นิทานชาดก

นิทานชาดก : คนระลึกชาติได้

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราถึงรู้สึกผูกพันกับใครบางคนตั้งแต่แรกเห็น หรือทำไมถึงรู้สึกคุ้นชินกับสถานที่แห่งหนึ่งทั้งที่ไม่เคยไปมาก่อน นิทานชาดกเรื่อง “คนระลึกชาติได้”

บอกเล่าเรื่องราวของพราหมณ์ผู้หนึ่งที่สามารถระลึกชาติได้ เขาได้พบพระพุทธเจ้าและจดจำชาติก่อนของตนได้ว่าเป็นลูกของพราหมณ์ผู้นี้ เรื่องราวสุดประทับใจนี้สอนให้เรารู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคนเราไม่ได้เริ่มต้นเพียงแค่ชาตินี้เท่านั้น แต่มีมายาวนานนับชาติภพ

คนระลึกชาติได้

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดอัญชนวัน เมืองสาเกต ทรงปรารภพราหมณ์ผู้หนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า …

เช้าตรู่วันหนึ่ง พระพุทธองค์ พร้อมหมู่ภิกษุสงฆ์ ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาเกตพบพราหมณ์ผู้หนึ่งเดินสวนไปนอกเมือง แล้วกรูเข้ามาหมอบแทบเท้าจับข้อเท้าไว้แน่นแล้วพลางกล่าวว่า

“ลูก ธรรมดาบุตร ต้องปรนนิบัติมารดาบิดา ในยามแก่ชรามิใช่หรือ ทำไม ลูกจึงไม่มาเยี่ยมเราเลย ไป พ่อจะพาไปพบแม่เจ้า”

แล้วจึงนำไปเรือนของตน

พระพุทธองค์ประทับนั่งเหนืออาสนะพร้อมภิกษุสงฆ์ นางพราหมณีมาหมอบแทบเท้าแล้วร่ำไห้คร่ำครวญเช่นกันกับพราหมณ์แล้วแนะนำให้บุตรธิดาไหว้พี่ชาย วันนั้น ครอบครัวของพราหมณ์ได้ถวายมหาทานแก่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ได้ตรัสชราสูตรทำให้พราหมณ์ทั้งสองเป็นอนาคามีแล้วเสด็จกลับวัด

ตอนเย็นพวกภิกษุตั้งความสงสัยว่า

“ทำไม พราหมณ์ทั้งสองจึงเรียกตนเองว่า เป็นพ่อเป็นแม่ของพระตถาคต”

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

“พราหมณ์เคยเป็นพ่อของเรา 500 ชาติ เป็นอา 500 ชาติ เป็นปู่ 500 ชาติ นางพราหมณีเคยเป็นมารดาของเรา 500 ชาติ เป็นน้า 500 ชาติ เป็นย่า 500 ชาติติดต่อกันไม่ขาดสาย”

แล้วได้ตรัสพระคาถาว่า

“บุคคลมีจิตใจจดจ่อและเลื่อมใสอยู่ในผู้ใด บุคคลพึงคุ้นเคยสนิทสนมในผู้นั้น แม้ทั้ง ๆ ที่ ไม่เคยเห็นกันมาก่อนเลย”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนจะเป็นญาติมิตรสหายกันเป็นเรื่องอดีตชาติแต่ปางก่อน

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button