นิทานชาดก

นิทานชาดก : การขอ

การขอ เป็นพฤติกรรมที่มนุษย์ทุกคนทำกันอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการขอร้องใครสักคนให้ทำอะไร การขอความช่วยเหลือ หรือแม้แต่การขอทาน นิทานชาดกเรื่อง “การขอ” กล่าวถึงเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ขอทานอยู่ริมถนน เขาขอร้องทุกคนที่ผ่านไปมาให้ช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครสนใจเขาเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาได้พบกับชายคนหนึ่งที่ใจดีและเมตตา เขาจึงได้รับความช่วยเหลือจากชายคนนั้น นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่ผิด แต่ถ้าหากเราขออย่างสุภาพและรู้จักกาลเทศะ ผู้อื่นก็จะเต็มใจช่วยเหลือเราเช่นกัน

การขอ

ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบทที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีพากันสร้างกุฏีเที่ยวขอชาวบ้าน จนชาวบ้านเกิดความเดือดร้อนขึ้นจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายโบราณบัณฑิต แม้พระราชาจะปวารณาไว้แล้วก็ไม่มีขอในท่ามกลางมหาชน เพราะกลัวหิริโอตตับปปะร้าวฉานออกปากขอในที่ลับเท่านั้น ” แล้วได้นำอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ตระกูลหนึ่งได้บวชเป็นดาบสอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งได้ไปที่เมืองอุตตรปัญจาลครของพระเจ้าปัญจาลราช อาศัยอยู่ในสวนหลวง พระราชาทรงเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้อยู่ในเมืองนั้นโดยสร้างศาลาให้อยู่ที่สวนหลวง

เมื่ออย่างเข้าฤดูฝน ดาบสประสงค์จะกลับป่าบำเพ็ญเพียรในการเดินทางต้องมีร่มกันฝนและรองเท้าคู่หนึ่งจึงคิดจะทูลขอกับพระราชา วันนั้นพอพระราชาเสด็จประพาสสวนหลวงพร้อมด้วยเหล่าอำมาตย์ ก็คิดเกรงในว่า “ผู้ถูกขอ เมื่อให้สิ่งของย่อมเป็นเหมือนคนร้องไห้ ผู้ขอถ้าเขาบอกว่าไม่มีก็เหมอนคนร้องไห้เช่นกัน ดังนั้น มหาชนไม่ควรเห็นเรากับพระราชาร้องไห้ เราจะทูลขอในที่ลับ” ดาบสจึงทูลพระราชาว่า “มหาบพิตร อาตมามีเรื่องจะทูลเป็นความลับ” พระราชาจึงรับสั่งให้ทหารถอยออกไป ห่างไกลแล้วประทับคอยรับฟังอยู่ ฝ่ายดาบสกลับคิดอีกว่า “ถ้าเราทูลขอไป พระราชาไม่ประทาน ไมตรีของเราทั่งสองก็จบสิ้นเพราะฉะนั้นเราทูลขอในวันอื่นดีกว่า” จึงทูลว่า “มหาบพิตร ขอเชิญเสด็จเถิด พรุ่งนี้อาตมาจึงจะทูล” แม้ในวันอื่น ๆ ก็เป็นไปในลักษณะนี้จนเวลาผ่านไปถึง 12 ปี

วันหนึ่งพระราชาทรงดำริว่า “พระคุณเจ้าบอกว่ามีความลับจะสนทนากลับไม่กล้าท่านต้องการอะไรหนอ วันนี้เราต้องรู้ให้ได้” จึงเสด็จไปที่สวนหลวงและตรัสถามดาบสว่าต้องการอะไรดาบสทูลว่า “พระองค์จักประทานหรือ ” พระราชาตรัสว่า “พระคุณเจ้าต้องการอะไรบอกมาเถิดจักถวาย”
ดาบสจึงทูลว่า “มหาบพิตร อาตมาต้องการร่มและรองเท่าคู่หนึ่งใช้ในเวลาเดินทาง”
พระราชา “พระคุณเจ้า มีเท่านี้เองหรือที่ท่านไม่อาจขอได้ตั้ง 12 ปี”
ดาบส “เจริญพร” พระราชา “เพราะอะไรจึงเป็นเหตุให้พระคุณเจ้าไม่กล้าเอ่ยปากขอ”
ดาบสจึงทูลว่า “มหาบพิตร ผู้ขอย่อมได้ 2 อย่าง คือได้หรือไม่ได้เท่านั้น ผู้ถูกขอเมื่อให้สิ่งของเป็นเหมือนคนร้องไห้ผู้ขอเมื่อเขาบอกว่าไม่มี ก็เป็นเช่นคนร้องไห้ ดังนั้น มหาชนอย่าได้เห็นอาตมาและพระองค์ร้อง ไห้เลยอาตมาจึงหวังเฉพาะที่ลับเท่านั้น

พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น เมื่อจะถวายสักการะมากจึงตรัสเป็นคาถาว่า

“ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวายวัวแดงหนึ่งพันตัว พร้อมด้วยโคจ่าฝูงแก่ท่าน เพราะอารยชนได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของท่านแล้ว จะไม่พึงให้แก่อารยชนได้อย่างไร”

ดาบสทูลห้ามว่า “มหาบพิตร อาตมาไม่ต้องการวัตถุกามซึ่งเป็นภาระที่ต้องรับผิดชอบ ขอพระองค์ประทานเพียงร่มและรองเท้าเท่านั้นเถิด” ให้โอวาทแก่พระราชาแล้วก็ไปยังป่าบำเพ็ญเพียรตราบเท่าชีวิต

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

อย่าเป็นคนชอบขอ เพราะผู้ถูกขอย่อมเป็นทุกข์ใจ ผู้ขอเมื่อไม่ได้ก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button