สังคม

แอมเนสตี้ฯ เผย 10 วิธีที่ทั่วโลกใช้ปราบ “ผู้สื่อข่าว”

วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกหรือวันสื่อมวลชนโลกตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเสรีภาพสื่อ และ ย้ำเตือนรัฐบาลถึงหน้าที่เคารพและสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งได้รับการคุ้มครองตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 และ เป็นเครื่องหมายวันครบรอบปฏิญญาวินด์ฮุก อันเป็นคำแถลงหลักสื่อมวลชนเสรีซึ่งนักหนังสือพิมพ์ชาวแอฟริการวบรวมไว้ในปี 2534

Advertisement

ในวันดังกล่าว ยูเนสโกนำเสนอรางวัลเสรีภาพสื่อโลกยูเนสโก/กีลเลร์โม กาโน (UNESCO/Guillermo Cano World Press Freedom Prize) แก่ปัจเจกบุคคล องค์การหรือสถาบันที่สมควรซึ่งมีส่วนในการปกป้อง หรือ สนับสนุนเสรีภาพสื่อทุกหนแห่งบนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการเผชิญอันตราย รางวัลดังกล่าวตั้งขึ้นในปี 2540 และมอบให้ตามคำแนะนำของคณะลูกขุนอิสระซึ่งเป็นวิชาชีพข่าว 14 คน องค์การนอกภาครัฐทั้งระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศซึ่งทำงานด้านเสรีภาพสื่อมวลชน และรัฐสมาชิกยูเนสโกเป็นผู้เสนอชื่อผู้เข้าชิงรางวัล

10 วิธีที่ทั่วโลกใช้ปราบ "ผู้สื่อข่าว"
10 วิธีที่ทั่วโลกใช้ปราบ “ผู้สื่อข่าว”

10 วิธีปราบ “ผู้สื่อข่าว”

1. การทำร้ายร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในบางประเทศ อย่างเช่น ซีเรีย เติร์กเมนิสถาน และ โซมาเลีย รัฐบาล กองทัพ และ กลุ่มติดอาวุธทำร้ายร่างกายหรือสังหารผู้สื่อข่าวที่ถูกมองว่าพยายามวิพากษ์วิจารณ์นโยบายและการปฏิบัติของตน

2. การขู่จะขังคุก

Advertisement

ผู้สื่อข่าวยังเสี่ยงที่จะถูกตั้งข้อหาตามกฏหมาย ที่ใช้ปราบปรามการแสดงความคิดเห็นอย่างสงบ หรือ ไม่ก็มีการตั้งข้อหาเท็จโดยมีแรงจูงใจทางการเมือง (อย่างเช่น ข้อหามียาเสพติดไว้ในครอบครอง และ ฉ้อโกง) ทั้งนี้เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการรายงานข่าว

3. การข่มขู่คุกคาม

รัฐบาลหลายประเทศพอว่าการข่มขู่ผู้สื่อข่าว หรือ ญาติของพวกเขาเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลเพื่อปิดปากพวกเขา

4. การจับตามอง

ในประเทศต่างๆ รวมทั้งคิวบา และ จีน นักเคลื่อนไหว และ ผู้สื่อข่าวมักประสบปัญหาในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากทางการมักเฝ้าติดตามการสื่อสารของพวกเขา

5. การปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

รัฐบาลที่กดขี่บางแห่งพยายามควบคุมการเข้าถึง อินเทอร์เน็ตเพื่อจำกัดการดำเนินงานของผู้สื่อข่าว

6. การออกกฏหมายหมิ่นประมาทที่รุนแรง

ในบางประเทศมีการใช้กฏหมายหมิ่นประมาทอย่างมิชอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สื่อข่าววิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐบาล และ ผู้มีอิธิพล

7. การเพิกถอนวิซ่า และ ใบอนุญาตทำงาน

ในบางประเทศ รวมทั้งซีเรีย รัฐบาลปฏิเสธหรือเพิกถอนวีซ่า ผู้สื่อข่าวต่างชาติเพื่อหยุดยั้งไม่ให้พวกเขาสอบสวนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนผู้สื่อข่าวในประเทศก็เจอกับความเสี่ยงที่จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงานเช่นกัน

8. การยอมสอบสวนเมื่อเกิดกรณีการทำร้ายผู้สื่อข่าว

การที่รัฐบาลไม่นำตัวผู้ร้ายผู้สื่อข่าวมาลงโทษ เป็นการส่งสัญญาณอย่างหนึ่ง ทำให้นักข่าวไม่กล้ารายงานข้อมูลในประเด็นที่ละเอียดอ่อน

9. การสั่งปิดหน่วยงานสื่อ

ทางการในหลายประเทศสั่งปิดหนังสือพิมพ์ และ สถานีวิทยุที่ถูกมองว่ามุ่งวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล

10. สนับสนุนการใส่ร้ายป้ายสี

ในหลายประเทศ รัฐบาลส่งเสริมให้มีการใส่ร้ายป้ายสีผู้สื่อข่าวที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์ทางการ

ที่มา – @AmnestyThailand ,Wikipedia

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button