นิทานชาดก

นิทานชาดก : ปลาเจ้าปัญญา

ในสมัยพุทธกาล มีปลาสามตัวเป็นเพื่อนสนิทกัน อาศัยอยู่ในป่าลึกแห่งหนึ่ง วันหนึ่ง พวกเขาถูกกระแสน้ำพัดพามายังถิ่นมนุษย์ ปลาทั้งสองตัวแรกคือ พหุจินตี และ อัปปจินตี ตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ ๆ ที่อยู่รอบตัว จึงลืมตัวว่าอยู่ในพื้นที่อันตราย พวกเขาเพลิดเพลินกับการกินอาหารและเที่ยวเล่นจนลืมเวลา จนกระทั่งชาวประมงวางข่ายดักปลา พวกเขาจึงติดข่ายและตกอยู่ในอันตราย

ปลาเจ้าปัญญา

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้เฒ่า 2 รูป ที่ผลัดวันประกันพรุ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีปลา 3 ตัว เป็นสหายกันชื่อว่า พหุจินตี อัปปจินตี และมิตจินตี ตามลำดับ พากันว่ายออกจากป่าลึกเข้ามาใกล้ถิ่นมนุษย์หากิน

ปลามิตจินตีบอกกับเพื่อนๆว่า ” ถิ่นมนุษย์เต็มไปด้วยภัย พวกชาวประมงพากันดักข่ายและไซพวกเรา เข้าป่าลึกตามเดิมเถอะเพื่อน ” ปลาอีก 2 ตัว พูดว่า ” วันพรุ่งนี้ พวกเราค่อยไปเถิด ” เพราะความเกียจคร้านและติดใจในเหยื่อจนเวลาล่วงไปถึง 3 เดือน

ชาวประมง ได้เริ่มวางข่ายดักปลาในแม่น้ำ ปลาพหุจินตีและอัปปจินตี เมื่อออกหาอาหารพากันว่ายไปข้างหน้าอย่างไม่ระวัง ก็ว่ายเข้าไปในท้องข่ายทันที ส่วนปลามิตจินตี มาทีหลังได้กลิ่นข่ายก็ทราบว่าเพื่อนอีก 2 ตัว ติดข่ายแล้ว จึงช่วยเพื่อนด้วยการแสดงลวงให้ชาวประมงเข้าใจว่าข่ายขาดปลาหนีไปได้ ด้วยการกระโดดข้ามข่ายไปมา พวกชาวประมงจึงยกข่ายขึ้นด้วยเข้าใจว่าข่ายขาด ปลาอีก 2 ตัว จึงรอดออกมาได้ ด้วยการช่วยเหลือของปลามิตจินตี

พระพุทธองค์ เมื่อตรัสเล่าอดีตนิทานแล้ว ได้ตรัสพระคาถาว่า

” ปลาชื่อพหุจินตีและปลาชื่ออัปปจินตี ทั้ง 2 ตัวติดอยู่ในข่าย ปลาชื่อมิตจินตีได้ช่วย ให้หลุดพ้นจากข่าย ปลาทั้ง 2 ตัว จึงได้มาพร้อมกันกับปลามิตจินตี ในแม่น้ำนั้น “

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button