นิทานชาดก

นิทานชาดก : หนอนท้าสู้กับช้าง

หนอนท้าสู้กับช้าง นิทานชาดกที่มีบทเรียนสอนใจเกี่ยวกับความลำพอง เรื่องราวเริ่มต้นจากหนอนกินอุจจาระตัวหนึ่งที่เมาสุราจนเมาหัวทิ่ม เกิดอาการหลงตัวเองและท้าสู้กับช้างตัวใหญ่ บทนำ SEO ที่จะดึงดูดผู้อ่านให้อยากอ่านนิทานชาดกเรื่องนี้ต่อไป ควรเน้นไปที่ประเด็นต่อไปนี้

หนอนท้าสู้กับช้าง

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ปราบความจองหองของชายด้วน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ บ้านพักริมทางปลายแดนแห่งหนึ่งระหว่างอังครัฐกับมคธรัฐ จะมีพ่อค้าทั้งสองเมืองแวะมาพักร้อนก่อนเดินทางไปค้าขายต่ออยู่เป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งแวะมาพักเช่นเคย แต่ครั้งนี้ได้นำสุรามาดื่มด้วยพักค้างคืนแล้วจึงออกเดินทางในตอนเช้ามืด

เมื่อพวกพ่อค้าไปแล้วไม่นาน มีหนอนกินอุจจาระตัวหนึ่งได้กลิ่นอุจจาระจึงมาที่นั้น เห็นสุราที่เขาทิ้งไว้ตรงนั้น มันก็กินด้วยความหิวกระหายแล้วเกิดอาการเมาสุรา ไต่ขึ้นไปบนกองอุจจาระๆ ก็ยุบลง มันจึงร้องขึ้นด้วยความลำพองใจว่า

“อะฮ้า ในโลกนี้ไม่มีใครใหญ่เกินเรา แม้แต่แผ่นดินก็ยังทนทานน้ำหนักเราไม่ได้”

ขณะนั้นเองได้มีช้างตกมันตัวหนึ่งเดินผ่านมาทางนั้นพอดี พอได้กลิ่นอุจจาระจึงปลีกตัวเดินห่างออกไป เจ้าหนอนเห็นช้างเดินตรงมาถึงแล้วก็หลบไปทางอื่นก็ยิ่งลำพองใจคิดว่าช้างกลัวตนเอง จึงร้องเรียกช้างขึ้นว่า

“ท่านเป็นช้างผู้กล้าหาญมิใช่เหรอ ท่านอย่างพึ่งหนีไป กลับมาสู้กันก่อน เราคือผู้ยิ่งใหญ่อยู่ที่นี้”

ช้างพอได้ยินเสียงหนอนเรียกท่าสู้ด้วย จึงเดินกลับไปหาพร้อมตวาดขึ้นว่า …

“เจ้าหนอนตัวเหม็น เราไม่จำเป็นต้องออกแรงฆ่าเจ้าด้วยเท้าด้วยงาดอก เพียงแค่ขี้ของเราจึงจะคู่ควร”

ว่าแล้วก็ถ่ายอุจจาระก่อนโตตกลงไปทับหนอนตายคาที่พร้อมกับปัสสาวะรดแล้วก็แผดเสียงร้องเข้าป่าไป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ฤทธิ์ สุราทำให้คนใจใหญ่หยิ่งผยอง ไม่เกรงกลัวใคร และมักนำความฉิบหายมาให้มากกว่าผลดี

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button