สุขภาพ

7 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ จากภัยแล้ง

เฝ้าระวัง 7 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ในพื้นที่ภัยแล้ง กำชับ 3 หลักปลอดภัย “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” มาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้าง

7 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า “ลงราก” จึงเรียกโรคนี้ว่า “โรคลงราก” ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก “กลี” ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้

ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่วย

พ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคทั่วโลกประมาณ 3-5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 100,000-130,000 คนต่อปี โรคนี้เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อโรคแรก ๆ ที่มีการศึกษาด้วยวิธีทางระบาดวิทยา

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

โรคอุจจาระร่วง

อาการท้องร่วง (diarrhea หรือ diarrhoea) เป็นภาวะมีการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำอย่างน้อยสามครั้งต่อวัน มักกินเวลาไม่กี่วันและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำจากการเสียสารน้ำ อาการแสดงของภาวะขาดน้ำมักเริ่มด้วยการเสียความตึงตัวของผิวหนังและบุคลิกภาพเปลี่ยน ซึ่งสามารถลุกลามเป็นการถ่ายปัสสาวะลดลง สีผิวหนังซีด อัตราหัวใจเต้นเร็ว และการตอบสนองลดลงเมื่อภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างไรก็ดี อุจจาระเหลวแต่ไม่เป็นน้ำในทารกที่กินนมแม่อาจเป็นปกติ

โรคบิด

โรคบิด คือชื่อโรคชนิดหนึ่ง มี 2 ชนิด คือ บิดไม่มีตัว และ บิดมีตัว

อาการของบิดไม่มีตัว

  • ไม่มีอาการใดๆ เลย แต่จะรู้สึกไม่สบายท้อง เพราะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในลำไส้
  • มีอาการน้อย ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด และปวดบิดแต่ไม่มาก
  • มีอาการรุนแรง ปวดท้องบิดอย่างรุนแรง มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายมีมูกเลือดและหนองปน ถ่ายน้อยแต่บ่อยมาก ถ้าร่างกายอ่อนแอ อาจจะมีการช็อคได้
  • โรคแทรกซ้อน เชื้อโรคเข้าไปยังกระแสเลือด ทำให้เลือดนั้นเป็นพิษ อาจช็อคจนเสียชีวิตได้ ลำไส้ใหญ่มีการอักเสบอย่างรุนแรง เกิดอาการเสียน้ำอย่างมากจนช็อคและเสียชีวิตได้

อาการของบิดมีตัว

  • ไม่มีอาการใดๆ เลย แต่จะรู้สึกไม่สบายท้อง ถ้าไปตรวจจะพบอะมีบา Entamoeba histolytica ในอุจจาระ
  • มีอาการชนิดเฉียบพลัน ปวดบิด ถ่ายอุจจาระเหลว อุจจาระมีกลิ่นคล้ายหัวกุ้งเน่า อาการไม่แรงเท่าบิดไม่มีตัว ถ้าผู้ป่วยต้านทานโรคได้น้อย อาจจะมีไข้สูงและถ่ายเป็นมูกเลือดมาก
  • มีอาการชนิดเรื้อรัง เป็นผลจากบิดชนิดเฉียบพลัน แล้วรับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อะมีบาจึงตายไม่หมด ทำให้อาการไม่หายขาด และเป็นไปเรื่อย ๆ
  • โรคแทรกซ้อน ลำไส้เกิดการทะลุ เกิดแผลที่ลำไส้ใหญ่ เป็นฝีที่ตับ เพราะอะมีบาเข้าไปที่กระแสเลือดและไปยังตับอักเสบและเป็นฝี ฝีนี้อาจแตกทะลุไปยังปอด ทำให้เป็นฝีที่ปอดด้วย

โรคบิดอมีบา

บิดอะมีบาเป็นโรคที่ลำไส้ใหญ่มีอาการอักเสบ ต้นเหตุของอาการอักเสบดังกล่าวก็คือ เชื้ออะมีบาที่มีชื่อเรียกว่า “เอนตามีบา ฮีสโตลัยติกา” (Entamoeba histolytica)

โรคอาหารเป็นพิษ

ภาวะอาหารเป็นพิษ (foodborne illness, foodborne disease) เป็นความเจ็บป่วยใด ๆ อันเป็นผลมาจากการบริโภคอาหารปนเปื้อน แบคทีเรีย ไวรัสหรือปรสิตก่อโรค ซึ่งปนเปื้อนอาหาร ตลอดจนการได้รับชีวพิษเคมีหรือธรรมชาติ เช่น เห็ดพิษ

โรคไวรัสตับอักเสบเอ

ตับอักเสบจากไวรัสคือการอักเสบของตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังได้

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของตับอักเสบจากไวรัสที่พบบ่อยมี 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงทางสายพันธุ์ เพียงแต่ทำให้มีอาการตับอักเสบได้เหมือนกัน ไวรัสเหล่านี้ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี นอกจากนี้ยังมีไวรัสอื่นๆ ที่ทำให้เกิดไวรัสตับอักเสบได้ แต่ไม่ได้ถูกเรียกชื่อเป็นไวรัสตับอักเสบโดยเฉพาะ ไวรัสเหล่านี้ เช่น ซัยโตเมกาโลไวรัส เอพสไตน์บาร์ไวรัส ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกีที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก เป็นต้น

โรคไข้ไทฟอยด์

ไข้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever; Enteric fever) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhi พบได้ทั่วโลกโดยติดต่อผ่านทางการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้จะเจาะทะลุผนังลำไส้แล้วถูกจับกินโดยเซลล์แมโครฟาจ (macrophage) จากนั้นเชื้อ Salmonella typhi จะเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองเพื่อดื้อต่อการทำลายและสามารถหลบหนีออกจากแมโครฟาจได้ กลไกดังกล่าวทำให้เชื้อดื้อต่อการทำลายโดยแกรนูโลไซต์ ระบบคอมพลีเมนต์ และระบบภูมิคุ้มกัน จากนั้นเชื้อก่อโรคจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางน้ำเหลืองขณะที่อยู่ในเซลล์แมโครฟาจ ทำให้เชื้อเข้าสู่ระบบเรติคูโลเอนโดทีเลียม (reticuloendothelial system) และไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย

จุลชีพก่อโรคนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่งสั้น ซึ่งเคลื่อนที่โดยแฟลกเจลลัมหลายเส้น (peritrichous flagella) แบคทีเรียเจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิกาย 37 °C (99 °F)

การป้องกันโรค

  1. รับประทานอาการที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่รับประทานอาการค้างมื้อหรือควรอุ่นทุกครั้ง
  2. รับประทานกันเป็นกลุ่มควรมีช้อนกลางในการตักอาหาร
  3. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม
  4. ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำที่ต้มสุก น้ำบรรจุขวดที่มีฝาปิดสนิทหรือมีเครื่องหมาย อย.
  5. กำจัดขยะมูลฝอย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
  6. ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการปวดท้องเกร็ง และถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ การรักษาเบื้องต้น โดยกินน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ ห้ามกินยาหยุดถ่าย หากอาการไม่ดีขึ้น คลื่นไส้อาเจียนมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee