วันนี้ในอดีต

16 กันยายน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหาร

16 กันยายน 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อยึดอำนาจสำเร็จก็ยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเสียเอง เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าทำเพื่อประเทศชาติมิใช่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง คณะรัฐประหารจึงได้แต่งตั้ง นายพจน์ สารสิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 16 มิถุนายน 2451 — 8 ธันวาคม 2506 เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” และ “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน 2500 ซึ่งเป็นวันที่เกิดรัฐประหารในประเทศไทย 2500 อย่างไรก็ตามไม่ได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็น หัวหน้าคณะปฏิวัติ

ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ได้ให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจของประเทศลาว นายพลพูมี หน่อสะหวัน ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ในราชอาณาจักรลาว

จอมพลสฤษดิ์มีอนุภรรยาจำนวนมาก และมีบุตรหลายคน สมรสครั้งสุดท้ายกับ นางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ ต่อมาคือ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี

ระยะเวลาเป็นนายกรัฐมนตรีรวมรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี รวม 5 ปี 54 วัน

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button