สุขภาพ

เตือน 6 โรคที่มากับน้ำท่วมและหลังน้ำลด

โรคที่มากับน้ำท่วม

ในช่วงภาวะน้ำท่วมเราจะต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพหลายด้าน ทั้งนี้เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วม แหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคจะปนเปื้อน กระแสน้ำจะพาสิ่งสกปรก เชื้อโรค ของเสียที่เคยถูกเก็บในที่มิดชิดกระจายเป็นวงกว้าง น้ำท่วมทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนจึงมีโอกาสเกิดโรคระบาดได้ง่าย โรคหลายชนิดที่เกิดจากยุงเป็นพาหะมีโอกาสระบาดสูงขึ้นใช่วงน้ำท่วม

Advertisement

โรคไข้ฉี่หนู

โรคไข้ฉี่หนู

โรคฉี่หนู, ไข้ฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (leptospirosis) เป็นโรครับจากสัตว์ชนิดหนึ่ง สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น แต่พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง​​

อาการโรคไข้ฉี่หนู

อาการและอาการแสดงของโรคเล็ปโตสไปโรซิสนั้นมีได้ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยจนถึงมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต กว่า 90% ของผู้มีอาการจะมีอาการเล็กน้อยและมักเป็นแบบไม่เหลือง ส่วนเล็ปโตสไปโรซิสที่มีอาการรุนแรงนั้น พบได้ 5-10% ของผู้ติดเชื้อ

โรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง (anicteric leptospirosis) แบ่งเป็น 2 ระยะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

ระยะมีเชื้อในเลือด (leptospiremic phase) ระยะนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งในโรคเล็ปโตสไปโรซิสจะมีลักษณะเฉพาะคือ ปวดบริเวณน่อง หลัง และหน้าท้อง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการปวดศีรษะมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าหรือหลังเบ้าตา อาการอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ เจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก ผื่น สับสน ไอเป็นเลือด อาการแสดงที่อาจตรวจพบ ได้แก่ เยื่อบุตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต คอแดง กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ตับม้ามโต อาจพบอาการดีซ่านได้เล็กน้อย อาการในระยะนี้จะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ช่วงที่ไม่มีอาการจะนาน 1-3 วัน ก่อนจะเข้าสู่ระยะที่สอง

ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) ระยะนี้เป็นผลมาจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการและอาการแสดงมีความจำเพาะและความรุนแรงน้อยกว่าในระยะแรก ลักษณะที่สำคัญของโรคในระยะนี้คือ กว่า 15% ของผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไร้เชื้อ (aseptic meningitis) ส่วนใหญ่พบในเด็ก ซึ่งอาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ มักเกิดตามหลังอาการเริ่มแรกของโรคนานหลายเดือน และคงอยู่ได้นานเป็นปี

โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง (severe leptospirosis)

โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง หรือกลุ่มอาการเวล (Weil’s Syndrome) กลุ่มอาการนี้มีอัตราการตายอยู่ที่ประมาณ 5-15% พบได้เป็นพิเศษในการติดเชื้อในซีโรวาร์ อิกเทอโรฮีมอราเจียอี/โคเปนเฮเกไน (icterohaemorrhagiae/copenhageni) อาการในระยะเริ่มแรกไม่ต่างจากโรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง แต่ไม่มีลักษณะที่แบ่งออกเป็นสองระยะชัดเจน มักแสดงอาการรุนแรงใน 4-9 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ประกอบด้วย

  • อาการดีซ่าน ที่พบในกลุ่มอาการเวล จะมีลักษณะเหลืองมากจนแทบเป็นสีส้มเมื่อสังเกตทางผิวหนัง มักพบตับโตร่วมกับกดเจ็บ ประมาณ 20% ของผู้ติดเชื้อมีอาการม้ามโตร่วมด้วย มีไม่มากนักที่เสียชีวิตจากภาวะตับวาย
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • อาการทางปอด เช่น ไอ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย จนถึงระบบหายใจล้มเหลว
  • ความผิดปกติทางระบบการแข็งตัวของเลือด มีตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อย เช่น เลือดกำเดา จ้ำเลือดตามผิวหนัง ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น
  • อาการอื่น ๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อลายสลายตัว เม็ดเลือดแดงแตก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอ่อนอักเสบรุนแรง ภาวะการทำงานของอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ เป็นต้น

กาดูแลตนเองเบื้องต้น

หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ น้ำโคลน นาน ๆ ควรสวมรองเท้า หรือรองเท้าบู๊ทที่เหมาะสม เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด ซับให้แห้ง

โรคอุจจาระร่วง

โรคอุจจาระร่วง

อาการท้องร่วง (diarrhea หรือ diarrhoea) เป็นภาวะมีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำอย่างน้อยสามครั้งต่อวัน มักกินเวลาไม่กี่วันและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจากการเสียสารน้ำ อาการแสดงของภาวะขาดน้ำมักเริ่มด้วยการเสียความตึงตัวของผิวหนังและบุคลิกภาพเปลี่ยน ซึ่งสามารถลุกลามเป็นการถ่ายปัสสาวะลดลง สีผิวหนังซีด อัตราหัวใจเต้นเร็ว และการตอบสนองลดลงเมื่อภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างไรก็ดี อุจจาระเหลวแต่ไม่เป็นน้ำในทารกที่กินนมแม่อาจเป็นปกติ

อาการโรคอุจจาระร่วง

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อของลำไส้อาจเนื่องจากไวรัส แบคทีเรียหรือปรสิต เป็นภาวะที่เรียก กระเพาะและลำไส้เล็กอักเสบ (gastroenteritis) การติดเชื้อเหล่านี้มักได้รับจากอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ หรือโดยตรงจากบุคคลอื่นที่ติดเชื้อ อาการท้องร่วงอารจแบ่งได้เป็นสามประเภท คือ อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้น อาการท้องร่วงเป็นเลือดระยะสั้น และหากกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์จะเป็นอาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้นอาจเนื่องจากการติดเชื้ออหิวาตกโรคซึ่งพบยากในประเทศพัฒนาแล้ว หากมีเลือดอยู่ด้วยจะเรียก โรคบิด อาการท้องร่วงมีบางสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อซึ่งมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส (แพ้นม) โรคลำไส้อักเสบ ยาจำนวนหนึ่ง และกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น ในผู้ป่วยส่วนมาก ไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้ออุจจาระเพื่อยืนยันสาเหตุแน่ชัด

การป้องกันอาการท้องร่วงจากการติดเชื้อทำได้โดยปรับปรุงการสุขาภิบาล มีน้ำดื่มสะอาดและล้างมือด้วยสบู่ แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือนเช่นเดียวกับการรับวัคซีนโรตาไวรัส สารน้ำเกลือแร่ (ORS) ซึ่งเป็นน้ำสะอาดที่มีเกลือและน้ำตาลปริมาณหนึ่ง เป็นการรักษาอันดับแรก นอกจากนี้ยังแนะนำยาเม็ดสังกะสี มีการประเมินว่าการรักษาเหล่านี้ช่วยชีวิตเด็ก 50 ล้านคนใน 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อบุคคลมีอาการท้องร่วง แนะนำให้กินอาหารเพื่อสุขภาพและทารกกินนมแม่ต่อไป หากหา ORS พาณิชย์ไม่ได้ อาจใช้สารละลายทำเองก็ได้ ในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ ทว่า ผู้ป่วยส่วนมากสามารถรักษาได้ดีด้วยสารน้ำทางปาก แม้ว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะน้อย แต่อาจแนะนำให้ผู้ป่วยซึ่งมีอาการท้องร่วงเป็นเลือดและไข้สูง ผู้ที่มีอาการท้องร่วงรุนแรงหลังท่องเที่ยว และผู้ที่เพาะแบคทีเรียหรือปรสิตบางชนิดขึ้นในอุจจาระ โลเพอราไมด์อาจช่วยลดจำนวนการถ่ายอุจจาระ แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยรุนแรง

มีผู้ป่วยอาการท้องร่วงประมาณ 1,700 ถึง 5,000 ล้านคนต่อปี พบมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเด็กเล็กมีอาการท้องร่วงโดยเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการประเมินยอดผู้เสียชีวิตจากอาการท้องร่วง 1.26 ล้านคนในปี 2556 ลดลงจาก 2.58 ล้านคนในปี 2533 ในปี 2555 อาการท้องร่วงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดอันดับสองในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (0.76 ล้านคนหรือ 11%) คราวอาการท้องร่วงบ่อยยังเป็นสาเหตุทุพโภชนาการที่พบมากและเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในเด็กอายุน้อยกว่าห้าปี ปัญหาระยะยาวอื่นซึ่งอาจเกิดได้มีการเติบโตช้าและพัฒนาการทางสติปัญญาไม่ดี

กาดูแลตนเองเบื้องต้น

ควรดื่มน้ำให้มาก และทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ดื่มเกลือแร่หรือสายละลายน้ำเกลือแร่ หบีกเลี่ยงการใช้ยาหยุดถ่าย เพราะจะทำให้ลำไส้เก็บกักเชื้อโรคไว้นาน หากมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมาก มีไข้สูง ชัก ควรพบแพทย์โดยเร็ว

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

ไข้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้

ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะวัคซีนในทางพาณิชย์ยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้

ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1779 ส่วนไวรัสที่เป็นสาเหตุและกลไกการติดต่อนั้นค้นพบเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ไข้เลือดออกได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งทั่วโลก มีประเทศที่เป็นพื้นที่ระบาดมากกว่า 110 ประเทศ ปัจจุบันนอกจากความพยายามลดจำนวนยุงแล้วยังมีความพยายามพัฒนาวัคซีนและยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงกับไวรัสด้วย

อาการโรคไข้เลือดออก

ผู้ติดเชื้อไวรัสเด็งกีส่วนใหญ่ไม่มีอาการ (80%) หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น เป็นไข้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ อีกส่วนหนึ่งมีอาการรุนแรงกว่า (5%) และเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาการรุนแรงมากจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ 3-14 วัน แต่ส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 วัน ดังนั้นสำหรับคนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ระบาด แต่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาด และเมื่อเดินทางกลับแล้ว มีไข้ตั้งแต่หลังวันที่ 14 มีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นไข้เลือดออกเด็งกี ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่ต่างจากหวัดหรือกระเพาะอาหารกับลำไส้อักเสบ (ท้องร่วงและอาเจียน) แต่มีโอกาสป่วยหนักได้มากกว่าผู้ใหญ่ แม้อาการระยะแรกจะค่อนข้างไม่รุนแรง แต่จะมีไข้สูงด้วย

กาดูแลตนเองเบื้องต้น

ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวลดไข้ กินยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน จะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน โดยการทายากันยุง

โรคตาแดง

โรคตาแดง

เยื่อตาอักเสบ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ตาแดง คือการอักเสบของเยื่อตา (เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของนัยน์ตาและอยู่ใต้เปลือกตา) สาเหตุอาจเกิดจากอาการแพ้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่นัยน์ตาซึ่งอาจสามารถหายไปได้เอง หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถเป็นโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ ลักษณะอาการคือมีเส้นเลือดฝอยปรากฏชัดเป็นส่วนมากในนัยน์ตา อาจมีการระคายเคืองและตาแฉะร่วมด้วย

อาการโรคตาแดง

โรคตาแดงมักเกิดในช่วงฤดูฝน เชื้อไวรัสมักปนเปื้อนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง ในฤดูฝนจะพบผู้ติดเชื้อโรคตาแดงเป็นจำนวนมาก หลังรับเชื้อจะมีอาการเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก

กาดูแลตนเองเบื้องต้น

เมื่อมีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา ล้างด้วยน้ำสะอาด ไม่ขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา และไม่ควรใช้สายตามาก

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาการอาจมีได้ตั้งแต่เบาถึงรุนแรง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอ จามและรู้สึกเหนื่อย ตรงแบบอาการเหล่านี้เริ่มสองวันหลังสัมผัสไวรัสและส่วนใหญ่กินเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ทว่า อาการไออาจกินเวลานานเกินสองสัปดาห์ได้ ในเด็ก อาจมีอาการท้องร่วงและอาเจียนด้วย แต่พบน้อยในผู้ใหญ่ อาการท้วงร่วงและอาเจียนพบบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นคนละโรคกัน ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจได้แก่ ปอดบวมไวรัส, ปอดบวมแบคทีเรียทุติยภูมิ, โพรงอากาศติดเชื้อ, และการทรุดของปัญหาสุขภาพเดิมอย่างโรคหืดหรือภาวะหัวใจวาย

อาการโรคไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่สามารถเริ่มได้เฉียบพลันหนึ่งถึงสองวันหลังติดเชื้อ ปกติอาการแรก ได้แก่ หนาวสั่นและปวดตามตัว แต่ไข้ก็พบได้บ่อยในช่วงแรก โดยมีอุณหภูมิกายในช่วงตั้งแต่ 38 to 39 °ซ หลายคนป่วยจนนอนซมหลายวัน โดยมีอาการเจ็บปวดทั่วกาย ซึ่งปวดที่หลังและขามากกว่าที่อื่น

กาดูแลตนเองเบื้องต้น

ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จามหรือสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

โรคปอดบวม

โรคปอดบวม

โรคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส” (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน

อาการโรคปอดบวม

ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ

กาดูแลตนเองเบื้องต้น

ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee