นิทานชาดก

นิทานชาดก : ค่าจ้างเรือ

นิทานชาดกเรื่อง “ค่าจ้างเรือ” เป็นนิทานที่สอนบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เรื่องนี้เล่าถึงคนแจวเรือคนหนึ่งที่เป็นคนพาลและขี้โกง เขามักเรียกเก็บค่าจ้างเรือจากผู้โดยสารหลังจากที่พาผู้โดยสารข้ามฟากไปแล้ว เมื่อผู้โดยสารไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง เขาก็จะทะเลาะและทำร้ายผู้โดยสาร

Advertisement

ค่าจ้างเรือ

ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภคนแจวเรือประจำท่าคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษี บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลาช้านาน คิดอยากจะโปรดญาติโยม จึงเข้าไปเที่ยวภิกขาจารในเมืองพาราณสี พระราชาทรงเลื่อมใสแล้วนิมนต์ให้จำพรรษาในสวนหลวงเพื่อถวายทาน พระราชาจะเสด็จไปฟังธรรมวันละครั้ง ฤๅษีมักจะให้โอวาทเป็นประจำว่า “มหาบพิตร พระราชาไม่ควรมีอคติ 4 อย่าง เป็นผู้ไม่ประมาทสมบูรณ์ด้วยขันติ มีเมตตากรุณา ครองราชย์โดยธรรม ที่สำคัญพระองค์อย่างทรงโกรธเป็นอันขาด ไม่ว่าในที่ไหน ๆ จะเป็นในบ้านในป่าหรือที่ลุ่มที่ดอนก็ตาม ถ้าทำได้พระองค์จะเป็นที่รักของทวยราษฎร์ตลอดไป” พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่ง จึงถวายหมู่บ้านชั้นดีที่เก็บเงินส่วยภาษีได้ปีละ 100,000 กหาปณะให้ 1 ตำบล แต่ฤๅษีไม่รับเพราะถือเป็นกิเลส จนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาวันหนึ่ง ฤๅษีคิดจะเดินทางไปโปรดญาติโยมที่อื่นบ้างจึงไม่ได้เข้าเฝ้าทูลลาพระราชา เพียงบอกให้คนเฝ้าสวนหลวงไปกราบทูลให้ทรงทราบ แล้วก็ออกเดินทางไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ที่ท่าเรือมีคนแจวเรือไปส่งคนข้ามฟากแล้ว่ค่อยคิดเงินค่าจ้างเอาตามใจชอบ เมื่อลูกค้าไม่ให้ก็มักจะมีเรื่องทะเลาะชกต่อยและขู่เอาเงินค่าจ้างจากผู้โดยสารอยู่เป็นประจำ

ฤๅษีเมื่อไปถึงท่าเรือแล้วก็ขอใช้บริการเรือจ้างของนายอาวาริย์ปิตานั้น เขาถามขึ้นด้วยอาการเกียจคร้านว่า “ท่านจะให้ค่าจ้างเรือผมเท่าไรละ?” “โยม..อาตมาจะให้ของดีทำให้ร่ำรวยทรัพย์แก่ท่าน” ฤๅษีตอบเขาฟังแบบงง ๆ ว่าจะได้อะไรกันแน่ จึงพาฤๅษีข้ามฟากไป พอถึงฝั่งที่หมายแล้ จึงพูดขึ้นอีกว่า “ท่านจ่ายค่าจ้างด้วยครับ” ฤๅษีจึงบอกของดีเป็นธรรมโอวาทว่า “โยม..ขอค่าจ้างกับคนที่ยังไม่ข้าไปฝั่งโน้นก่อนสิ เพราะจิตใจของคนที่ข้ามฟากแล้วกับคนที่ยังไม่ได้ข้ามต่างกัน โยม.. ขอท่านจงอย่าโกรธนะ ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีนะโยม” เขาถามว่า “สมณะ นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านให้ผม”

Advertisement

ฤๅษี : “ใช่ละ โยม”
คนแจวเรือ : “ไม่ได้ ต้องเป็นเงินสิ”
ฤๅษี : “โยม..นอกจากโอวาทนี้แล้ว อาตมาไม่มีอย่างอื่น” เขาโกรธมากพร้อมกับตวาดว่า “เมื่อไม่มีเงินแล้ว ลงเรือผมมาทำไม”

ผลักฤๅษีให้ล้มลงแล้วนั่งทับอกตบปากท่านหนึ่งดี ขณะนั้นภรรยาของเขาซึ่งกำลังท้องแก่ได้ถืออาหารมาส่งเขา จำฤๅษีนั้นได้จึงร้องห้ามบอกสามีว่า “พี่.. ฤๅษีนี่ประจำอยู่ราชสำนักนะพี่อย่าตีท่านนะ” เขากำลังอยู่ในอารมณ์โกรธจึงลุกขึ้นตบภรรยาโดยแรง ถาดข้าวแตกกระจาย ภรรยาล้มลงกระแทกพื้นดินทำให้ลูกทะลักออกมาทันที

ชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้นต่างมายืนมุงดูและช่วยกันจับมัดเขาไว้เพราะนึกว่าเป็นโจรฆ่าคนตาย นำไปถวายพระราชา เขาถูกวินิจฉัยให้จำคุกตลอดชีวิต

พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบแล้วได้ตรัสให้โอวาทภิกษุว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะให้โอวาทควรให้แก่คนที่เหมาะสมไม่ควรให้แก่คนที่ไม่เหมาะสม ดังฤๅษีให้โอวาทแก่พระราชาได้ หมู่บ้านชั้นดี แต่ให้โอวาทแก่คนแจวเรือจ้างกลับถูกตบปาก ฉะนั้น”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

จะกล่าวสอนใครควรดูความเหมาะสม เพราะคนพาลย่อมไม่ยินดีในธรรมเป็นพาลทุกเมื่อ

Advertisement

อ่านต่อ
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button