วันสำคัญ

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง 2567 ขนบธรรมเนียมโบราณ บรรยากาศจีน

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง (Dragon Boat Festival) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งตรงกับช่วงปลายเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินเกรกอเรียน

Dragon Boat Festival คือ

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง (Dragon Boat Festival) คือ

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเป็นวันหยุดตามประเพณีของจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 เทศกาล Dragon Boat Festival มีชื่อมากกว่ายี่สิบชื่อและแต่ละชื่อมีความหมายและต้นกำเนิดของตัวเอง ภาษาจีนกลางเรียกว่า Duanwu Jie และ Tuen Ng ในภาษากวางตุ้ง และยังเป็นที่รู้จักกันในนาม “Dumpling Festival” และ “Double Fifth Festival”

เทศกาลแข่งเรือมังกร หรือ Longzhou Jie (龙舟节) ในภาษาจีน คนจีนให้ความสำคัญกับมังกรเป็นอย่างมาก กิจกรรมหลักสองอย่างในช่วงเทศกาลคือการกินบ๊ะจ่าง และการแข่งเรือ ซึ่งทั้งสองกิจกรรมเกี่ยวข้องกับมังกร

บ๊ะจ่างถูกโยนลงไปในแม่น้ำเพื่อถวายเครื่องบูชาและบูชาเทพเจ้ามังกรในเดือน 5 วันจันทรคติ 5 ในขณะที่เรือมังกรถูกใช้ในการแข่งขันที่จัดขึ้นตามประเพณี ดังนั้นจึงเรียกว่าเทศกาลเรือมังกร

นอกจากจีนแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศอื่น ๆ ในเอเชียยังเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ด้วย ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน เรียกว่าเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

ประวัติเทศกาลไหว้บะจ่าง

ประวัติเทศกาลไหว้บะจ่าง

ในสมัยเลียดก๊ก มีบุคคลหนึ่งนามว่า ชฺวียฺเหวียน เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน เป็นนักปราชญ์ราชกวีคนหนึ่ง รวมทั้งรู้จักหลักการบริหารปกครองเป็นอย่างดี ชฺวียฺเหวียนเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฉู่ ชฺวียฺเหวียนได้รับราชการเป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋อ เป็นที่ปรึกษา และดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชฺวียฺเหวียนเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถอันสูงยิ่ง เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นอันมาก

เมื่อมีคนรัก แน่นอนย่อมต้องมีคนชังเป็นเรื่องธรรมดา เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชฺวียฺเหวียน ด้วยความที่ชฺวียฺเหวียนนั้นเป็นคนที่ซื่อตรง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำงานของชฺวียฺเหวียนเป็นไปเพื่อการขัดขวางการโกงกินบ้านโกงกินเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ไคล้ชฺวียฺเหวียนต่าง ๆ นานา จนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มมีใจเอนเอียง ชฺวียฺเหวียนรู้สึกทุกข์ระทมตรมใจมาก จึงได้แต่งกลอนขึ้นเพื่อคลายความทุกข์ใจ กลอนบทนั้นมีชื่อว่า “หลีเซา” หมายถึงความเศร้าโศก จนต่อมาพระเจ้าฉู่หวายอ๋องถูกกลลวงของแคว้นฉิน และสวรรคตในแคว้นฉิน รัชทายาทของฉู่หวายอ๋องจึงได้ขึ้นครองราชบัลลังก์แทน

หลังจากที่กษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงหลงเชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางกังฉินพวกนั้น ในที่สุดจึงได้มีพระบรมราชโองการให้เนรเทศชฺวียฺเหวียนออกจากแคว้นฉู่ไป

ชฺวียฺเหวียนเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากเดินทางรอนแรมมาถึงแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) ชฺวียฺเหวียนจึงได้ตัดสินใจกระโดดน้ำตายในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นั้นเอง

พวกชาวบ้านที่รู้เรื่องการตายของชฺวียฺเหวียน พวกเขาต่างก็รัก และอาลัยในตัวของชฺวียฺเหวียน จึงได้ออกเรือเพื่อตามหาศพของชฺวียฺเหวียน ในขณะที่ค้นหาศพ พวกเขาก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำด้วย นัยว่าเพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่ไปกัดกินซากศพของชฺวียฺเหวียน หลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชฺวียฺเหวียน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง หลังจากที่ทำมาได้ 2 ปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชฺวียฺเหวียนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารที่เหล่าชาวบ้านนำไปโปรยเพื่อเป็นเครื่องเซ่นถูกเหล่าสัตว์น้ำกินเสียจนหมดเกลี้ยง เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ชฺวียฺเหวียนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ เพื่อที่เหล่าสัตว์น้ำจะได้นึกว่าเป็นต้นไม้อะไรสักอย่าง จะได้ไม่กินเข้าไป

หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชฺวียฺเหวียนแนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงน้ำเพื่อเซ่นให้แก่ชฺวียฺเหวียน หลังจากวันนั้นชฺวียฺเหวียนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีก ว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชฺวียฺเหวียนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชฺวียฺเหวียนว่าควรทำเช่นไรดี ชฺวียฺเหวียนจึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำ ให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน

ประเพณีการแข่งเรือมังกร และประเพณีการไหว้ขนมจั้ง (บ๊ะจ่าง) จึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างมีความสําคัญอย่างไร

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างมีความสําคัญอย่างไร

หลายคนเชื่อว่าเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างมีการเฉลิมฉลองเพื่อรำลึกถึง การจากไปของชฺวี ยฺเหวียน (Qu Yuan) เป็นเสนาบดีและกวีชาวจีนในยุครณรัฐของจีนโบราณมีชื่อเสียงเพราะความรักชาติและผลงานด้านร้อยกรอง โดยเฉพาะประชุมกวีนิพนธ์เรื่อง ฉู่ฉือ (楚辭) ซึ่งท้ายที่สุดก็กลายเป็นวีรบุรุษของชาติ

ตำนานเล่าว่า ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงเห็นชฺวี ยฺเหวียน ลงแม่น้ำมี่หลัวไปลับ ๆ ก็พากันตามหาเขา แต่ไม่ทันกาล เพราะชฺวี ยฺเหวียน ถึงแก่ชีวิตไปแล้ว ชาวบ้านจึงเอาก้อนข้าวเหนียวโยนลงน้ำเพื่อให้ปลากินแทนศพเขา ข้าวเหนียวดังกล่าวเป็นที่มาของบ๊ะจ่าง และการที่ชาวบ้านแล่นเรือตามหาเขาก็เป็นที่มาของเทศกาลเรือมังกรซึ่งมีการแข่งเรือและกินบ๊ะจ่าง

เดือนจันทรคติที่ 5 คนจีนโบราณยังเชื่อว่าเป็นวันที่เหล่าปิศาจจะออกมาสำแดงเดช จึงต้องมีการป้องกันด้วยการปัดกวาดทำความสะอาดบ้าน และจุดเครื่องหอมรวมทั้งกำยานเพื่อให้บรรยากาศในบ้านดูสดชื่นขึ้น ภูตผีปิศาจจะได้ไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย ในวันนี้สัตว์มีพิษทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ แมงป่อง แมงมุม ตะขาบ และงู จะพากันหลบซ่อนตัว จึงเป็นโอกาสที่เจ้าบ้านจะต้องอบบ้านด้วยการจุดกำมะถัน เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษเหล่านี้กลับเข้ามาอาศัยได้อีก นอกจากนี้ยังมีการดื่มเหล้ายาที่ผสมด้วยผงกำมะถันด้วย โดยเชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี

สรุป

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเป็นเทศกาลสำคัญของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนที่สืบทอดกันมายาวนาน เทศกาลนี้นอกจากจะเป็นการรำลึกถึงชวีหยวน กวีผู้รักชาติแล้ว ยังเป็นการเฉลิมฉลองฤดูร้อนและขอพรให้โชคดี สุขภาพแข็งแรง และมีอายุยืนยาวอีกด้วย

หากท่านสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างหรือต้องการลิ้มลองรสชาติของบ๊ะจ่าง สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต หรือหากท่านอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีชุมชนชาวจีนเชื้อสายไทย ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างได้

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button