นิทานชาดก

นิทานชาดก : คุณธรรมของหัวหน้า

คุณเคยสงสัยไหมว่าผู้นำที่ดีควรเป็นอย่างไร? นิทานชาดกเรื่อง “คุณธรรมของหัวหน้า” บอกเล่าเรื่องราวของพญาลิงที่เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องฝูงลิงของเขา เรื่องราวนี้สอนให้เรารู้ว่าผู้นำที่ดีต้องมีความเสียสละ มีเมตตา และกล้าหาญ

คุณธรรมของหัวหน้า

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระญาติของพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพญาลิง มีพละกำลังมากเท่า ช้าง 5 เชือก มีลิงบริวารประมาณ 80,000 ตัว อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ในที่ไม่ไกลจากนั้น มีต้นมะม่วงต้นใหญ่สูงเทียมยอดเขาต้นหนึ่ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีผลอร่อย หวานหอมคล้ายผลไม้ทิพย์ มีผลโตเท่าหม้อ ผลมะม่วงส่วนหนึ่งหล่นลงบนบก อีกส่วนหนึ่งหล่นลงแม่น้ำ

เมื่อมะม่วงมีผล พญาลิงจะพาบริวารมาเก็บกินผลมะม่วงเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยจึงให้บริวารเก็บผลมะม่วงจากกิ่งที่ยื่นไปในน้ำก่อนโดยไม่ให้มีผลเหลือแม้แต่ผลเดียว แต่บังเอิญว่ามีผลมะม่วงสุกเหลืออยู่ลูกหนึ่งเพราะมดแดงไปทำรังครอบมันไว้จึงรอดพ้นจากสายตาลิงไปได้ ผลมะม่วงสุกนั้นได้หล่นลงน้ำ ลอยไปติดข่ายของพระราชาเมืองพาราณสีที่ทรงให้ขึงไว้เพื่อทรงเล่นน้ำ

พวกทหารได้กู้ข่ายขึ้นเห็นผลมะม่วงใหญ่โตขนาดนั้น จึงตรัสถามว่า “นี่มันผลอะไรกัน” ทหาร “ไม่ทราบพระเจ้าข้า” เมื่อนายพรานป่าเข้าเฝ้าและทูลว่าเป็นผลมะม่วงจึงทรงเฉือนผลมะม่วงชิมดู รสของผลมะม่วงสุกแผ่ซาบซ่านไปทั่วกาย ทำให้พระราชาติดพระทัยในผลมะม่วง จึงถามถึงที่อยู่ของต้นมะม่วงนั้น เมื่อนายพรานกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว รับสั่งให้ต่อเรือและได้เสด็จทวนกระแสน้ำขึ้นไปตามทางที่นายพรานป่าชี้แนะ เมื่อถึงแล้วรับสั่งให้จอดเรือไว้ที่แม่น้ำ เสวยมะม่วงสุกแล้วก็เข้าที่บรรทมที่โคนต้นมะม่วงนั้น เสวยมะม่วงสุกแล้วก็เข้าที่บรรทมที่โคนต้นมะม่วงนั้น ตกกลางคืนทหารก่อกองไฟทุกทิศ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเฝ้าเวรยาม

เมื่อตกดึกพวกมนุษย์หลับหมดแล้ว พญาลิงก็พาบริวารไต่กิ่งไม้มากินผลมะม่วงจากกิ่งนั้นไปกิ่งนี้ พระราชาทรงตื่นจากบรรทม เห็นฝูงลิงนั้นเข้าจึงปลุกให้ทหารตื่นขึ้นรับสั่งพลแม่นธนูว่า “พรุ่งนี้เช้า สูเจ้าจงพากันยิงลิงฝูงนี้ อย่าให้มันหนีรอดไปได้ สักตัวเดียวนะ” พลธนูรับราชโองการแล้วรายล้อมต้นมะม่วงอยู่ฝูงลิงเห็นผู้คนถืออาวุธก็พากันกลัวตาย เข้าไปปรึกษาพญาลิงว่า “สูอย่ากลัวไปเลยเราจักหาวิธีช่วยชีวิตเจ้าเอง” ว่าแล้วก็วิ่งกระโดดจากกิ่งมะม่วงที่ชี้ตรงไปทางแม่น้ำระยะทางประมาณ 100 คันธนูลงที่ต้นไม้ต้นหนึ่งเข้ากับต้นไม้นั้น อีกด้านหนึ่งผูกสะเอวของตน กระโดดกลับไปที่ต้นมะม่วงนั้น ปรากฎว่าเครือหวายถึงพอดีไม่สามารถจะผูกกับต้นมะม่วงได้ จึงใช้มือทั้งสองยึดกิ่งมะม่วงไว้แน่น แล้วให้สัญญาณแก่บริวารว่า “สูเจ้าจงเหยียบหลังเรา ไต่หนีไปโดยเร็ว”

ฝูงลิงได้ขอขมาพญาลิงแล้วรีบไต่ไปโดยเร็ว สมัยนั้นพระเทวทัตเกิดเป็นลิงหนึ่งในฝูงลิงนั้นด้วย ได้โอกาสทำร้ายพญาลิงจึงไปเป็นตัวสุดท้าย ขึ้นไปอยู่บนยอดมะม่วงแล้วกระโดดลงมาเหยียบพญาลิงอย่างแรงแล้วรีบวิ่งไต่ไป สร้างความเจ็บปวดแก่พญาลิงเป็นอย่างมาก

พญาลิงบาดเจ็บไม่สามารถจะไปได้ยังคงยึดกิ่งไม้อยู่อย่างนั้นเอง พระราชาทอดพระเนตรเห็นกริยาของลิงทั้งหมดแล้วทรงพอพระทัยในพญาลิงที่มีเมตตาต่อบริวารไม่คำนึงถึงชีวิตของตนเมื่อสว่างแล้วจึงรับสั่งให้นำพญาลิงลงมาทำการรักษา บำรุงด้วยน้ำอ้อย ทาน้ำมันบนหลังให้มันนอนบนที่นอนแล้ว ตรัสว่า “เจ้าลิง เจ้าได้ทอดตัวเป็นสะพานให้ฝูงลิงข้ามไปได้ เจ้าเป็นอะไรกับฝูงลิงและฝูงลิงเป็นอะไรกับเจ้า” พญาลิงตอบว่า

“มหาราชเจ้า เราเป็นพญาลิงปกครองฝูงลิงทั้งหมด เมื่อพวกเขาตกอยู่ในอันตรายเราจึงต้องนำความสุขมาให้แก่บริวารผู้อยู่ภายใต้การปกครองธรรมดากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ ควรแสวงหาความสุขให้แก่รัฐ และทวยราษฎร์ทั่วกัน” เมื่อกล่าวจบก็สิ้นในตาย

พระราชาตรัสเรียกอำมาตย์มาแล้วมอบให้ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพแก่พญาลิงทำนองเดียวกับถวายพระเพลิง แก่พระราชา และรับสั่งให้นางสนมประดับชุดห้อมล้อมพญาลิงไปป่าช้า อำมาตย์ไปประกอบพิธีเผาศพพญาลิงเสร็จแล้ว นำกระโหลกหัวพญาลิงไปเลี่ยมด้วยทองคำสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่ประตูพระราชวัง พระราชารับสั่งให้ทำการบูชาธาตุของลิงตลอด 7 วัน บำเพ็ญเพียรอยู่ในโอวาทของพญาลิงตราบเท่าชั่วชีวิต

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

เป็นผู้นำคนต้องรู้จักเสียสละความสุขเพื่อบริวารเป็นสำคัญ

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button