นิทานชาดก

นิทานชาดก : อภัยโทษ

ใน นิทานชาดก : อภัยโทษ เล่าถึงเรื่องราวของพระเจ้าโกศลผู้ทรงพระเมตตาและเปี่ยมด้วยคุณธรรม พระองค์ทรงถูกพระเทวีและราชองครักษ์ทรยศหักหลัง แต่พระองค์ก็ทรงให้อภัยทั้งสองคนด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ผลจากการให้อภัยทำให้บ้านเมืองของพระองค์เจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

อภัยโทษ

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเจ้าโกศล ผู้เข้าเผ้าด้วยความลำบากใจที่มีอำมาตย์และหญิงเป็นที่รักคบชู้กัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ทำหน้าที่สอนธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัต ในเมืองพาราณสี ในสมัยนั้น มีอำมาตย์คนหนึ่งแอบเป็นชู้กับหญิงคนรักของพระราชา พระองค์เองก็ทรงทราบอยู่บ้าง แต่ก็ไม่อาจตัดสินพระทัยที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะอำมาตย์เป็นผู้มีอุปการะคุณมาก และหญิงนั้นก็เป็นที่รักยิ่งของพระองค์

วันหนึ่งพระองค์ด้วยความโทรมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงรับสั่งให้อำมาตย์โพธิสัตว์มาเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามปัญหาเป็นคาถาว่า

“สระโบกขรณีมีน้ำเย็นใสสะอาด รสอร่อย เกิดอยู่ที่เชิงเขาหิมพานต์ น่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้อยู่ว่าสระนั้นราชสีห์รักษาอยู่ก็ยังลงไปดื่มกิน”

พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องนั้นอยู่แล้ว จึงกราบทูลเป็นคาถาเช่นกันว่า

“ข้าแต่มหาราช ถ้าสัตว์มีเท้าทั้งหลายพากันดื่มน้ำในมหานที แม่น้ำจะไม่ชื่อว่าเป็นแม่น้ำเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ หากว่าคน ๒ คนนั้นเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ก็ทรงอภัยโทษเสียเถิด”

พระราชาทรงคลายความโทรมนัสลงไปได้บ้าง และตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ จึงเรียกบุคคลทั้งสองเข้าเฝ้าและยกโทษให้แก่คนทั้งสอง พร้อมตรัสสอนว่า “นับตั้งแต่นี้ไปเจ้าทั้งสองอย่าได้กระทำกรรมชัวนี้อีก”

คนทั้งสองรับคำและก็เป็นคนดีมีศีลธรรมมาตั้งแต่วันนั้นตราบเท่าชีวิต

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนที่ไม่มีความชั่วโดยชาติกำเนิด ควรได้รับอภัยโทษให้กลับตัวกลับใจ และอาจทำประโยชน์ให้ได้มากมาย

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button