เรื่องน่าสนใจ

ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา 2567 ณ อุบลราชธานี วันไหน?

ร่วมสนุกกับงานแห่เทียนที่อุบลราชธานี เป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปของประเทศไทย ชมเทียนและงานประกวดที่ให้ชิงรางวัลระดับประเทศ ร่วมสัมผัสความสุขและอบอุ่นของงานแห่เทียน อุบลราชธานี พบกับเทศกาลแห่เทียนที่ไม่เหมือนใคร

แห่เทียนพรรษา ก่อนถึงวันเข้าพรรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี) พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะถือโอกาสเข้าวัดทำบุญ ถวายเทียนพรรษา ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ถึงแม้ว่าปัจจุบันการถวายเทียนได้ถูกปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับเหตุการณ์ เป็นการถวายหลอดไฟฟ้าแทนแล้วก็ตาม การถวายเทียนพรรษาก็ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยในฐานะประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประวัติงานแห่เทียนเข้าพรรษา

ประวัติงานแห่เทียนเข้าพรรษา

ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่เทียนพรรษา (ภาษาอังกฤษ: Candle Festival) ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่ เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้น ๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

Advertisement

ในระยะเวลาประมาณปี 2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่าย ๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่าย ๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ

แห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี 2567 วันไหน?

งานแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี ประเพณีอันงดงามที่สืบทอดมายาวนาน กว่า 120 ปี เป็นงานที่แสดงถึงความศรัทธาของชาวพุทธต่อพระพุทธศาสนา แห่ 2 วัน 2 คืน จุดแสดงเริ่มจากหน้าวัดศรีอุบล ไปตามถนนอุปราช และถนนชยางกูร

วันงาน:

  • ตั้งโชว์รวมเทียน รอบทุ่งศรีเมือง: 19 กรกฎาคม 2567
  • แห่เทียนกลางวัน และแสดงแสงเสียงภาคกลางคืน : 20 และ 21 กรกฎาคม 2567
เทียนพรรษา

เทียนพรรษา

การทำเทียนพรรษา

มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา

ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก

ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก คือ “มัดรวมติดลาย” เป็นการเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัด รวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อใช้จุดให้ได้นาน โดย การใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อ เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วจึงนำมาติดที่ฐาน และจัด ขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด

การตกแต่งต้นเทียน

การตกแต่งต้นเทียน เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน

ปี 2482 มีช่างทองชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมี การทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์ซึ่งถือว่าเป็นแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน

ต่อมา นายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสี จนเห็นได้ชัด เมื่อส่งเทียนเข้า ประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ และในปี 2497 นายประดับ ก้อนแก้ว คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็น เรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้ เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ และชนะเลิศมาทุกปี ในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์

ปี 2502 มีช่างแกะสลักลงในเทียนพรรษาคนแรก คือ นายคำหมา แสงงาม และ คณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน ทำให้ในปี ต่อ ๆ มามีการแยกประเภทต้นเทียนออกเป็น 2 ประเภทชัดเจน คือ

  1. ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)
  2. ประเภทแกะสลัก

การทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างแท้จริง

ประเภทต้นเทียน

ประเภทต้นเทียน

การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก

ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2502 โดยนายคำหมา แสงงาม ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 หลังจากหล่อและกลึงต้นเทียนแล้ว จะเริ่มแกะสลักต้นเทียนด้วยขั้นตอน ดังนี้

ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการ่างทั้งส่วนฐานลำต้นและยอดเทียน ใช้เครื่องมือแกะสลักซึ่งจะมีการเซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ แก้ไขส่วนที่บกพร่องในระหว่างการแกะสลักอาจมีการผิดพลาดได้ เช่น รูปที่แกะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือบางส่วนแตกหัก ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียนพรรษา

  1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่าง ๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียวและโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว
  2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง
  3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน
  4. แปรงทาสีชนิดดี

การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์

การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มีขั้นตอนและวิธีการคล้ายกันกับการหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลักทุกขั้นตอน แต่มีความแตกต่างกัน 2 ประการ

  1. การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้ซึ่งมีราคาถูก แต่การหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพดี และราคาแพงกว่า ทั้งนี้ก็เพราะว่าหากขี้ผึ้งคุณภาพไม่ดี เมื่อแกะสลักลึกและซับซ้อนหลายขั้นขี้ผึ้งจะแตกหัก
  2. ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์มักหล่อให้มีขนาดเล็กกว่าต้นเทียนประเภทแกะสลัก เพราะการหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์จะต้องนำไปกลึงให้เป็นรูปและขนาดเล็กลงบางส่วน แล้วจึงติดดอกเสริมโดยรอบให้หนาขึ้นส่วต้นเทียนประเภทแกะสลัก ต้องทำให้มีขนาดใหญ่เอาไว้ เพื่อที่จะแกะสลักหรือขูดออก
สถานที่จัดประเพณีแห่เทียนพรรษา

สถานที่จัดประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนนั้นจัดขึ้นทุกภาคของประเทศไทย ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคอีสาน แต่งานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดจะอยู่ที่ภาคอีสาน เช่น งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ

  • ประเพณีเดินเทียนและตักบาตรดอกไม้ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
  • ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
  • งานแห่เทียนพรรษาโคราช
  • งานแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ณ คลองลาดชะโด
  • งานประเพณีแห่เทียนพรรษาประโคนชัย
  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้เข้าพรรษา
  • ประเพณียายดอกไม้ (ตักบาตรดอกไม้)

สรุป

ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาเป็นประเพณีที่งดงามและควรค่าแก่การอนุรักษ์ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณีจะช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่รู้จักและสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ต่อไป

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee