เรื่องน่าสนใจ

ไม้พยุง (Siamese Rosewood) ไม้ราคาแพงที่ใครก็ต้องการ

ไม้พยุง (Siamese Rosewood) เป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยุง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน

Advertisement
ไม้พยุง

ลักษณะไม้พยุง

พะยูงเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15–25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7–9 ใบ ขนาดกว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 4–7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4–6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1–4 เมล็ด

ประโยชน์ไม้พยุง

เนื้อไม้สีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก เนื้อละเอียด แข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด

ความเชื่อเรื่องไม้พยุง

ประเทศไทยมีความ เชื่อว่าบ้านใดปลูกพยุงไว้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือการประคับประคองให้คงอยู่ ให้มั่นคง หรือการยกให้สูงขึ้น ต้นพยุงจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร หรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่นพิธีก่อฤกษ์ หรือวางศิลาฤกษ์ การปลูกควรปลูกในวันเสาร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คนไทยจัด ลำดับ ไม้พยุง ให้อยู่ใน 9 ชนิดไม้มงคลที่ปลูกไว้ในบ้านคือ ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์, ทองหลวง, ไผ่สีสุก, กันเกรา, ทรงบาดาล, สัก, พะยูง, ขนุน

วิธีดูไม้พยุง

  1. ลวดลายและสีเฉพาะ ได้แก่ เส้นเขียวหรือ แถบเขียว คุณสมบัติข้อนี้คล้ายกับไม้ Brazilian Rosewood ที่มีเส้นหรือแถบเขียวเหมือนกันพอดี (ทั้งไม้พะยูงลาย พะยูงดำเท่านั้น จะปรากฏเส้น หรือแถบเขียว ส่วนพะยูงแดงรวมทั้งชิงชัน ยังไม่เคยเห็นเส้นหรือแถบเขียวปรากฎ)
  2. เนื้อไม้ของพะยูงลายและพะยูงดำ จะผสานกันเนียนละเอียดมองไม่เห็นลายเส้นไม้ ต่างจากชิงชันที่เนื้อหยาบไม่ผสานกันและมองเห็นลายเส้นไม้ (ทั้งนี้การจะเห็นลายละเอียดของเนื้อไม้ที่ชัดเจน ต้องส่องด้วยกล้องขยายขนาด15-20x เช่นที่ใช้ในการส่องพระนั่นเอง)
  3. เนื้อไม้พะยูงจะมีน้ำมัน พะยูงจะปรากฏเป็นสีดำคล้ำจากน้ำมันที่แตกตัว หรือ หากเราตัดปลายแผ่นไม้ตามหน้าตัดของปอร์ไม้ จะเห็นเป็นสีคล้ำจากน้ำมัน (จะเห็นชัดเมื่อทาด้วยน้ำ)
  4. กลิ่นของไม้พะยูง มีกลิ่นเฉพาะ ข้อนี้ต้องอาศัยประสบการณ์การดมกลิ่นบ่อย ๆ จนชินและจำกลิ่นของไม้

ราคาไม้พยุง

ราคาขายไม้พะยูง จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 800-1,000 บาท ลูกบาศก์เมตรละ 40,000 บาท หากขายในต่างประเทศ จะขยับเป็นลูกบาศก์เมตรละ 200,000 บาท หรือสูงกว่านั้น

Advertisement
ไม้พยุง
ภาพจาก 2131mine.blogspot.com

กฎหมายไม้พยุง

“พะยูง” เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 เช่นเดียวกับ ไม้ประดู่ ไม้สัก ไม้ยาง ที่จะต้องมีการขออนุญาตทำไม้ก่อน และแม้ว่า ในยุค พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ดำรงตำแหน่ง รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ ส่งผลให้ไม่มีการให้สัมปทานทำไม้อีก แต่โทษการลักลอบตัดไม้พะยูง ต้องโทษจำคุกเพียง 2-5 ปี ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประกอบกับค่าตอบแทนในการตัดและขายค่อนข้างสูง ซึ่งกรมป่าไม้เคยประเมินราคาว่า การรับซื้อไม้พะยูงในประเทศจีน เดิมลูกบาศก์เมตรละ 40,000 บาท แต่ปัจจุบันรับซื้อลูกบาศก์เมตรละ 80,000-100,000 บาท ทำให้ยังคุ้มที่จะเสี่ยงกระทำความผิด

“ไม้พะยูง” ไม้เศรษฐกิจ ที่รัฐสนับสนุน

“ไม้พะยูง” ไม้เศรษฐกิจ ที่รัฐสนับสนุน

ปลูกแล้วได้รับเงินอุดหนุน! องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ส่งเสริมให้ชาวเกษตรกรไทย มีการปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตัวเอง หรือที่ดินที่มีสิทธิ์ในการครอบครอง โดยใช้ประโยชน์ทางด้านกฎหมาย โดยไม้ที่ปลูกนั้นก็จะเป็นประเภทไม้โตเร็วและไม้โตช้า

สำหรับ “ไม้โตช้า” หมายถึง ไม้ที่มีอายุรอบตัดฟันมากกว่า 10 ปี เช่น สัก ประดู่ป่า ยางนา ตะเคียน เป็นต้น ทั้งนี้ ในการปลูกซึ่งเกษตรกรสามารถ ปลูกเป็นแปลง ปลูกบนคันนา ขอบแปลง ปลูกแทรก หรือปลูกเสริมในพื้นที่ทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ได้ จำนวน 100 ต้น/ไร่

โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายเงินลงทุนในการปลูกและบำรุงรักษาไม้โตช้า ในอัตรา 5,940.- บาท (ปีแรก 3,900.- บาท ปีที่ 2 และ 3 ปีละ 1,020.- บาท)

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button