วันสำคัญ

ตักบาตรเทโว 2567 ประเพณีสำคัญชาวพุทธ ตรงกับวันไหนมาดูกัน

หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งในปี 2567 ตรงกับที่ 18 ตุลาคม จะมีการ “ตักบาตรเทโว” หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า “เทโวโรหนะ” แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตักบาตรดาวดึงส์” โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตร คือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

ตักบาตรเทโว หมายถึง

ตักบาตรเทโว

ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11)

การตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ตักบาตรเทโว หรือเรียกว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งคำว่า “เทโว” ย่อมาจาก “เทโวโรหณะ” แปลว่า การเสด็จจากเทวโลก การตักบาตรเทโวจึงเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็จะมีการจดพิธีการตักบาตรเทโวนี้

ตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน ความสำคัญของวันเทโวโรหณะ เป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรด พระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง 3 โลกนั้นเอง

การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้น ๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว และเมื่อถึงวันตักบาตรเทโว พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรกันที่วัด โดยแต่ละที่จะเตรียมของไปทำบุญ ในแบบที่อาจตะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับที่สัดในแต่ละที่ เช่น เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์ หลักจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ และสรรพสัตว์

โดยในปีนี้ได้มีการจัดงานตักบาตรเทโว ที่ วัดสังกัสรัตนคีรี เขาสะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี โดยภายในงานมี การแสดงแสง สี เสียง พร้อมรับประทานอาหารสำรับคาว-หวาน พิธีตักบาตรเทโว ข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวต้มลูกโยน การแสดงโต๊ะหมู่บูชาประดับงาช้าง ประเพณีตักบาตรเทโวที่วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี เป็นงานประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัด และจัดได้สอดคล้องกับตำนานมาก โดยสมมติ ให้มณฑปที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง เป็น “สิริมหามายากุฎาคาร” มีบันไดทอดยาวจากมณฑปลงสู่บริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง เปรียบเสมือนบันไดทิพย์ที่ทอดยาวจากสวรรค์ดาวดึงส์ สู่เมืองสังกัสนคร

ตักบาตรเทโวใส่อะไรบ้าง ข้าวต้มมัด ข้าวต้มลูกโยน
ภาพจาก baantip.com

ตักบาตรเทโวใส่อะไรบ้าง

เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเทโวควรเตรียมใส่ ข้าวต้มมัด ข้าวต้มลูกโยน สาเหตุที่เป็นข้าวต้มลูกโยน หรือข้าวต้มมัด เนื่องการเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จกลับมา เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมากมาใส่บาตรทำให้ไม่สามารถที่จะถวายอาหารใส่ลงบาตรได้จึงได้นำข้าวมาปั้นก้อนแล้วโยนลงบาตร ต่อมาได้มีการปรับเป็นข้าวต้มลูกโยน และข้าวต้มมัด

วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์

สรุป

ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ใจของชาวพุทธทั่วไทยต่างเปี่ยมล้นไปด้วยความเลื่อมใส เมื่อถึงวาระแห่ง “ตักบาตรเทโว” ประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา สายบุญทั้งหลายต่างตื่นแต่เช้า จัดเตรียมข้าวต้ม ขนมหวาน ผลไม้คัดพิเศษ รอต้อนรับเหล่าพระภิกษุสงฆ์ด้วยใบหน้าเปี่ยมสุข

กลิ่นหอมของธูปเทียน รอยยิ้มละมุนละไมของผู้คน เสียงสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ บรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ผสมผสานกันอย่างลงตัว เป็นภาพแห่งความเชื่อความศรัทธาที่งดงาม ตักบาตรเทโวไม่ใช่เพียงการทำบุญธรรมดาเท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ส่งต่อความกตัญญูกตเวทีต่อพระรัตนตรัยรุ่นต่อรุ่น

หากท่านใดอยากสัมผัสบุญล้นหลาม ชวนร่วมตักบาตรเทโวในปีนี้ ไม่ว่าจะที่วัดใกล้บ้าน สถานที่จัดงานสำคัญ หรือแม้แต่ร่วมตักบาตรออนไลน์ ก็ล้วนเป็นการส่งต่อความกุศล แลกซึ่งความสุขใจทั้งสิ้น

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button