นิทานชาดก

นิทานชาดก : พญานกแขกเต้ายอดกตัญญู

พญานกแขกเต้ายอดกตัญญู นิทานชาดกที่สอนให้รู้จักความกตัญญู เรื่องราวของพญานกแขกเต้าผู้กตัญญูต่อบิดามารดา แม้บิดามารดาจะแก่ชราและไม่สามารถหาอาหารได้เอง พญานกแขกเต้าก็ยังคงหาอาหารมาเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี นิทานเรื่องนี้สอนให้เรารู้จักตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่และผู้มีพระคุณ

พญานกแขกเต้ายอดกตัญญู

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้เลี้ยงโยมหญิงอุปัฏฐากรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลินทิยะ ในเมืองราชคฤห์ โกลิยพราหมณ์มีไร่ข้าวสาลีประมาณ 1,000 ไร่ มอบให้ลูกจ้างกั้นรั้วดูแลรักษาอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ในที่ไม่ไกลจากไร่นั้น ภูเขาลูกหนึ่งไป มีป่างิ้วใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญานกแขกเต้ามีบริวารหลายร้อยตัวอาศัยอยู่ในป่างิ้วนั้น พญานกแขกเต้ามีพ่อแม่ที่แก่เฒ่าอยู่คู่หนึ่งเมื่อพาบริวารออกหากินอิ่มแล้ว ก็จะคาบอาหารกลับมาให้พ่อแม่กินด้วยเป็นประจำ

อยู่มาวันหนึ่ง พวกนกแขกเต้าบอกว่า “ปีก่อนฤดูนี้ชาวบ้านจะปลูกข้าวสาลีไว้ที่ไร่ฝั่งโน้น ปีนี้จะยังทำอยู่หรือไม่หนอ” พญานกแขกเต้าจึงใช้ให้นกแขกเต้า 2 ตัวไปสืบดูก่อน ไม่นานนักนก 2 ตัวนั้นกลับมาพร้อมกับรวงข้าวสาลีพร้อมกับรายงานว่ามีข้าวสาลีอยู่เต็มไร่

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

วันรุ่งขึ้น พญานกแขกเต้าจึงพาบริวารบินไปลงกินข้าวสาลีในไร่นั้น คนเฝ้าไร่พยายามวิ่งไล่นกให้หนีไปก็ทำไม่สำเร็จ พญานกแขกเต้ากินอิ่มแล้ว ก็คาบรวงข้าวสาลีไปด้วย ตั้งแต่วันนั้นมานกแขกเต้าก็พากันลงกินข้าวสาลีในไร่นั้นเป็นประจำ จนข้าวสาลีถูกทำลายไปเป็นไร่ คนเฝ้าไร่จึงนำเรื่องไปบอกโกลิยพราหมณ์ให้ทราบว่า “เจ้านาย..ผมไล่มันไม่ไหวแล้วละ ขอคืนไร่ให้ท่านจ้างคนอื่นไปดูแลแทน นกแขกเต้านับร้อยตัว มีนกแขกเต้าคอแดงเท้าแดงตัวหนึ่งนำมา เมื่อขากลับมันยังคาบข้าวสาลีไปอีกด้วย” “เจ้าสามารถจับมันเป็นๆ ได้ไหมล่ะ” เมื่อเขารับคำว่า “ได้ขอรับ” จึงบอกว่า “ถ้าเช่นนั้นเจ้าก็ไม่ต้องออกละ ความเสียหายของข้าวสาลีข้าไม่ว่า ขอเพียงเจ้าจับมันมาให้ได้ก็แล้วกัน”

คนเฝ้าไร่รับคำแล้วสบายใจที่เจ้านายไม่ด่าว่า จึงทำบ่วงดักไว้แต่เช้าตรู่แล้วเข้ากระท่อมแอบดูอยู่ ไม่นานพญานกแขกเต้าก็พาบริวารมาลงกินข้าวสาลีเช่นเคยและได้ติดบ่วงที่เขาดักไว้ตั้งแต่แรกลงแต่ก็ต้องอดทนไว้ไม่ร้องอะไรออกมาด้วยเกรงว่าบริวารจะแตกตื่นไม่ได้กินข้าว พอรู้ว่านกทุกตัวกินอิ่มแล้วจึงร้องขึ้น 3 ครั้ง ฝูงนกได้แตกตื่นบินหนีขึ้นไป ทิ้งไว้แต่พญานกแขกเต้าตัวเดียว

คนเฝ้าสวนพอได้ยินเสียงนกแขกแตกตื่นขึ้น ออกจากกระท่อมมาดูเห็นพญานกแขกเต้าติดบ่วงของตน ก็ดีใจจับมัดขาแล้วนำไปให้พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของไร่

โกลิยพราหมณ์จับพญานกแขกเต้าด้วยสองมือวางไว้บนตักด้วยความเอ็นดูถามมันว่า “เจ้านกแขกเต้า ท้องของเจ้าคงจะใหญ่กว่านกตัวอื่นกระมัง เจ้าจึงคาบข้าวสาลีข้าไปมากมาย เจ้าทำฉางข้าวไว้ที่ป่างิ้ว หรือว่าเจ้ากับเรามีเวรแก่กัน”
พญานกแขกเต้าพูดเป็นภาษามนุษย์ที่ไพเราะว่า “ข้าพเจ้ากับท่านไม่ได้มีเวรแก่กัน ฉางของข้าพเจ้าก็ไม่มี ข้าพเจ้านำข้าวสาลีไปเพื่อเปลื้องหนี้เก่า ให้เขากู้หนี้ใหม่ แล้วฝังขุมทรัพย์ไว้”

  • พราหมณ์ “การเปลื้องหนี้เก่า กู้หนี้และวิธีฝังขุมทรัพย์ของท่านเป็นอย่างไร?”
  • พญานกแขกเต้า “ข้าพเจ้านำข้าวสาลีไปมอบให้บิดามารดาผู้แก่เฒ่าเพื่อเปลื้องหนี้เก่าที่ท่านเลี้ยงข้าพเจ้ามา มอบข้าวสาลีให้ลูกน้อยเพื่อกู้หนี้เมื่อเขาเติบโตแล้วจะได้เลี้ยงข้าพเจ้าตอบ และให้แก่นกผู้พิการทุพพลภาพออกไปหากินไม่ได้ บุญที่ให้ข้าวสาลีแก่นกเหล่านั้น เป็นการฝังขุนทรัพย์ไว้”

พราหมณ์พอฟังจบแล้วมีจิตเลื่อมใสยิ่งนักจึงพูดว่า “เจ้าดีจริง ๆ เป็นนกมีคุณธรรม ยอดกตัญญู มนุษย์บางคนยังไม่มีคุณธรรมเหมือนกับเจ้าเลย ข้าขอยกข้าวสาลีทั้งหมดให้เจ้าและพวกญาติได้กินเป็นอาหารอย่างเพียงพอเลยนะ” ว่าแล้วก็แก้เชือกที่ขาพญานกแขกเต้าทาน้ำมันให้แล้วนำข้าวคลุกน้ำผึ้งมาเลี้ยงพญานกนั้น

พญานกแขกเต้าให้โอวาทพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ให้ทานเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าเถิด” กล่าวจบก็คืนไร่ข้าสาลีแก่พราหมณ์ ขอรับไว้เพียง 8 ไร่เท่านั้นแล้วบินกลับคืนป่างิ้วไป

เมื่อกลับถึงป่างิ้วพญานกแขกเต้ารับวางรวงข้าวสาลีไว้ต่อหน้าบิดามารดาผู้ลุกขึ้นหัวเราะยินดีได้ทั้งน้ำตานองหน้า ฝูงนกแขกเต้าต่างเข้ามาแสดงความยินดีได้ทั้งน้ำตานองหน้า ฝูกนกแขกเต้าต่างเข้ามาแสดงความยินดีด้วยและถามเป็นเสียงเดียวกันว่า “ท่านรอดมาได้อย่างไร ? ขอรับนาย” พญานกแขกเต้าจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฝูกนกฟัง

ฝ่ายโกลิยพราหมณ์ก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพญานกแขกเต้าตั้งโรงบริจากทานแก่สมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมและผู้ยากจนทั่วไปประพฤติธรรมจนตราบสิ้นชีวิต

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

บุตรธิดาควรเลี้ยงดูบิดามารดายามแก่ชรา เพื่อปลดเปลื้องหนี้ที่ตนเคยได้รับการเลี้ยงดูจากท่านในวัยเด็ก

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button