ความรู้ Tech

5G คืออะไร ประโยชน์ของ 5G การสื่อสารในอนาคต มาทำความรู้จักกัน

มาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต 5G คืออะไร แล้ว 5G มีประโยชน์ยังไงบ้าง มีความเร็วมากขึ้นแค่ไหนมาทำความรู้จักกัน

5G คือ

5G คือ

5G (เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นหรือระบบไร้สายรุ่นที่ 5) คือ เครือข่ายไร้สายที่ถูกพัฒนาและเริ่มใช้ในปี 2561 เป็นต้นมา เทคโนโลยีพื้นฐานได้แก่คลื่นความถี่ (Millimeter wave bands 26, 28, 38, และ 60 GHz) มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 20 Gbps MIMO (Multiple Input Multiple Output – 64-256 antennas) ประสิทธิภาพสูงซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 10 เท่า 5G ย่านความถี่ต่ำและกลางใช้ความถี่ระหว่าง 600 MHz ถึง 6 GHz โดยเฉพาะระหว่าง 3.5-4.2 GHz

ในปี 2560 หลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยี 5G เช่น Samsung, Intel, Qualcomm, Nokia, Huawei, Ericsson, ZTE ฯลฯ แม้ว่า 5G จะครอบคุลมทั่วโลกภายในปี 2563 เกาหลีใต้ได้เริ่มให้บริการเทคโนโลยีนี้ที่โอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ในปี 2561 Verizon วางแผนจะให้บริการ 5G FWA ใน 4 เมืองในสหรัฐ แซคราเมนโต แอลเอ อินเดียแนโพลิส และฮิวสตัน

ความเป็นมาของ 5G

ความเป็นมาของ 5G

  • 1G การคุยกันด้วยเสียง
  • 2G รองรับการส่งข้อความหากัน
  • 3G เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วไป
  • 4G ดูภาพและเสียงได้
  • 5G การเชื่อมต่อสิ่งของทุกสิ่ง
ประโยชน์ของ 5G

ประโยชน์ของ 5G

ความเร็ว (Speed) ความเร็วในที่นี้คือความเร็วในการใช้งานด้านข้อมูล ยกระดับการใช้ดาต้าไปอีกขั้น เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า Enhanced Mobile Broadband หรือ EMBB

ขีดความสามารถของการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอุปกรณ์ คือ ขยายขีดความสามารถในการเชื่อมต่อ ทำให้หุ่นยนต์ 2 ตัวทำงานร่วมกันและสื่อสารกันได้ไวขึ้น ความสามารถในส่วนนี้มีศัพท์เทคนิคว่า Massive machine type communications หรือ mMTC

ตอบสนองได้รวดเร็วและหน่วงน้อยลง ในส่วนนี้เป็นการเพิ่มความสามารถของเครือข่ายให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ศัพท์เทคนิคเรียกว่า Ultra-reliable and low latency communications โดยจะทำให้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็ว มีความหน่วงน้อยลง (Low Latency)

5G

  • ความเร็ว (Speed) 20 Gbps
  • จำนวนการเชื่อมต่อที่รองรับ (Connection) 1,000,000/sq.km.
  • เวลาในการตอบสนอง (Response Time) 1ms (ใช้งานจริงจะอยู่ราว 3-4ms)
  • ความหนาแน่นของการใช้งาน (Connection Density) 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

4G

  • ความเร็ว (Speed) 1 Gbps
  • จำนวนการเชื่อมต่อที่รองรับ (Connection) 100,000/sq.km.
  • เวลาในการตอบสนอง (Response Time) 40ms
  • ความหนาแน่นของการใช้งาน (Connection Density) 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

ข้อดีของ 5G

  • ความละเอียดสูงและการสร้างแบนด์วิดธ์ขนาดใหญ่
  • เทคโนโลยีที่จะรวบรวมทุกเครือข่ายบนแพลตฟอร์ม
  • มีประสิทธิภาพมากขึ้นและความเร็วเพิ่มขึ้น
  • สามารถเผยแพร่ข้อมูลขนาดใหญ่ ได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสียของ 5G

  • เทคโนโลยียังอยู่ภายใต้กระบวนการผลิตและพัฒนา
  • อุปกรณ์เก่าจะไม่สามารถใช้งาน 5G ได้
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีค่าใช้จ่ายสูง
  • ปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของยังไม่ได้รับการแก้ไข

5G ในไทย

AIS ได้ทำการทดสอบ 5G ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกแล้ว AIS นำเอา 5G มาทดสอบและแสดงให้คนไทยได้เห็น ในด้านเทคโนโลยีมีความพร้อมแล้ว แต่โจทย์ถัดไปคือ ภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ จะนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้านี้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร ในงานมีการจัดแสดงนวัตกรรมของเทคโนโลยี 5G ทั้งหมด 5 บูธด้วยกันคือ

  • 5G Super Speed เป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่าย 5G เพื่อให้เห็นถึงความเร็วในการรับส่งสัญญาณ (Throughput) และความหน่วง (Latency)
  • 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robot เป็นการสาธิตประสิทธิภาพการตอบสนองที่รวดเร็วของเครือข่าย 5G โดยการใช้หุ่นยนต์สามตัวในการหาจุดสมดุล ที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลางกระดาน การสาธิตแสดงเวลาที่หุ่นยนต์ใช้ในการหาจุดสมดุลผ่านการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เครือข่าย 4G เปรียบเทียบกับเครือข่าย 5G
  • 5G for Industry 4.0 หุ่นยนต์จะมีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 การทำงานร่วมกันของเครื่องจักรจากหลายสายการผลิตต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความหน่วงต่ำและความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งจะทำให้สายการผลิตทำงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสาธิตหุ่นยนต์ YuMi® Dual-Arm Collaborative Robot จาก ABB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G
  • 5G Virtual Reality – immersive video การสาธิต การดูวีดีโอที่แสดงสภาวะเสมือนจริง (immersive video) ผ่านเครือข่าย 5G ผู้ที่ใส่แว่นตา VR จะสามารถมองเห็นได้รอบด้าน 360 องศา การดูวีดีโอ VR ที่มีความคมชัด ต้องการ bandwidth ที่สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการถ่ายทอดสด หรือ live streaming
  • 5G FIFA Virtual Reality ทดลองความเร็วของเครือข่าย 5G ด้วยตัวคุณเอง โดยการเตะลูกบอล Virtual Reality ที่จุดโทษผ่านเครือข่าย 5G

อ่านต่อ

Tanjen S.

ติดตามข่าวสารล่าสุดในวงการไอทีและเกมส์ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเป็นบทความข่าวที่น่าสนใจ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button