นิทานชาดก

นิทานชาดก : หมอผู้โชคร้าย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหมอคนหนึ่งที่พิการทั้งสองขา ไม่สามารถเดินได้ จึงอาศัยการนั่งรถเข็นไปหาคนไข้ อยู่มาวันหนึ่ง หมอผู้พิการได้พบกับเด็กชายคนหนึ่งกำลังเล่นอยู่ใต้ต้นไม้ หมอคิดแผนการชั่วร้ายขึ้นมา หวังจะหลอกเด็กชายให้ขึ้นไปในโพรงไม้ที่มีงูเห่าซ่อนอยู่ เพื่อให้งูเห่ากัดเด็กชาย แล้วหมอจะได้รักษาเด็กชายและได้ค่ารักษาเป็นรางวัล

หมอผู้โชคร้าย

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารถพระเทวทัตผู้ไม่อาจทำความสะดุ้งกลัวแก่พระองค์ได้จึงตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นลูกชายพ่อค้าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเด็กมีอายุได้ 7-8 ขวบ วันหนึ่ง ขณะกำลังเล่นอยู่ใต้ต้นไทรหน้าบ้านกับเพื่อนวัยเดียวกันนั้นเอง มีหมอร่างกายพิการคนหนึ่งไม่ได้ทำงานอะไร จึงเดินออกจากบ้านมาพบเด็กกำลังเล่นอยู่ เหลือบไปเห็นงูตัวหนึ่งโผล่หัวออกมาจากโพรงไม้ คิดวางแผนไว้ในใจว่า

“เราเดือดร้องเงินไม่มีใครว่าจ้างเราน่าจะล่อเด็กพวกนี้ให้งูกัด แล้วเราจะได้รักษามีเงินใช้” คิดได้แล้วก็เรียกเด็กลูกชายพ่อค้ามาหาแล้วพูดว่า

“หลานชาย.. เจ้าอยากได้นกสาลิกาไหม นั้นไงบนต้นไม้นั้น มันอยู่ในโพรงนั่นเอง”

ลูกชายพ่อค้าไม่รู้ว่ามันเป็นงู จึงปีนต้นไม้ขึ้นไปจับถูกคองู พอรู้ว่ามันเป็นงูเห่าเท่านั้นก็รีบเหวี่ยงทิ้งไป บังเอิญว่างูนั้นถูกเหวี่ยงไปทางหมอร่างกายพิการคนนั้นพอดี งูรัดคอและก็กัดไปหลายทีพิษงูทำให้หมอนั้นล้มลงเสียชีวิตไปทันทีอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถเยียวยาได้ทัน เสร็จแล้วงูก็เลื้อยเข้าป่า ชาวบ้านต่างพากันมุงดูร่างกายของหมอที่นอนตายอย่างน่าสมเพช

พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบแล้วจึงตรัสพระคาถาว่า

“ผู้ใดประทุษร้ายคนไม่ประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มีความผิด บาปย่อมกลับมาถึงคนพาลนั้นเองเอง เหมือนละอองฝุ่นที่บุคคลชัดไปทวนลม ย่อมกลับมากระทบเขาเอง ฉะนั้น”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัวอย่าคิดทำร้ายคนอื่น เพราะตนเองนั้นแหละจะเดือดร้อนเอง

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button