นิทานชาดก

นิทานชาดก : พ่อค้าโกง

พ่อค้าโกง เป็นนิทานชาดกที่สอนให้รู้ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพ่อค้าสองคนชื่อ “บัณฑิต” และ “อติบัณฑิต” ทั้งสองคนได้ร่วมทุนทำการค้าด้วยกัน ปรากฏว่าทำกำไรได้มากมาย เมื่อถึงเวลาแบ่งทรัพย์กัน อติบัณฑิตกลับโกงบัณฑิตโดยอ้างว่าตนเองควรได้ส่วนแบ่งมากกว่า เพราะชื่อ “อติบัณฑิต” แปลว่า “ผู้ควรได้รับทรัพย์” บัณฑิตจึงตัดสินใจใช้อุบายพิสูจน์ความซื่อสัตย์ของตัวเอง

พ่อค้าโกง

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพ่อค้าโกงผู้หนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานชาดกมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพ่อค้าอยู่ในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า บัณฑิตได้เข้าหุ้นทำการค้ากับพ่อค้าคนหนึ่งชื่อว่า อติบัณฑิต วันหนึ่ง คนทั้งสองชวนกันบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน 500 เล่มไปขายที่ชายแดนแห่งหนึ่ง ได้กำไรกลับมาอย่างงดงามเมื่อกลับมาถึงเมืองพาราณสีแล้ว ถึงเวลาแบ่งทรัพย์กัน นายอติบัณฑิตจึงเอ่ยปากขึ้นว่า “นี่เพื่อนรัก เราควรจะได้ส่วนแบ่ง 2 ส่วนนะ” “ทำไมละเพื่อน” พระโพธิสัตว์ถาม “ก็เพราะท่านชื่อบัณฑิตเฉยๆ ควรได้ส่วนเดียว ส่วนเราชื่ออติบัณฑิตจึงควรจะได้ 2 ส่วนนะสิ” อติบัณฑิตตอบ

พระโพธิสัตว์ไม่ยอมกล่าวอ้างว่า “ทุนซื้อก็ดี พาหนะขนสิ่งของก็ดีมีส่วนเท่าๆ กัน แล้วทำไมเวลาแบ่งจึงต้องแบ่งไม่เท่ากันละ นายอติบัณฑิตก็อ้างแต่ว่าไปหารุขเทวดาเป็นผู้ตัดสินให้

บทความที่เกี่ยวข้อง
Advertisement

คนทั้งสองเดินไปที่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งอติบัณฑิตได้บอกอุบายให้พ่อของตนเองไปแอบอยู่ในโพรงไม่นั่นแล้ว เมื่อไปถึงต้นไม้นั้นแล้ว อติบัณฑิตก็ถามความเห็นของรุกขเทวดาให้ช่วยเป็นผู้ตัดสินใจให้ด้วยทันใดนั่นเองก็มีเสียงเปล่งออกมาจากต้นไม้นั้นว่า “ถ้าเช่นนั้น คนชื่อบัณฑิตควรได้ 1 ส่วน อติบัณฑิตควรได้ 2 ส่วน”

พระโพธิสัตว์ฟังคำตัดสินนั้นแล้วคิดว่า “เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเป็นเทวดาจริง หรือเทวดาปลอมกันแน่” เดินไปหอบฟางมาใส่โพรงไม้แล้วจุดไฟทันที ทันใดนั่นเองพ่อของนายอติบัณฑิตรีบหนีตายขึ้นข้างบนต้นไม้โหนกิ่งไม้แล้วกระโดดลงดินพลางกล่าวเป็นคาถาว่า

“คนชื่อบัณฑิตดีแน่ ส่วนอติบัณฑิตไม่ดีเลย เพราะ เจ้าอติบัณฑิตลูกเราเกือบเผาเราเสียแล้ว”

เมื่อแผนการถูกเปิดโปง นายอติบัณฑิตจึงจำต้องแบ่งส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee