เรื่องน่าสนใจ

กำหนดการเปิดเขาคิชฌกูฏจันทบุรี ปี 2567

เขาคิชฌกูฏ จันทบุรี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้ประทับไว้เมื่อเสด็จโปรดสัตว์โลกในสมัยพุทธกาล

สำหรับท่านใดที่เตรียมตัวเดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ บทความนี้จะรวบรวมข้อมูลสำคัญต่างๆ ที่คุณควรทราบ ไม่ว่าจะเป็นกำหนดการงาน เส้นทางการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อให้การเดินทางของคุณราบรื่นและปลอดภัย

เขาคิชฌกูฏ

เขาคิชฌกูฏ

อุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี ด้วยสภาพป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไม้ผลัดใบ มีสมุนไพรและกล้วยไม้ป่านานาชนิด รวมทั้งพันธุ์ไม้หายาก เช่น ไม้กฤษณา และมีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น กระทิง เสือ หมี กวาง เก้ง เลียงผา รวมทั้งนกชนิดต่าง ๆ ตามลำห้วยมีปลาพลวง ปลาก้าง ปลาหนวด ปลาดุกรำพัน อาศัยอยู่

เขาคิชฌกูฏที่จังหวัดจันทบุรี เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ “รอยพระพุทธบาท” มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานราว 4 กม.

ประวัติเขาคิชฌกูฏจันทบุรี

ประวัติเขาคิชฌกูฏจันทบุรี

ที่มาของชื่อนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหน ๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย

โดยสภาพภูมิประเทศคล้ายคลึงและบนยอดเขามีสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ คือ รอยพระพุทธบาท และหินลูกบาตร ที่ตั้งข้างรอยพระพุทธบาท อยู่ในลักษณะคล้ายลอยอยู่ริมลานพระพุทธบาทฝั่งตรงข้ามหินลูกบาตรมีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้ และในหินก้อนนี้ ตรงข้ามกันรอยพระหัตถ์ มีรูปรอยเท้าใหญ่ (รอยเท้าพญามาร) ใต้พระบาทมีถ้ำตาฤาษี

จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุก ๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า “เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็รสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไป”

แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานให้ดี ปราถนาสิ่งใดที่ดีที่ชอบขอได้ตามความพอใจ กลับไปจะมีแต่ความปลอดภัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและเทพยดาที่รักษารอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จะอำนวยอวยพรให้ท่านได้รับแต่ความสขตามสมบูรณ์พูลผล ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป

เขาคิชฌกูฏจันทบุรี เปิดวันไหน ?

เขาคิชฌกูฏจันทบุรี 2567 เปิด

ผู้ที่อยากขึ้นไปสักการะบูชาสิงศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั้นต้องมีจิตศรัทธาที่แรงกล้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาอีกราว 3 กิโลเมตร ท่ามกลางผู้คนที่มีศรัทธาเดียวกันมากมายที่เบียดเสียด เพราะการจะขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี หรือช่วงช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม

กำหนดการงานประเพณี สักการะรอยพระพุทธบาทพลวง ประจำปี 2567/2024

  • เปิดเขาคิชฌกูฏ เริ่ม วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 9 เมษายน 2567
  • พิธีบวงสรวง “ปิดป่า – เปิดเขา” วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567
  • พิธีบวงสรวง “เปิดป่า – ปิดเขา” วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567

ข้อปฏิบัติในการเดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท

  • ไหว้พระบาทจำลอง ที่ต้นศรีมหาโพธิ์
  • ขึ้นศาลาไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์ ปิดทองรูปใด ขอพรขอบารมีรูปนั้นให้ครบ 9 ครั้ง
  • จุดเทียนธูป หน้าห้องกระจก ตั้งสัจจะขอในสิ่งที่เราต้องการต่อหน้าสังขาร พระครูพุทธบทบริบาร (หลวงพ่อนัง)
  • ประพรมน้ำพุทธมนต์ ให้เป็นสิริมงคลก่อนขึ้นเขา
  • ตั้งสัจจะ ขอที่พระอภิบาลมงคลพุทธไสยาสน์
  • จุดเปลี่ยนรถที่ 1 ไหว้เจดีย์กลางเขา เจ้าแม่กวนอิม, พระพรหม, พระพิฆเนศวร, แม่โพสพ, บาตรแห่งมหาโชคลาภ
  • เปลี่ยนรถที่ 2 ไหว้พระสิวลี พระแม่ธรณีบีบมวยผมพระนอน, พระมาลัย
  • ท้าวเวสสุวรรณ, ท้าวพิเภก, พระพิฆเนศวร, แม่ธรณีบีบมวยผม แล้วเคาะระฆัง 2 ข้างทาง
  • สิ่งมหัศจรรย์ รอยเสือใหญ่, รอยกวางทอง, พระศิวะ, พระนาคปรก
  • จุดพักขึ้นประตูสวรรค์ ไหว้พระป่าเรไร, ถวายสังฆทาน, ไหว้พระพรหม แล้วเคาะระฆังขึ้นสวรรค์
  • ไหว้หมอชีวกโกมารภัทร, ฆ้อง, ธรรมจักร, นมัสการรอยพระบาท, เจ้าแม่กวนอิม, ท้าวมหาพรหมวิหาร(กองอำนวยการ)
  • ลานอินทร์ เป็นลานที่พระอินทร์ลงมาประทับที่สถานที่แห่งนี้ เลยนำรูปท่านมาประดิษฐานไว้ที่นี่ และมีผู้อธิษฐานขอแล้วประสบความสำเร็จในเรื่องเนื้อคู่, ที่อยู่อาศัย, ไหว้เทพเทวดา, สักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ, พระปิยมหาราช, สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (พรหมรังษี) ด้านข้างเป็นจุดชมวิวสวยงามมากเป็นหุบเขาที่เขียวชอุ่ม มีเขื่อนเก็บน้ำ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
  • นมัสการพระสิวลี, พระพิฆเนศวร
  • ปิดทอง ขอพรจากลูกแก้วสารพัดนึก
  • สักการะบาตรพระอานนท์ (บาตรใหญ่) ลานบายศรี เป็นที่บูชาเทพ
  • สักการะบาตรพระสิวลี บาตรแห่งความร่ำรวย
  • ไหว้แม่นางตะเคียน ให้โชคให้ลาภ
  • ลานพรหมบรรทม เป็นสถานที่พระพรหมบรรทม ควรไหว้พระและสวดมนต์บูชาพระพรหมบาตรพระโมคคัลลานะ อยู่ใกล้กับลานพรหมบรรทม
  • บาตรพระสารีบุตร และผ้าแดง เป็นสถานที่เดียวกับผ้าแดง ให้เขียนชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่บนผ้าแดงแล้วอธิษฐานจิตตามปรารถนา

การเดินทางไปนมัสการรอยพระบาทพลวง

การเดินทางไปเขาคิชฌกูฏ

รอยพระพุทธบาทพลวง

การเดินทางไปคิชฌกูฏ

โดยรถยนต์ส่วนตัว ใช้ถนนสุขุมวิท เมื่อถึงสี่แยกเขาไร่ยาให้แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3249 ระยะทาง 24 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติ หรือนั่งรถสองแถวสีฟ้าสายจันทบุรี-จันทเขลม ขึ้นรถได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ท่าแฉลบ

การเดินทางไปยังยอดคิชฌกูฏ

สามารถเดินทางได้โดยเริ่มจากตัวอำเภอเมืองจันทบุรีผ่านแยกเขาไร่ยา ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3249 ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร โดยใช้ทางขึ้นเขาพระบาทพลวง (ทางขึ้นคนละจุดกับอุทยานฯ) เมื่อถึงวัดพระบาทพลวงต้องจอดรถส่วนตัวทิ้งไว้ (มีลานจอดรถไว้บริการ)

จากนั้นมีรถสองแถวบริการขึ้นเขาพระบาท ออกจากวัดพลวงไปสิ้นสุดที่บริเวณทางขึ้นยอดเขาพระบาท โดยรถที่ขึ้นยอดเขาแบ่งเป็น 2 ช่วง ค่าโดยสารช่วงละ 50 บาท/คน (รวมไป-กลับ 200 บาท) มีรถบริการตลอดเวลา ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จะถึงจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นไปรอยพระบาท สอบถามรายละเอียดได้ที่อุทยานแห่งชาติ โทรศัพท์ 0 3945 2074

อัตราค่าบริการสำหรับบุคคล เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ

  • บุคคลชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
  • บุคคลชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท

สอบถามข้อมูล

  • โทรศัพท์ : 0 3945 2074, 0 2562 0760
  • ศูนย์กู้ชีพเทศบาลตำบลพลวง โทรศัพท์ : 08 1722 1662 (สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ 24 ชั่วโมง)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ที่มา – wikipedia.org

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button