นิทานชาดก

นิทานชาดก : เต่าตายเพราะปาก

นิทานชาดก : เต่าตายเพราะปาก เป็นนิทานชาดกที่สอนให้เรารู้จักควบคุมอารมณ์และคำพูดให้ดี เพราะคำพูดของเราอาจนำไปสู่ความหายนะได้ ดังเช่นเต่าในนิทานเรื่องนี้ที่พลาดท่าตายเพราะพูดไม่ระวัง

เต่าตายเพราะปาก

ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระโกกาลิกะผู้เดือดร้อนเพราะปาก ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ผู้สอนธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองเมืองพาราณสี โดยปกติพระราชาเป็นคนพูดมาก อำมาตย์พยายามหาอุบายกล่าวตักเตือนพระองค์อยู่แต่ก็ยังหาไม่ได้ สมัยนั้นที่สระแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์มีเต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ มันเป็นเพื่อนกันกับลูกหงส์ 2 ตัว

วันหนึ่ง ลูกหงส์ได้มาเยี่ยมเต่าและชักชวนมันไปเที่ยวที่ถ้ำทองด้วย โดยให้เต่าคาบไม้ตรงกลางแล้วหงส์จะคาบปลายทั้งสองข้างบินไป ก่อนไปได้ตกลงกับเต่าว่า “สหาย ท่านต้องอดทนไม่พูดอะไรกับใครจนกว่าจะถึงถ้ำของเรานะ มิเช่นนั้นท่านจะร่วงลงพื้นดินแน่ ๆ จะหาว่าเราไม่เตือน” เต่ารับคำอย่างมั่นเหมาะพอหงส์บินผ่านเมืองพาราณสี เด้กชาวบ้านได้พากันชี้และตะโกนว่า “เฮ้ ๆ พวกเรามาดูหงส์หามเต่า เร็ว ๆ” เต่าได้ฟังเช่นนั้นโกรธจึงปล่อยไม่เอ่ยปากว่า “เจ้าเด็กร้าย เราต่างหากหามหงส์ไป” มันได้ร่วงตกลงไปตายที่ท้องพระลานหลวง

ขณะนั้นอำมาตย์กำลังเข้าเฝ้าพระราชาอยู่พอดี พอมีเสียงคนว่า “มีเต่าตกจากอากาศมาตายตัวหนึ่ง”เท่านั้น พร้อมด้วยพระราชาได้ไปที่นั้น พระราชาตรัสถามถึงสาเหตุที่เต่าตกลงมาตายอำมาตย์โพธิสัตว์ได้โอกาสจึงให้โอวาทพระราชาเป็นคาถาว่า

“เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนเองแล้วหนอ เมื่อคาบท่อนไม้อยู่ดีแล้ว กลับฆ่าตนเองเสียด้วยคำพูดของตนเองนั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในหมู่วีรชน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เห็นเหตุวันนี้แล้วควรพูดให้ดี ไม่ควรพูดให้เกินเวลา ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรเต่าผู้ถึงความพินาศเพราะพูดมาก”

พระราชาทราบว่าอำมาตย์พูดถึงพระองค์จึงตรัสถามว่า “ที่ท่านพูดหมายถึงเราใช่ไหม ?” อำมาตย์โพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า”มหาราชเจ้า..ไม่ว่าพระองค์หรือใครคนไหน ๆ เมื่อพูดเกินประมาณย่อมถึงความพินาศกันทั้งนั้น” ตั้งแต่วันนั้นมา พระราชาได้ทรงตรัสแต่น้อยลง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ควรพูดให้ถูกกาละเทศะและพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อย่างเป็นคนพูดมาก เข้าทำนองน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button