นิทานชาดก

นิทานชาดก : นาคกับพญาครุฑ

นาคกับพญาครุฑ เป็นนิทานชาดกที่เล่าถึงความขัดแย้งระหว่างสองเผ่าพันธุ์ที่มีนิสัยแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่งคือนาคที่อาศัยอยู่ในน้ำและชอบเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ส่วนอีกฝ่ายคือพญาครุฑที่อาศัยอยู่บนฟ้าและชอบกินเนื้อสัตว์ ทั้งสองเผ่าพันธุ์ต่างก็มองว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูและพร้อมที่จะทำร้ายกันเสมอ

นาคกับพญาครุฑ

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตผู้พูดมุสาแล้วถูกแผ่นดินสูบ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพ่อค้าชาวเมืองพาราณสีประมาณ 500 คน แล่นสำเภาไปในมหาสมุทรเพื่อไปค้าขายเมือง อื่น ในวันที่ 7 สำเภาถูกพายุกระหน่ำล่มกลางทะเล ผู้คนล้มตาย เป็นเหยื่อของปลาหมดหลงเหลือเพียงชายคนหนึ่งถูกลมพัดกระหน่ำไปขึ้นที่ฝั่งท่าน้ำกทัมพิยะ เสิ้อผ้าไม่มี เปลือยกายล่อนจ้อน เดินเที่ยวขอทานอยู่

พวกชาวบ้านพบเห็นเขาก็พากันยกย่องเขาว่าเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นนักบวช จึงพากันสักการะบูชาเขาเป็นการใหญ่ นับตั้งแต่วันนั้นมาเขาเองก็ไม่ปรารถนาจะนุ่งห่มเสื้อผ้าได้ลาภสักการะจำนวนมาก ถูกคนเรียกหาว่า กทัมพิยอเจลกะ (ชีเปลือยทัมพิยะ)

ในสมัยนั้น มีพญานาคตนหนึ่งชื่อบัณฑรกนาคราช และพญาครุฑตนหนึ่งจะพากันมาปรึกษาชีเปลือยนั้นอยู่เป็นประจำอยู่มาวันหนึ่งพญาครุฑมาหาชีเปลือยแล้วขอร้องว่า “ท่านขอรับพวกญาติของผมจำนวนมาก ตายเพราะจับพวกนาคโดยไม่ทราบสาเหตุ ขอความกรุณาจากท่านช่วยถามพญานาคให้ผมด้วยเถิด”

ชีเปลือยนั้นรับคำจะถามให้ เมื่อพญานาคมาหาจึงถามความนั้นพญานาคตอบว่า “ท่านขอรับเรื่องนี้เป็นความลับของพวกกระผม ถ้าผมบอกท่านเท่ากับผมนำความตายมาสู่ตนเอง และพวกญาติ จึงไม่ขอตอบได้ไหม”

ชีเปลือย “พญานาค เราจะไม่บอกใครหรอก ถามเพราะอยากจะทราบเท่านั้นเองละ จงบอกเถิด”

พญานาคตอบว่า “ผมบอกไม่ได้หรอกครับท่าน” ไหว้ชีเปลือยแล้วก็กลับไป ชีเปลือยถามเช่นนั้นอยู่ 2 วัน พญานาคก็ไม่ยอมบอกเช่นเดิม ในวันที่ 3 พญานาคพอถูกชีเปลือยถามอีกจึงกำชับชีเปลือยอย่าได้บอกใคร แล้วก็เล่าให้ฟังว่า “ท่านขอรับเพราะพวกกระผมกลืนกินก้อนหินทุกวันทำให้ตัวหนักนอนอยู่ เมื่อพวกครุฑมาจับที่หัวลากไป จึงถ่วงพวกครุฑจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก พวกครุฑมันโง่จึงจับที่หัว ถ้ามันจับหางของพวกเราหินก็จะไหลออกจากปากสามารถนำพวกเราไปได้ ความลับก็มีอยู่เท่านี้แหละท่าน” แล้วก็ลากลับไป

อีกวันต่อมา เมื่อพญาครุฑมาหาเปลือยผู้ทุศีลก็เล่าเรื่องนั้นให้ฟัง พญาครุฑจึงปรี่เข้าไปจับขนดหางพญานาคโผบินขึ้นสู่ท้องฟ้าไป พญานาคเมื่อทราบความลับถูกเปิดเผลแล้ว จึงคร่ำครวญว่า “ภัยเกิดจากตัวเองแท้ๆ ที่พูดพล่อยไม่ปิดบัง บอกความลับแก่ใคร จึงได้บอกออกไปน่าเจ็บใจจริง ๆ “

พญาครุฑพูดว่า “ท่านนาคราช ท่านบอกความลับแก่ชีเปลือยแล้ว จะมาคร่ำครวญอยู่ทำไม สัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีในโลกขึ้นชื่อว่าความลับไม่ควรบอกใครๆ ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา พี่น้องแม้กระทั่งภรรยาและบุตรธิดา” แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

“บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์ เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ไม่เปิดเผยได้เป็นการดีบัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ศัตรู คนที่ใช้อามิสล่อ และคนผู้ล้วงความลับ”

พญานาคได้ฟังธรรมของพญาครุฑแล้วอ้อนวอนขอชีวิตว่า “ท่านพยาครุฑ ข้าพเจ้าขอชีวิตจากท่าน ขอท่านจงตั้งตนดุจเป็นมารดาของข้าพเจ้าเถิด”

พญาครุฑตอบว่า “เอาเถอะ เราจะปล่อยท่านไป แต่ว่า บุตรมี 3 จำพวก คือ ศิษย์ บุตรบุญธรรม และบุตรตัวเอง ท่านยินดีจะเป็นบุตรประเภทไหนของเราละ” ว่าแล้วก็ปล่อยพญานาคไป สัตว์ทั้ง 2 ก็อยู่กันอย่างสามัคคีกันเช่นเดิม

ต่อมาวันหนึ่งสัตว์ทั้ง 2 ได้ชวนกันไปหาชีเปลือยอีก พญาครุฑทราบว่าพญานาคจักหมายชีวิตชีเปลือย จึงไม่เข้าไปหาปล่อยให้แต่พญานาคผู้เดียวเข้าไปหาชีเปลือยนั้น พญานาคได้กล่าวติเตียนและสาบแช่งชีเปลือยว่า “ท่านเป็นคนเลวทรามประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ไม่รักษาคำสัตย์ ขอให้หัวของท่านจงแตกเป็น 7 เสี่ยง” กล่าวจบก็พากันกลับไปที่อยู่ของตนส่วนชีเปลื่อยพอสัตว์ทั้ง 2 จากไปเท่านั้น หัวก็แตกออกเป็น 7 เสี่ยงสิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในนรก

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ความลับไม่ควรเปิดเผยให้ใครที่ไหนทราบดังคำมีว่า ความลับไม่ให้ถึงสาม ความงามไม่ให้ถึงสี่ ความมิดความหมี่ไม่ให้ถึงห้าถึงหก

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button