นิทานชาดก

นิทานชาดก : ลูกศิษย์สอนอาจารย์

นิทานชาดก : ลูกศิษย์สอนอาจารย์ นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนเรานั้นมีความแตกต่างกัน บางคนพร้อมที่จะเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง บางคนกลับไม่สนใจ ครูอาจารย์จึงควรเลือกสอนคนที่พร้อมจะเรียนรู้เท่านั้น นิทานเรื่องนี้มีฉากหลังอยู่ที่เมืองตักกศิลา เล่าถึงอาจารย์ผู้ให้ศีลแก่ทุกคนที่พบเห็น แต่คนเหล่านั้นกลับไม่รักษาศีล ศิษย์เอกของเขาจึงคิดหาวิธีเตือนสติอาจารย์ด้วยการกระทำที่เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยข้อคิดมากมาย

ลูกศิษย์สอนอาจารย์

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพระสารีบุตรผู้ให้ศีลแก่ทุกคนที่ตนพบเห็น แต่ไม่ค่อยมีคนรักษาศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์เมืองพาราณสี มีชื่อว่า การันทิยะ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มแล้วได้ไปศึกษา ศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา ได้เป็นหัวหน้าคณะศิษย์อาจารย์ของเขาได้ให้ศีลแก่คนพบเห็นทุกคนไม่ว่าจะเป็นชาวประมงชาวนา ผู้ไม่ขอศีลเลยว่า “ท่านทั้งหลายจงรับศีล รักษาศีลนะ” ปรากฏว่าคนเหล่านั้นรับศีล เมื่ออาจารย์ทราบเรื่องแล้วก็มักบ่นให้ลูกศิษย์ฟังอยู่เป็นประจำว่า “อ้ายพวกนี้ ไม่รู้จักทำคุณงามความดี รับศีลไปแล้วก็ไม่รู้จักรักษา”

อยู่มาวันหนึ่ง มีชาวบ้านแห่งหนึ่งมาเชิญให้ไปสวดพิธีพราหมณ์ อาจารย์จึงเรียกการรันทิยะมาพบแล้วมอบให้เป็นหัวหน้าคณะไปแทนตน และกล่าวกำชับว่า “การันทิยะ ฉันจะไม่ไปนะ มอบให้เธอเป็นหัวหน้าพากันไป แต่อย่าลืมนำส่วนของฉันมาด้วยละ”

เมื่อการันทิยะพาคณะไปแล้วขากลับมาได้พากันนั่งพักผ่อนอยู่ข้างเขาลูกหนึ่งใกล้สำนักเรียน เขาคิดหาวิธีที่จะเตือนสติอาจารย์ให้เลิกให้ศีลคนทั่วไป ให้รู้จักให้ศีลแก่ผู้ที่ขอเท่านั้น เดินไปเห็นซอกเขา ฉุกคิดขึ้นมาได้ จึงจับก้อนหินโยนลงไปที่ซอกเขานั้นพวกศิษย์คนอื่น ๆ ถามว่าทำอะไร ก็ไม่ยอมบอก พวกลูกศิษย์จึงพากันกลับสำนักเรียนไปบอกอาจารย์

  • อาจารย์พอมาถึงก็ถามขึ้นว่า “การันทิยะ จะมีประโยชน์อะไรกับการทิ้งก้อนหินลงไปในซอกเขานี้ เจ้าทำไปทำไม” การันทิยะตอบว่า “ผมจักทำแผ่นดินให้เรียบเสมอกันดังฝ่ามือครับอาจารย์”
  • อาจารย์ “ท่านคนเดียวย่อมไม่สามารถถมหุบเหวให้เต็มทำแผ่นดินให้ราบเรียนได้หรอก เกรงว่าท่านตายไปก็ยังทำไม่ได้”
  • การันทิยะ “ถ้าผมคนเดียวไม่สามารถทำแผ่นดินให้ราบเรียนเสมอกันได้ อาจารย์ก็ไม่สามารถนำมนุษย์ผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันให้มีศีลธรรมเสมอกันได้เช่นกันนะ ขอรับ”

อาจารย์ได้ฟังแล้วกลับได้สติรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

“การันทิยะ เจ้าได้บอกความจริงแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด เราก็ไม่อาจทำมนุษย์ทั้งหลายให้มาอยู่ในอำนาจของเราได้ฉันนั้น”

นับตั้งแต่วันนั้น อาจารย์ก็เลิกให้ศีลแก่ผู้ไม่ขอศีล ให้เฉพาะผู้ที่ขอเท่านั้น

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนมีทิฏิฐิต่างกันพึงเลือกสอนคนที่ควรสอนเท่านั้น เพราะพระพุทธองค์เปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 เหล่า 3 พวกแรกสอนได้ พวกหลังสุดปล่อยทิ้งไปเสีย

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button