นิทานชาดก

นิทานชาดก : นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น

นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น เป็นนิทานชาดกที่สอนให้รู้ว่า อย่าอวดเก่งในสิ่งที่ตนเองไม่ชำนาญ นกหัวขวานตัวหนึ่งเคยอาศัยอยู่ในป่าไม้ทองหลาง ซึ่งไม้ในป่านั้นเนื้ออ่อนไม่มีแก่น นกหัวขวานจึงเจาะหาหนอนกินได้อย่างง่ายดาย วันหนึ่งนกหัวขวานบินมายังป่าไม้ตะเคียน ซึ่งไม้ในป่านั้นเนื้อแข็งมีแก่น นกหัวขวานเห็นว่าไม้ตะเคียนนั้นมีขนาดใหญ่จึงอยากจะเจาะหาหนอนกินบ้าง ถึงแม้ว่าเพื่อนนกหัวขวานจะเตือนว่าไม้ตะเคียนนั้นแข็ง แต่นกหัวขวานก็ไม่ฟัง สุดท้ายนกหัวขวานก็พยายามเจาะไม้ตะเคียนจนจะงอยปากหัก ตาทะลักออก และหัวแตกตายในที่สุด

นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระเทวทัตผู้เลียนแบบอย่างพระองค์แล้วถึงความพินาศ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกหัวขวานชื่อขทิรวนิยะ เที่ยวหากินอาหารอยู่ในป่าไม้ตะเคียนแห่งหนึ่ง มีเพื่อนนกหัวขวานตัวหนึ่งชื่อกันทคลกะ เที่ยวหากินอาหารอยู่ในป่าไม้ทองหลางแห่งหนึ่ง

ในวันหนึ่ง นกกันทคลกะมาหานกขทิรวนิยะที่ป่าไม้ตะเคียน นกขทิรวนิยะดีใจที่เพื่อนมาเยี่ยมจึงพาเพื่อนไปที่ต้นตะเคียนต้นหนึ่ง ใช้จะงอยปากเคาะต้นตะเคียนคาบตัวหนอนให้พื่อนกินอย่างอร่อย หกกันทคลกะเห็นเพื่อนส่งอาหารมาให้กิน ก็คิดอยากจะลองหากินแบบเพื่อนดูบ้างจึงพูดขึ้นว่า “สหาย อย่าได้ลำบากเลย เราจะหากินในป่าตะเรียนด้วยตัวของเราเอง”

นกขทิรวนิยะพูดห้ามว่า “สหาย ท่านเคยหากินอยู่แต่ในเขตป่าไม้ไม่มีแก่น ไม้ตะเคียนเป็นไม้มีแก่น ท่านจะไหวหรือ ?”
นกกันทคลกะพูดว่า “เราก็นกหัวขวานเหมือนกันกับท่านนี่”

ว่าแล้วก็ผลุนผันไปเอาจะงอยปากเคาะต้นตะเคียนต้นหนึ่งสุดแรงเกิด ดัง “ป๊อก ๆ ๆ” ทันใดนั่นเองจะงอยปากของมันได้หักทันทีตาทะลักออก หัวแตกตกจากต้นไม้ลงพื้นดิน นอนดิ้นไปมาได้ร้องถามก่อนสิ้นใจว่า

สหาย ต้นไม้ที่มีใบละเอียด มีหนามนี้เป็นต้นอะไร เราเจาะเพียงครั้งเดียว ทำให้สมองไหลหัวแตกเสียแล้ว
นกขิทรวนิยะได้ร้องตอบเป็นคาถาว่า

“นกกันทคลกะ เมื่อเจาะหมู่ไม้ในป่าได้เคยเที่ยวเจาะแต่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น ภายหลังมาพบต้นตะเคียนซึ่งมีแก่นโดยธรรมชาติ ได้ทำลายกระหม่อมที่ต้นตะเคียนนั้นแล้ว”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

อย่าอวดเก่งในสิ่งที่ตนเองไม่ชำนาญ

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button