสือสีแดง เขียนว่า ฮก แปลว่า โชคดี ส่วนถ้ามีไส้ เรียก “ซาลาเปา” นิยมไส้เต้าซา แป้งไม่ผสมมัน หน้าไม่แตก มีตัวหนังสือปั๊มว่า เฮง แปลว่า โชคดี
- จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป
- ขนมตรุษจีน ขนมไหว้ตรุษจีน ความหมายมงคล ช่วยเสริมดวง!
ของที่ไม่ควรนำมาเป็นของไหว้
- มะเฟือง
- มะไฟ
- แตงโม
- แคนตาลูป
- มะละกอ
15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน
- วันที่ 1 ของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
- วันที่ 2 ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด
- วันที่ 3 และ 4 เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน
- วันที่ 5 เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่าย
- วันที่ 6 ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุข
- วันที่ 7 ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จ
- วันที่ 8 ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์
- วันที่ 9 จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้
- วันที่ 10 ถึงวันที่ 12 เป็นวันของเพื่อนและญาติ ๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
- วันที่ 13 ถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
- วันที่ 14 ควรเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน
- วันที่ 15 งานฉลองโคมไฟ
การเชิดสิงโต
การเชิดสิงโต เป็นประเพณีการเต้นรำอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียที่ผู้แสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโตในชุดสิงโต การเชิดสิงโตปกติจะแสดงในเทศกาลตรุษจีน และในเทศกาลทางประเพณีวัฒนธรรม และศาสนาของชาวจีนอื่น ๆ การเชิดสิงโตอาจแสดงในโอกาสสำคัญ เช่น งานเปิดตัวธุรกิจ การเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ หรืองานสมรส หรืออาจใช้เชิดชูเกียรติแขกพิเศษในชุมชนของชาวจีน
การเชิดสิงโตของจีนมักมีผู้สับสนกับการเชิดมังกร ความแตกต่าง คือ สิงโตต้องใช้นักเต้นสองคน ในขณะที่มังกรต้องใช้คนหลายคน ในการเชิดสิงโต ใบหน้าของผู้แสดงจะแสดงให้เห็นเป็นครั้งคราว เนื่องจากพวกเขาอยู่ภายในตัวสิงโต ในการเชิดมังกร ใบหน้าของผู้แสดงจะแสดงให้เห็นได้ง่ายเนื่องจากมังกรจะยึดอยู่กับเสา การเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเชิดสิงโตพบได้ในศิลปะการป้องกันตัวของจีนหลายแขนง
การเชิดสิงโตของจีนมีสองรูปแบบหลัก คือ สิงโตเหนือและสิงโตใต้ การแสดงทั้งสองรูปแบบพบได้ทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่อื่นในโลกมักพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเชิดสิงโตแบบใต้มีมากกว่าเนื่องจากได้รับการเผยแพร่โดยชุมชนจีนพลัดถิ่นซึ่งส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากจีนตอนใต้ การเชิดสิงโตรูปแบบอื่น ๆ อาจพบในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต และเวียดนาม การเชิดสิงโตอีกรูปแบบหนึ่งมีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย แต่เป็นประเพณีที่แตกต่างไป
ข้อห้ามวันตรุษจีน
วันตรุษจีนถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน และยังเป็นเทศกาลที่ผู้คนให้ความสำคัญกันเป็นอย่างมาก ตรุษจีนเป็นวันที่บรรดาญาติพี่น้องจะกลับมารวมตัวเพื่อพบปะสังสรรค์ทานข้าวกัน มาดูกันว่าว่าสิ่งที่เป็นข้อห้ามในวันตรุษจีนมีอะไรบ้าง
ห้ามทำงานในวันตรุษจีน
ความเชื่อเรื่องห้ามทำงานในวันตรุษจีนมีสาเหตุมาจาก ชาวจีนเชื่อว่า วันตรุษจีนเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ถ้าทำงานตั้งแต่ต้นปี ก็จะต้องเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานไปตลอดทั้งปี จึงถือให้วันนี้เป็นวันเที่ยว เป็นวันพักผ่อนสบาย ๆ จะได้สบายไปตลอดทั้งปี
ห้ามทำความสะอาดบ้านในวันตรุษจีน
เชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาด หรือชะล้างความโชคดีออกไป ชาวจีนจึงไม่ปัด กวาด เช็ด ถู หรือซัก ล้างทำความสะอาดบ้านในวันตรุษจีนเด็ดขาด
ห้ามสระผมหรือตัดผม
ชาวจีนจะไม่นิยมสระผมหรือตัดผมกันในวันตรุษจีน หรือบางคนก็จะไม่สระผม 3 วันหลังจากวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า ผม เป็นคำพ้องเสียงและพ้องรูปกับคำว่า มั่งคั่ง ดังนั้น การสระหรือตัดผมในวันตรุษจีน จึงเหมือนกับการนำความมั่งคั่งออกไป
ห้ามพูดคำหยาบและทะเลาะเบาะแว้ง
ในวันตรุษจีน คนจีนจะงดพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดี รวมไปถึงการพูดถึงความตายหรือผี เนื่องจากเชื่อว่า การพูดสิ่งที่ไม่ดีในวันนี้ จะนำความโชคร้ายมาให้ตลอดทั้งปี รวมไปถึงการที่ไม่พูดถึงเลข 4 เนื่องจากเลข 4 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ตาย ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงพยายามไม่ใช้หรือไม่พูดอะไรที่เกี่ยวข้องกับเลข 4
ห้ามใส่ชุดขาวดำ
เสื้อผ้าที่เป็นสีขาวดำ เป็นสัญลักษณ์ของความตาย ดังนั้น การสวมเสื้อผ้าสีขาว-ดำในวันนี้จึงหมายถึงลางร้าย คนจีนจึงมักสวมเสื้อผ้าสีแดงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า สีแดง คือ สีที่จะนำความโชคดีมาให้
ห้ามให้ยืมเงิน
คนจีนบางคนอาจจะหมายรวมการที่ไม่ให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ นอกเหนือไปจากเงินแล้ว ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า การให้ยืมเงินในวันนี้จะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด รวมไปถึง หากใครที่ติดเงินใครไว้ ก็ควรที่จะคืนเงินก่อนวันตรุษจีน เพราะเชื่อกันว่า หากติดเงินใครในวันตรุษจีนแล้ว คนคนนั้นก็จะมีหนี้สินตลอดปีไม่จบไม่สิ้น
ห้ามร้องไห้
คนจีนเชื่อกันว่า หากร้องไห้ในวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้พบกับเรื่องไม่ดี และเสียใจไปตลอดทั้งปี ดังนั้น แม้ในวันนี้เด็กเล็กจะดื้อขนาดไหน อากง อาม่า ก็อาจจะปล่อยให้วันหนึ่ง เพราะไม่อยากตีให้เด็กต้องร้องไห้ในวันนี้
สิ่งที่ควรทำในวันตรุษจีน
วันตรุษจีนถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน และยังเป็นเทศกาลที่ผู้คนให้ความสำคัญกันเป็นอย่างมาก ตรุษจีนเป็นวันที่บรรดาญาติพี่น้องจะกลับมารวมตัวเพื่อพบปะสังสรรค์ทานข้าวกัน มาดูกันว่าว่าสิ่งที่ควรทำในวันตรุษจีนมีอะไรบ้าง เพื่อเสริมมงคลชีวิตให้มีแต่ความเฮงไปตลอดทั้งปี
ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ
วันซาจั๊บ ช่วงเช้าหลังจากไหว้เจ้าในบ้าน คือ “ตีจูเอี๊ย” ไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนเที่ยงจึงไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งของไหว้จะมีทั้งของคาว-หวาน รวมทั้งเป็ด-ไก่ มากหรือน้อยแล้วแต่ฐานะของผู้ไหว้ และมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร เกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติพกไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องจุดขี้ไต้ 2 ชิ้นไว้ด้วย เมื่อไหว้เสร็จจะจุดประทัด จากนั้นจะโปรยข้าวสารผสมเกลือ ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป
รวมญาติกินเกี๊ยว
ความสำคัญอีกประการของตรุษจีน คือเป็นวัน รวมญาติ โดยทุกคนจะเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยวในวันซาจั๊บมื้อสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ และที่ต้องเป็น “เกี๊ยว” ก็เพราะลักษณะของเกี๊ยวจะเหมือนกับ “เงิน” ของจีน ให้ความหมายว่า ให้มั่งมีเงินทอง
กินเจมื้อเช้า คือมื้อแรกของปี
ส่วนในวันชิวอิก คนจีนจะกินเจมื้อแรกของปี เชื่อกันว่าจะได้บุญเหมือนกับกินเจตลอดทั้งปี
ทำพิธีรับ “ไช่ซิงเอี้ย”
“ไช่ซิงเอี้ย” เป็นเทพพิทักษ์ทรัพย์ หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ส่วนใหญ่จะทำพิธีระหว่างหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บจนถึงก่อนตี 1
ติด “ตุ๊ยเลี้ยง” หรือคำอวยพรปีใหม่
ตุ๊ยเลี้ยง หรือคำอวยพรปีใหม่นั่นเอง โดยสมัยก่อนนั้นชาวจีนจะเขียนตุ๊ยเลี้ยงเองโดยใช้ หมึกสีดำ หรือสีทองบนกระดาษสีแดง จะติดตรงสองข้างของประตูบ้าน โดยส่วนใหญ่จะเป็นคำกลอนอวยพรที่ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น ในสมัยนี้สามารถหาซื้อได้ในย่านเยาวราช
เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องคุ้นหน้าคุ้นตากับ หนี่อวยหรือ ภาพเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย ที่มักติดไว้ที่ประตูหน้าบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล
ใส่เสื้อผ้าใหม่สีสันสดใส
ควรเลือกสวมเสื้อผ้าสีสดใส โดยเฉพาะสีแดง เป็นสีที่เป็นมงคลมาก และไม่ควรใส่สีดำเด็ดขาด
ส้ม 4 ผล อวยพรผู้ใหญ่
การไหว้อวยพรญาติผู้ใหญ่จะใช้ส้ม 4 สีส้มทองผลสวยห่อด้วยผ้านำไปมอบให้ญาติผู้ใหญ่
รับอั่งเปา
ทุกคนคงได้ยินทั้งคำว่าอั่งเปา และแต๊ะเอีย อั่งเปาคือเงินที่ผู้ใหญ่นำใส่ซองแดงให้ลูกหลานบริวาร ส่วนแต๊ะเอียคือ เหรียญที่มีรูตรงกลาง ในสมัยก่อนเหรียญจะมีรูตรงกลางร้อยเชือกสีแดงเป็นพวงเพื่อนำมามอบให้ลูกหลานบริวารในวันตรุษจีน
สถานที่จัดงานเทศกาลตรุษจีน
- เทศกาลตรุษจีนไชน่าทาวน์เยาวราช
- ตรุษจีนสุพรรณบุรี
- งานเทศกาลตรุษจีน จังหวัดสงขลา
- มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย
- งานเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ ปากน้ำโพ
- งานเทศกาลตรุษจีน จังหวัดตรัง
- เทศกาลตรุษจีน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตำนานวันตรุษจีน
มีเรื่องเล่ากันมาว่า ประเทศจีนในสมัยโบราณมีปีศาจตนหนึ่ง นามว่า “เหนียน” หัวมีขนรุงรัง ดุร้ายเป็นอย่างมาก “เหนียน” อาศัยในทะเลลึกเป็นเวลายาวนาน ทุกปีพอถึงวันสิ้นปีก็จะปีนขึ้นฝั่ง มาทำร้ายผู้คนและสัตว์เลี้ยง ดังนั้นทุกปีพอถึงวันสิ้นปี ผู้คนในหมู่บ้านบนภูเขาต่างก็อุ้มลูกจูงหลานเข้าไปในหุบเขาลึก เพื่อซ่อนตัวไม่ให้ปีศาจ “เหนียน”มาทำร้าย
วันสิ้นปีในปีนี้ คนในหมู่บ้าเถาชุนกำลังพากันหอบลูกจูงหลานไปหลบภัยบนภูเขา มีชายแก่ขอทานคนหนึ่งมาจากนอกหมู่บ้าน แขนสะพายกระเป๋า เคราขาวปลิวตามลม ตาเป็นประกาย บรรดาพี่น้องในหมู่บ้านเดียวกันล้วนปิดบ้านแน่นหนา บ้างเก็บข้าวของ บ้างต้อนวัวไล่แพะ ทั่วทุกแห่งสับสนอลหม่าน ทุกคนต่างตกอยู่ในภาวะรีบร้อนหวาดกลัว ในเวลานี้ ใครจะมีกะจิตกะใจมาสนใจชายแก่ขอทานล่ะ
มีเพียงยายแก่ที่อยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้านให้อาหารแก่ชายแก่ อีกทั้งแนะนำให้เขารีบขึ้นเขาไปซ่อนตัวจากปีศาจ “เหนียน”
ชายแก่ลูบเคราแล้วยิ้ม กล่าวว่า “ หากแม้นว่าท่านให้ข้าพักที่นี่หนึ่งคืน ข้าจะขับไล่ปีศาจเหนียนให้ท่าน ” ยายแก่มองเขาอย่างตกตะลึง เห็นเขาผมขาวหน้าแดงมีเลือดฝาด จิตใจกระปรี้กระเปร่า มีน้ำใจสูงส่ง
แต่ยายแก่ก็ยังคงแนะให้เขาหลบหนีต่อไป ชายแก่ขอทานยิ้มแต่ไม่ได้พูดอะไร ยายแก่ไม่มีทางเลือก จำต้องทิ้งบ้านขึ้นเขาไปหลบภัย พอถึงเที่ยงคืน ปีศาจเหนียนก็ตรงดิ่งมายังหมู่บ้าน มันพบว่าบรรยากาศในหมู่บ้านไม่เหมือนกับทุกปี
บ้านของยายทางด้านตะวันออก บนประตูแปะกระดาษสีแดง ในบ้านจุดเทียนสว่างไสว ปีศาจเหนียนตัวสั่นเทาไปหมดทั้งร่าง ส่งเสียงร้องออกมาทีหนึ่ง ปีศาจเหนียนหันไปจ้องเขม็งยังบ้านของยายแก่ชั่วครู่ ทันใดนั้นมันก็วิ่งเข้าไปอย่างบ้าคลั่ง
พอเข้าไปใกล้ประตู ภายในบ้านก็มีเสียงประทัดดัง “ปัง ปัง” ขึ้นมา ปีศาจเหนียนตัวสั่นเทิ้ม ไม่กล้าเข้าไปใกล้อีก แท้จริงแล้ว ปีศาจเหนียนกลัวสีแดง แสงไฟ และเสียงประทัดที่สุด เวลานั้นเองประตูบ้านของยายแก่ก็เปิดออก มีเพียงชายชราที่ใส่ชุดยาวสีแดงยืนหัวเราะเสียงดังอยู่ เจ้าเหนียนหน้าถอดสี แล้ววิ่งหนีเตลิดเปิดเปิงไป
เช้าวันที่สองในวันปีใหม่ ผู้คนที่ไปหลบภัยกลับมาเห็นหมู่บ้านตนสงบสุขก็ตกตะลึง เวลานั้นยายแก่ก็รีบอธิบายกับพวกผู้คนในหมู่บ้าน ว่านี่เป็นคำสัญญาของชายแก่ขอทาน พวกชาวบ้านพร้อมใจกันมุ่งหน้าไปบ้านยายแก่ พบเพียงกระดาษสีแดงที่แปะอยู่หน้าประตูบ้านของยายแก่ ภายในสวนมีไม้ไผ่กองหนึ่งที่ยังเผาไหม้ไม่หมดยังคงส่งเสียงระเบิดเป๊าะแป๊ะ ภายในบ้านยังมีเทียนสีแดงที่ยังคงมีแสงสว่างเหลืออยู่
พวกชาวบ้านดีใจเป็นล้นพ้น เฉลิมฉลองความเป็นศิริมงคลที่มาถึง ค่อย ๆ เปลี่ยนชุดใหม่เปลี่ยนหมวกใหม่ ไปบ้านเพื่อนเยียมทเยียนญาติสนิทมิตรสหาย เรื่องนี้แพร่ออกไปรอบหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ทุกคนล้วนแต่ทราบวิธีการขับไล่ปีศาจเหนียน
ตั้งแต่นั้นมาในคืนวันสิ้นปี ทุกบ้านก็จะแปะคำโคลงคู่สีแดง จุดประทัดเสียงดัง แต่ละบ้านจุดไฟสว่างไสว เฝ้ารอเวลาให้ถึงวันปีใหม่ พอเช้าวันปีใหม่ ก็ไปพากันแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนเพื่อสนิทมิตรสหาย ประเพณีนี้นี้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวจีน
หลีกเลี่ยงอะไรบ้างเพื่อสุขภาพช่วงตรุษจีน
- หลีกเลี่ยงการจุดธูป และการเผากระดาษเงินกระดาษทอง
- ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้ธูปขนาดสั้น
- ควรเผากระดาษเงินกระดาษทองทีละน้อย เผาในที่มีฝาปิด
- ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นควัน
- เมื่อเสร็จพิธีควรดับไฟทันที
- ล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสกระดาษเงินกระดาษทอง
สรุป
เทศกาลตรุษจีนใกล้มาถึงแล้ว บรรยากาศแห่งความสุข ความรุ่งโรจน์ และการเริ่มต้นใหม่กำลังโอบล้อมไปทั่วทุกหย่อมหญ้า กลิ่นหอมของอาหารมงคล เสียงเพลงจีนอันไพเราะ และสีสันสดใสของประดับประดา ช่วยเติมเต็มความเบิกบานให้หัวใจ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นช่วงเวลาอันล้ำค่าสำหรับการเชื่อมสัมพันธ์กับครอบครัวและคนที่รัก
ไม่ว่าคุณจะคุ้นเคยกับเทศกาลตรุษจีนมากน้อยแค่ไหน เราอยากชวนคุณมาสัมผัสประเพณีอันงดงามร่วมกัน ลองค้นหาเมนูอาหารมงคลแสนอร่อย สวมชุดใหม่สีสันสดใส ไปกราบไหว้ขอพร และส่งคำอวยพรให้แก่กัน เผยแพร่ความสุขผ่านภาพถ่ายและวิดีโอ แล้วติดแฮชแท็ก #เทศกาลตรุษจีน #ตรุษจีน2024 #ตรุษจีนนี้ไปไหนดี ให้โลกออนไลน์ได้ร่วมสนุกไปด้วยกัน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลตรุษจีน สร้างความทรงจำอันแสนวิเศษ และส่งต่อประเพณีอันงดงามนี้ให้คงอยู่ต่อไปนานเท่านาน!
คำถามที่พบบ่อย
ตรุษจีน 2566 วันที่เท่าไร?
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566
นักษัตรจีนปี 2566 คืออะไร?
กระต่าย
ตรุษจีน คือ?
วันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน
ตรุษจีนภาษาจีน ?
ภาษาจีนย่อ: 春节, ภาษาจีนเต็ม: 春節 (ฉูซี่)
ตรุษจีนนานแค่ไหน?
16 วัน การเฉลิมฉลองยาวนานถึง 16 วัน แต่เฉพาะ 7 วันแรกเท่านั้นที่ถือเป็นวันหยุดราชการของจีน (22 มกราคม – 29 มกราคม 2066)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ข้อมูลอ้างอิง:
- Chinese New Year 2023 – Year of the Rabbit. (n.d.). Chinese New Year. Retrieved January 8, 2023, from https://chinesenewyear.net/