นิทานชาดก

นิทานชาดก : ลูกสอนพ่อ

การสูญเสียคนที่เรารักไปย่อมเป็นเรื่องยากที่จะทำใจให้ลืมได้ แต่การจมอยู่กับความเศร้าโศกเป็นเวลานานก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจได้ นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้เรารู้จักปล่อยวางความเศร้าโศกและดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีสติ

ลูกสอนพ่อ

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพ่อค้าผู้เศร้าโศกเสียใจกับการตายของบิดาอย่างไม่สร่างซาคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพ่อค้าเมืองพาราณสี มีชื่อว่า สุชาตกุมาร เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ปู่ของเขาก็ได้เสียชีวิตลง หลังจากปู่เสียชีวิตแล้ว บิดาของเขาอยู่ในอาการเศร้าโศกตลอดมา ไม่มีจิตใจทำการค้าขายเลย เมื่อเผาร่างปู่เสร็จแล้วก็นำกระดูกมาบลรรจุสถูปดินไว้ในสวนหลังบ้าน เที่ยวไปไหว้กระดูกนั้นแล้วเดินวนเวียนนั่งร้องไห้อยู่ ไม่อาบน้ำ ไม่กินข้าวไม่ทำการค้าขาย เป็นประจำทุกวัน

สุชาตกุมารเห็นบิดาตกอยู่ในอาการเช่นนั้นจึงคิดหาวิธีเตือนสติ วันหนึ่งเขาเดินไปนอกบ้านเห็นวัวตายตัวหนึ่ง จึงนำหญ้าและน้ำมาวางไว้ข้างหน้ามัน แล้วพูดว่า “จงกิน จงดื่ม” ผู้คนที่เดินผ่านไปมาเห็นเขาก็ถามว่า “ท่านทำอะไร เป็นบ้าเหรอ ป้อนอาหารให้วัวตาย” สุชาตกุมารก็ไม่พูดตอบโต้อะไรยังคงนั่งพูดอยู่อย่างนั้น

ชาวบ้านจึงเดินไปบ้านบอกบิดาของเขาให้ทราบว่า สุชาตกถมารเป็นบ้าแล้ว นั่งป้อนอาหารวัวที่ตายแล้ว บิดาของเขาพอทราบเรื่องก็รีบไปดูด้วยความเป็นห่วงลูกชาย ลืมการตายของบิดาไปชั่วขณะ เมื่อไปถึงที่ลูกชายนั่งอยู่จึงถามว่า “ลูก เป็นคนฉลาดมิใช่หรือ ทำไมจึงป้อนหญ้าป้อนน้ำให้วัวตายเล่า ไม่มีวันที่มันจะฟื้นคืนมาได้ดอก อย่ามานั่งบ่นเพ้อเหมือนคนไร้ความคิดเลย”

สุชาตกุมารจึงตอบว่า

“พ่อ.. วัวตัวนี้ร่างกายมันอยู่ครบบริบูรณ์ดี ผมเข้าใจว่า มันต้องลุกขึ้นมากินได้ ส่วนปู่ของเราไม่มีร่างกาย แล้วพ่อยังไปนั่งร้องไห้คร่ำครวญหาอยู่ท้ายสวนเป็นประจำ พ่อมิใช่เป็นคนไร้ความคิดกว่าเหรอ”

บิดาจึงได้สติคืนมา กล่าวยกย่องชมเชยสุชาตกุมารแล้วกล่าเป็นคาถาว่า

“คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคราะห์ ย่อมทำบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้ เหมือนกับสุชาตบุตรของเราทำเราผู้บิดาให้หลุดพ้นความโศก ฉะนั้น”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

การเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมชาติของชาวโลก ทุกคนต้องประสบแน่นอน อย่างไปอาลัยอาวรณ์อยู่กับผู้ที่เสียชีวิตให้เสียเวลาไปเลย ต่างรับเร่กระทำความดีกันเถิด สาธุชนเอ๋ย

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button