วันสำคัญ

วันงดสูบบุหรี่โลก คําขวัญ กิจกรรม ประวัติบุหรี่

วันงดสูบบุหรี่โลก (WHO WORLD NO TOBACCO DAY) ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี มารู้จักกิจกรรมและคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกกัน

วันงดสูบบุหรี่โลก

วันงดสูบบุหรี่โลก

องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) ตั้งแต่ปี 2531 เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ ให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมและกระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย/กฏหมายเพื่อควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) วันงดสูบบุหรี่โลกครั้งแรก ใช้คำขวัญ “บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ”

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก

  • 2531 — บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ
  • 2532 — พิษของบุหรี่ต่อสตรี ยิ่งมีมากกว่าบุรุษ
  • 2533 — เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากภัยบุหรี่
  • 2534 — สถานที่สาธารณะและยวดยานปลอดบุหรี่
  • 2535 — ที่ทำงานปลอดบุหรี่ สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย
  • 2536 — บุคลากรสาธารณสุขร่วมสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่
  • 2537 — ทุกสื่อร่วมใจต้านภัยบุหรี่
  • 2538 — บุหรี่ก่อความสูญเสียมากกว่าที่คุณคิด
  • 2539 — ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่
  • 2540 — ผนึกกำลังเพื่อสังคมปลอดบุหรี่
  • 2541 — คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่
  • 2542 — อนาคตมีคุณค่า เมื่อบอกลา…เลิกบุหรี่
  • 2543 — บุหรี่คร่าชีวิต อย่าหลงผิดตกเป็นเหยื่อ
  • 2544 — เห็นใจคนรอบข้าง ร่วมสร้างอากาศสดใส ปลอดจากภัยควันบุหรี่
  • 2545 — กีฬาปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ
  • 2546 — ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อเยาวชน
  • 2547 — “บุหรี่ : ยิ่งสูบ…ยิ่งจน” ครอบครัวปลอดบุหรี่ จะมั่งมีและแข็งแรง
  • 2548 — ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่
  • 2549 — บุหรี่ทุกชนิดนำชีวิตสู่ความตาย
  • 2550 — ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส
  • 2551 — เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่
  • 2552 — เตือน! ควันบุหรี่ฆ่าคุณ
  • 2553 — หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่
  • 2554 — พิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย มุ่งสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่
  • 2555 — จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ
  • 2556 — ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต
  • 2557 — บุหรี่ ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด
  • 2560 — บุหรี่ภัยคุกคามต่อการพัฒนา
  • 2561 — บุหรี่ตัวร้ายทำลายหัวใจ

กิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก

  1. จัดทำชุดสื่อรณรงค์สร้างกระแส และชุดข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน
  2. จัดการแถลงข่าวประเด็น นักวิชาการรวมพลังร่วมประกาศเจตจำนงร่วมกันในการปกป้องเด็กไทยจากบุหรี่ รวมถึงศิลปินดารา
  3. กิจกรรมเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก มหกรรมสื่อเยาวชน การแสดงผลงานของเยาวชนที่ชนะการประกวดสื่อสร้างสรรค์วัยมันไร้ควันบุหรี่ นิทรรศการ มหกรรมสื่อเยาวชน
  4. การจัดนิทรรศการ วันงดสูบบุหรี่โลก โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนเครือข่ายให้ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์
บุหรี่

บุหรี่

บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา

ประวัติบุหรี่

ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ได้เริ่มต้นใช้ยาสูบเป็นพวกแรก โดยปลูกยาสูบเพื่อใช้เป็นยาและนำมาสูบในพิธีกรรมต่าง ๆ ในปี 2035 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือไปขึ้นฝั่งที่ซันซัลวาดอร์ ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส์นั้น ได้เห็นชาวพื้นเมืองนำเอาใบไม้ชนิดหนึ่งมามวนและจุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน ต่อมาปี 2091 มีการปลูกยาสูบในบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสในทวีปอเมริกาใต้ เพื่อเป็นสินค้าส่งออก เป็นผลให้ยาสูบแพร่หลายเข้าไปในประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ต่อมาในปี 2103 นายฌอง นิโกต์ (Jean Nicot) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศโปรตุเกส ได้ส่งเมล็ดยาสูบมายังราชสำนักฝรั่งเศส ชื่อของนายนิโกต์จึงเป็นที่มาของชื่อสารนิโคติน (Nicotin) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน ในปี 2107 เซอร์จอห์น ฮอคกินส์ (Sir John Hawkins) ได้นำยาสูบเข้าไปในประเทศอังกฤษ และในปี 2155 นายจอห์น รอลฟ์ (John Rolfe) ชาวอังกฤษ ประสบผลสำเร็จในการปลูกยาสูบเชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรก และ 7 ปีต่อมา ก็ได้ส่งออกผลผลิตไปยังประเทศอาณานิคมเป็นจำนวนมหาศาล อีก 200 ปีต่อมา การทำไร่ยาสูบเชิงพาณิชย์จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลก

ประเภทของบุหรี่

ประเภทของบุหรี่

บุหรี่มี 2 ชนิดคือ บุหรี่ที่มวนเอง และบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักร บุหรี่ที่มวนเอง ทำโดยใช้ใบตองแห้ง ใบบัว หรือกระดาษ ที่ใช้มวนห่อใบยาสูบ บุหรี่ชนิดนี้จะดับง่าย เนื่องจากไม่มีการปรุงแต่งสารเคมี ที่ช่วยให้ไฟติดทน สำหรับบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักรมี 2 ชนิด คือ บุหรี่ที่ไม่มีก้นกรอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ราคาถูก และบุหรี่ที่มีก้นกรอง

นอกจากนี้บริษัทบุหรี่ยังผลิตบุหรี่ ชนิดที่เรียกว่า “ไลต์” และ “ไมลด์” โดยระบุไว้ว่า เป็นบุหรี่ชนิดรสอ่อน ที่มีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่จากการวิจัยพบว่า บุหรี่ทั้ง 2 ชนิด มิได้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาแต่อย่างใด เพียงแต่ต่างกันที่รสชาติเท่านั้น และบุหรี่ชนิดที่มีก้นกรอง จะสามารถกรองละอองสาร ที่มีขนาดใหญ่ได้บางชนิดเท่านั้น โดยสารทาร์และนิโคติน ซึ่งมีขนาดเล็กยังคงผ่านเข้าไปได้ ในปริมาณเดียวกับการสูบบุรี่ ที่ไม่มีก้นกรอง

บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (Cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (Cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน

ส่วนประกอบบุหรี่

ตัวบุหรี่แต่ละมวนจะประกอบไปด้วยกระดาษห่อยาสูบมวนบุหรี่ ซึ่งมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาวประมาณ 120 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และใบยาสูบบดหรือซอยที่ผ่านกรรมวิธีกระบวนการผลิตยาสูบ แล้วเพิ่มสารเคมีในบุหรี่ เพื่อให้เป็นที่ถูกใจของผู้สูบบุหรี่ มีจำนวนมากกว่า 4,000 ชนิดเลยทีเดียว แล้วบรรจุในกระดาษห่อ โดยด้านหนึ่งจะใช้สำหรับจุดไฟ ส่วนอีกด้านมีก้นกรองสำหรับดูด

สารเคมีในบุหรี่และโทษของสารแต่ละชนิด

  • นิโคติน — เป็นสารเคมีในบุหรี่ที่ทำให้คนติดบุหรี่และมีผลต่อการกระตุ้นสมองกับกดประสาทส่วนกลาง หากถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดจะมีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดที่แขนขาหดตัว และเพิ่มไขมันในเส้นเลือด
  • อะซีโตน — มีผลต่อระบบหายใจที่ทำให้มีอาการระคายเคืองในเยื่อบุทางเดินหายใจ รู้สึกเวียนศีรษะ เป็นพิษที่ปอดที่ทำให้เกิดพังผืด เซลล์ตับตาย และหากสะสมในสมองจะทำให้ระบบประสาทเสื่อม
  • แอมโมเนียม — มีผลในการรบกวนการหลั่งสารสื่อประสาท รบกวนการสร้างพลังงานภายในเซลล์สมองต่าง ๆ เกิดอาการระคายเคืองแสบตาและจมูก
  • สารหนู — ทำลายระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
  • บิวเทน — เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้สายตาพร่ามัว ร่างกายเมื่อยล้า ปวดศีรษะ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง
  • แคดเมียม — มีผลต่อไตกับสมองที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • คาร์บอนมอนนอกไซด์ — ทำลายเม็ดเลือดแดงไม่ให้จับออกซิเจนได้เท่าเวลาปกติ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน ทำให้การตัดสินใจช้า มึนงง เหนื่อยง่าย และเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ
  • โครไลโนไทรล์ — ทำให้เกิดโรคโลหิตจางอย่างอ่อน ปลายมือเท้าซีด เม็ดเลือดขาวลด ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับเยื่อบุตา จมูก และปอด
  • ไซยาไนด์ / ไฮโดรเจนไซยาไนด์ — ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะมากในตอนเช้า เนื่องจากไซยาไนด์เข้าไปทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมตอนต้นนั่นเอง
  • ไนโตรเจนไดออกไซด์ — ทำลายเยื่อบุหลอดลมตอนปลาย ทำให้เกิดผนังถุงลมโป่งพอง เมื่อถุงลมเล็ก ๆ แตกรวมกันเป็นถุงลมใหญ่จะส่งผลให้มีถุงลมน้อยลง และการยืดหยุ่นในการหายใจน้อยลงด้วยเช่นกัน
  • ฟอร์มาลดีไฮด์ — ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ทางเดินหายใจและเยื่อบุตา ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ อีกทั้งยังเป็นสารเคมีที่ใช้ในการดองศพ
  • ตะกั่ว — มีผลต่อระบบประสาท เลือด ไต และระบบสืบพันธุ์ ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เป็นโรคความดันโลหิตสูง การได้ยินผิดปกติ ก่อให้เกิดมะเร็ง็็ง็ โดยมักจะพบสารเคมีชนิดนี้ในโรงงานอุตสาหกรรม
  • เมทิล เอทิล คีโทน — ทำให้จมูกกับตาระคายเคืองและกดระบบประสาท
  • ปรอท — มีผลต่อสมองที่ทำให้ความจำเสื่อม ใจสั่น และเป็นสาเหตุการเกิดโรคไต
  • พอโลเนียม — เป็นสารกัมมันตรังสีที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด และยังเป็นพาหะร้ายแรงที่จะทำให้ผู้คนรอบข้างที่ไม่สูบบุหรี่ได้รับสารพิษต่าง ๆ ในบุหรี่ไปด้วย
  • ทาร์ — ก่อให้เกิดโรคมะเร็งที่ปอด กล่องเสียง หลอดอาหาร หลอดลม ไต กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะ
โทษของบุหรี่

โทษของบุหรี่และโรคที่เกิดจากบุหรี่

  • เสี่ยงตาบอดถาวร
  • เสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหาร
  • เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ
  • เสี่ยงถุงลมโป่งพอง
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • เสี่ยงแท้งลูก
  • เสี่ยงโรคหอบหืด
  • ทำลายสุขภาพทารกในครรภ์
  • เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้ถึง 2 เท่า
  • ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ
อาการของคนสูบบุหรี่

อาการของคนสูบบุหรี่

ผมร่วง

การ สูบบุหรี่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายไวต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น Lupus erythematosus ซึ่งทำให้ผมร่วง ผื่นขึ้นใบหน้า หนังศีรษะและมือ

ต้อกระจก

เชื่อ กันว่าการสูบบุหรี่ทำให้สุขภาพดวงตาเสื่อมลงคนที่สูบบุหรี่มีอัตราการเกิด ต้อกระจกสูงกว่าคนปกติถึง 40 % โดยต้อกระจกจะทำให้เลนส์ดวงตามัว ขวางลำแสงและอาจทำให้ตาบอดได้

ฟันผุ

สูบ บุหรี่มีผลรบกวนต่อสภาพทั่วไปในช่องปาก ทำให้เกิดคราบฟันเหลืองและฟันผุได้ คนที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสสูญเสียฟันได้มากกว่าคนปกติ 1 เท่าครึ่ง

กระดูกพรุน

คาร์บอน มอนนอกไซด์เป็นก๊าซพิษหลักที่พ่นออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์และควันบุหรี่จะไป จับกับเม็ดเลือดได้ดีกว่าออกซิเจน ภายในร่างกายของคนที่สูบบุหรี่ ทำให้ออกซิเจนในเม็ดเลือดลดลงถึง 15 % ผลที่ตามมาคือ กระดูกของคนที่สูบบุหรี่จะสูญเสียความหนาแน่น หักง่าย ใช้เวลาในการรักษายาวนานกว่าเดิม 80 % นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่จะมีปัญหาปวดหลังมากกว่าคนปกติ 5 เท่า

ถุงลมโป่งพอง

นอก จากมะเร็งปอดแล้ว การสูบบุหรี่ ยังทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ( Emplysema ) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดถุงลมบวมและแตก ส่งผลให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ตามปกติ ในผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงมากจะต้องทำการเจาะคอช่วยในการหายใจ เป็นการเปิดช่องอากาศผ่านเข้าไปในปอด

นิ้วเหลือง

ส่วนประกอบของสารทาร์ ( Tar ) ในบุหรี่ จะคั่งค้างตามนิ้วมือและเล็บ ทำให้นิ้วมือเป็นสีเหลืองน้ำตาล

เชื้ออสุจิผิดปกติ

การ สูบบุหรี่ทำให้เชื้ออสุจิผิดปกติ และทำลายพันธุกรรม ( DNA) ของเชื้ออสุจิ จึงทำให้เกิดการแท้งได้หรือเด็กเกิดมาผิดปกติ การสูบบุหรี่ยังลดปริมาณอสุจิและทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่องคชาตได้ น้อยลง จึงทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และยังพบว่าผู้ชายที่เป็นหมันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สูบบุหรี่

โรคสะเก็ดเงิน

คน ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงินได้มากกว่าคนปกติ 2 – 3 เท่า โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคไม่ติดต่อที่มีการอักเสบของผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง พุพอง ทั่วร่างกาย

โรคการอักเสบของผิวนังชนิด Buerger

โรค การอักเสบของผิวหนังชนิด Buerger หรือโรค thromboangitis obliterans เป็นการอักเสบของเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และเส้นประสาทที่ขา และจำกัดเลือดที่ไปเลี้ยงขา ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เนื้อตาย (Gangrene) จนต้องตัดขาบริเวณที่เนื้อตาย

ผิวหนังเหี่ยวย่น

การ สูบบุหรี่ทำให้ผิวหนังดูแก่ก่อนวัย เนื่องจากไปมีผลกับโปรตีนที่ให้ความยืดหยุ่นต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังขาดวิตามินเอ และไปจำกัดการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนัง สภาพผิวของคนที่สูบบุหรี่จึงแห้งหยาบและมีริ้วรอย เส้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะรอบริมฝีปากและดวงตา

มะเร็งผิวหนัง

การ สูบบุหรี่ไม่ทำให้เกิด melanoma (มะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต ) แต่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะตายจาก melanoma คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังชนิด cutaneus squamous cell cancer มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า ซึ่งทำให้ผิวหนังเป็นขุยลอก เป็นผื่นแดง

การสูญเสียการได้ยิน

คนที สูบบุหรี่จะสูญเสียการได้ยินมากกว่าคนปกติเนื่องจากบุหรี่ไปทำให้เกิดคราบ ( plaque ) บนผนังเส้นเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปสู่หูชั้นในได้น้อยลง นอกจากนี้ยังพบปัญหาการติดเชื้อของหูชั้นกลางในคนที่สูบบุหรี่มากกว่าคนปกติ ถึง 3 เท่า

โรคหัวใจ

สถิติ โรคพบว่า 1 ใน 3 ของการตายมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจในประเทศกำลังพัฒนาพบว่ามีคนตายด้วย โรคหัวใจมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ที่ตายด้วยโรคหัวใจจากการสูบบุหรี่มากกว่า 6 แสนคน การสูบบุหรี่มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดอุดตันจนเกิดเป็นโรค หัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและอัมพาต

แผลในกระเพาะอาหาร

การ สูบบุหรี่ทำให้ร่างกายมีความต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กระเพาะอาหารไม่สามารถปรับสภาพน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดให้กลายสภาพ เป็นกลางได้ภายหลังการรับประทานอาหาร ทำให้มีการกัดกร่อนของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำการรักษาได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายกว่า

มะเร็งมดลูกและการแท้งลูก

ผู้หญิง ที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งมดลูก อีกทั้งยังให้เกิดการมีบุตรยากและเกิดภาวะแทรกซ้อนเวลาตั้งครรภ์และคลอดบุตร แม่ที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้เด็กที่เกิดใหม่มีน้ำหนักตัวน้อย กว่าปกติและยังมีการพบว่าคนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะแท้งลูกและทำให้เด็ก เสียชีวิตระหว่างคลอดมากกว่าคนที่ไม่สูบ 2 – 3 เท่า เนื่องจากทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน การสูบบุหรี่ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของทารกเฉียบพลัน ( Sudden Infant Death Syndrome : SIDS ) ที่ทำให้ทารกเสียชีวิตทันที นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังไปมีผลลดระดับเอสโตรเจนทำให้การหมดประจำเดือนเกิด ขึ้นกว่าปกติ

มะเร็ง

พบ ว่าส่วนประกอบมากกว่า 40 ชนิดในควันบุหรี่ ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนไม่สูบ 22 เท่า และจากผลการวิจัยพบว่ายิ่งสูบบุหรี่มานานเท่าใด จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งระบบอื่น ๆ รวมทั้ง มะเร็งจมูก (มากกว่า 2 เท่า) ลิ้น ปาก ต่อมน้ำลาย คอหอย (6 – 7 เท่า) คอ (12 เท่า) หลอดอาหาร (8 – 10 เท่า) กล่องเสียง (10 – 18 เท่า) กระเพาะอาหาร (2 – 3 เท่า) ไต (5 เท่า) กระเพาะปัสสาวะ 3 เท่า ทวารหนัก (5 -6 เท่า) และมีบางการศึกษาที่รายงานพบว่าการสูบบุหรี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด มะเร็งเต้านม

เลิกบุหรี่

เลิกบุหรี่

  1. ปรับพฤติกรรม เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่พยายามเลิกบุหรี่ด้วยการสูบให้น้อยลงนั้น ในที่สุดจะกลับไปสูบมากขึ้นอย่างเดิม หรือสูบมากกว่าเดิมเสียอีก โดยในระยะแรก ๆ ที่เลิกสูบ มักจะเกิดอาการอยากบุหรี่อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นอาการที่ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะเป็นการเสพติดมาจากพฤติกรรมการสูบเดิม ดังนั้นหากมีอาการอยากสูบบุหรี่ล่ะก็ แนะนำให้หาหมากฝรั่ง ลูกอม หรือดมยาดม เพื่อให้ติดเป็นนิสัยใหม่แทนการสูบบุหรี่ ใช้ หมากฝรั่งนิโคตินมาเคี้ยวจะดีมาก
  2. หลีกเลี่ยงสถานที่หรือช่วงระยะเวลาที่เคยสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ เพราะความเคยชินเหล่านั้น อาจจะเป็นสาเหตุทำให้หวนกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง ลองหาสถานที่ใหม่ ๆ หรือเดินออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ช่วยได้มากไม่น้อย
  3. การดื่มน้ำก็เป็นตัวช่วยที่ดี เช่นกัน คนที่เลิกบุหรี่ควรดื่มน้ำไม่ต่ำกว่าวันละ 10 แก้วหรือปริมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพราะน้ำจะเป็นตัวช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น
  4. การเลือกรับประทานอาหาร ผู้ที่เลิกบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภท เผ็ด เค็ม มัน หวาน เพราะอาหารประเภทเหล่านี้ก็เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้สูบอยากสูบบุหรี่เช่นกัน ในช่วงที่เลิกบุหรี่ควรรับประทานผักผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว ที่เป็นตัวช่วยที่ดีในการลดอาการอยากสูบบุหรี่ ผลไม้ควรเป็นผลไม้สดเท่านั้น
  5. การนำมะนาวมาเป็นตัวช่วย แนะนำให้หันมะนาวทั้งเปลือกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่กล่องพกติดตัวไว้ เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ขึ้นมาก็หยิบมะนาวขึ้นมาอมและขณะเวลาอมควรอมช้า ๆ และเคี้ยวเปลือกมะนาวแล้วกลืน การทำเช่นนี้จะช่วยได้เพราะรสขมของผิวมะนาวจะช่วยทำให้รู้สึกขมปากขมคอ จนไม่อยากสูบบุหรี่
  6. การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายทุกวัน วันละอย่างน้อย 30 นาที เพราะยิ่งออกกำลังกายมากเท่าไหร่ ปอดก็จะยิ่งแข็งแรง นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างกายขับพิษออกมากับเหงื่อได้อีกด้วย
  7. การย้ำเตือนตนเอง หากคิดที่จะสูบบุหรี่ขึ้นเมื่อไหร่ ก็ขอให้ย้ำกับตนเองอยู่เสมอว่า ที่เลิกนั้นเพื่ออะไร และให้ทำตามเป้าหมายการเลิกบุหรี่ของตนเองตามที่ตั้งใจไว้ให้ดีที่สุด

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button