นิทานชาดก

นิทานชาดก : นกคุ่มโพธิสัตว์

ในอดีตกาลกาลครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ทรงเสวยพระชาติเป็นนกคุ่มโพธิสัตว์ อาศัยอยู่ในป่าใหญ่แห่งหนึ่ง วันหนึ่ง เกิดไฟป่าขึ้นอย่างรุนแรง ไหม้ป่าไปทั่วบริเวณ นกคุ่มน้อยผู้เป็นลูกของนกคุ่มโพธิสัตว์ ตกอยู่ในวงล้อมของไฟป่า ด้วยความกลัวตาย นกคุ่มน้อยจึงนึกถึงคุณแห่งศีล และตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “ขอไฟป่าจงดับลงด้วยอานิสงส์แห่งศีลของข้าพเจ้า”

นกคุ่มโพธิสัตว์

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธชนบททั้งหลาย ทรงปรารภการดับไฟป่า

เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ได้ไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวมคธแห่งหนึ่ง ฉันเสร็จแล้วเสด็จไปตามทาง วันนั้น เกิดไฟป่ารอบด้าน พวกภิกษุปุถุชนต่างกลัวตายจึงพากันจะดับไฟ ถูกพวกภิกษุห้ามไว้และให้อยู่ในอาการที่สงบ ไฟป่าไหม้มารอบด้าน พอใกล้เข้ามาหาพื้นที่พระพุทธองค์และหมู่สงฆ์อยู่ก็ดับไปเอง สร้างความแปลกประหลาดใจแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อคลายความสงสัยของพวกภิกษุ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีนกคุ่มผัวเมียคู่หนึ่งกำลังมีลูกน้อยตัวหนึ่ง ทุกวันนกคุ่มผัวเมียจะออกจากรังไปหาอาหารมาป้อนลูกนกอยู่เป็นประจำ

วันหนึ่ง เกิดไฟไหม้ป่ารอบข้าง นกต่างๆ รวมทั้งนกคุ่มสองผัวเมีย ได้บินออกจากรังไป เพราะกลัวตาย ปล่อยให้นกคุ่มลูกน้อยนอนผจญภัยอยู่ตามลำพัง นกคุ่มน้อยเมื่อเห็นไฟไหม้ใกล้เข้ามา จึงรำลึกถึงคุณแห่งศีลว่า

“คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัจ ความสะอาด และความเอ็นดู มีอยู่ในโลก ด้วยความสัจนั้น ข้าพเจ้าจักทำสัจกิริยาอันยอดเยี่ยม ข้าพเจ้าพิจารณากำลังแห่งธรรม ระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา”

แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

“ปีกของเรา มีอยู่ แต่ก็บินไม่ได้ เท้าทั้งสองของเรา มีอยู่แต่ก็เดินไม่ได้ มารดาและบิดาของเรา ออกไปหาอาหาร นี่ไฟป่า ท่านจงถอยกลับไปเสีย”

ด้วยอำนาจแห่งการทำสัจกิริยาของลูกนกคุ่มไฟป่าได้ดับลงไปหมดสิ้น

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คุณของศีลทำให้รอดพ้นภัยวิบัติได้

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button