วันสำคัญ

วันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก

วันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก (World Oceans Day) คือ วันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล

วันทะเลโลก

วันทะเลโลก

วันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก (World Oceans Day) ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล กำหนดขึ้นมาอย่างเป็นทางการโดยสหประชาชาติ เริ่มขึ้นในปี 2552 แนวความคิดนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2535 จากแนวความคิดของประเทศแคนาดา ในการประชุมความร่วมมือของกลุ่มประชาคมโลก (The Earth Summit) ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล โดยหลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาทุกปี จนกระทั่งกำหนดเป็น วันมหาสมุทรโลก หรือ วันทะเลโลก

มหาสมุทรมีความสำคัญมากมายกว่าที่หลาย ๆ คนจะคาดถึงเลยทีเดียว อากาศที่เราหายใจกันอยู่ทุกวันนี้ที่ประกอบด้วยออกซิเจนนั้น กว่าร้อยละ 70 ของก๊าซออกซิเจนมาจากสาหร่ายเซลล์เดียวหรือแพลงตอนพืชที่ลอยอยู่ในน้ำทะเล มหาสมุทรยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับมนุษย์ นอกจากอาหารทะเลแล้ว ยังรวมถึงเกลือ และแร่ธาตุต่าง ๆ ยารักษาโรคเพื่อช่วยชีวิตเราในยามเจ็บป่วย ท้องทะเลมหาสมุทรยังให้ความสวยงามสบายตาให้เราได้ชื่นชม เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีหาดทราย มีแนวปะการัง เป็นที่ว่ายน้ำผ่อนคลาย มหาสมุทรยังทำหน้าที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ เป็นแหล่งพลังงานทั้งก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ พลังงานลมและคลื่น มหาสมุทรช่วยดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาทั้งหมดได้ถึง 25% มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 80% บนโลก

ความสำคัญวันทะเลโลก

พัน กี-มุน (Ban Ki-moon) เลขาธิการสหประชาชาติได้ออกแถลงการณ์ในวันทะเลโลกของทุกปีเพื่อให้ชาวโลกได้เห็นความสำคัญของวันดังกล่าว โดยเรียกร้องให้รัฐบาลและประชาชนของทุกชาติช่วยกันปกป้องรักษาทะเลเพื่อสิ่ง มีชีวิตในรุ่นหลัง พร้อมทั้งเตือนว่าในอนาคต ทั่วโลกจะต้องเผชิญผลกระทบจากทะเลอย่างหนัก ซึ่งทาง UN เรียกร้องโลกให้อนุรักษ์ทะเล และหากมีการใช้ทรัพยากรทางทะเลจนหมด จะทำให้เกิดผลกระทบจากสภาวะอากาศแปรปรวน ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทางทะเล การตกงานของชาวประมง ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

Advertisement

หลังพบว่า ขยะในทะเลส่งผลกระทบมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และสร้างความเสียหายให้กับเรือและเครื่องมือประมงตลอดจนส่งผลต่อจำนวนสัตว์ทะเลหายาก ที่ได้รับบาดเจ็บจากการกินขยะพลาสติกทำให้ติดบริเวณทางเดินอาหาร ส่งผลให้สัตว์ทะเลต้องตายเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการรณรงค์ และกระตุ้นคนไทยให้หันมาอนุรักษ์ท้องทะเลไทย เนื่องในวันทะเลโลก เพราะจากการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าปัญหาในท้องทะเลส่วนใหญ่มาจากขยะพลาสติกตามทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์

ทุกคนต้องตระหนักถึงปัญหาขยะในท้องทะเลอย่างจริงจัง และหยุดพฤติกรรมดังกล่าว การปลุกจิตสำนึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ประสบความสำเร็จเพราะประชาชนส่วนยังคงใช้ถุงพลาสติกในการใส่อาหาร จึงต้องการให้ทุกคนถือเอาวันทะเลโลก เป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์ หวงแหนท้องทะเลไทย และการแก้ไขปัญหาขยะในท้องทะเลที่ผ่านมา

คำขวัญวันทะเลโลก

กิจกรรมวันทะเลโลก

เราจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรให้มากกว่าที่เคยทำมา เนื่องจากมหาสมุทรต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อที่จะสามารถต่อกรกับการล่มสลายของระบบนิเวศซึ่งเริ่มก่อตัวในดินแดนแห่งท้องทะเลแล้ว

ประเทศไทยมีทรัพยากรทางทะเลมากเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงชาวไทยและ สามารถส่งออกไปภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกได้อย่างยั่งยืนหากเราตระหนักที่จะดูแลท้องทะเลรักษาประโยชน์ร่วมกัน การใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งและการพัฒนากิจการประมงที่ผ่านมาของไทยเป็นไปในทางทำลายเพื่อกอบโกยทรัพยากรและเงินให้มากที่สุด หากเรายังคงเดินหน้าทำลายทะเลจนเกินสมดุล ผลกระทบที่ตามมาคือปลาและสิ่งมีชีวิตจะหมดไปมหาสมุทร

การศึกษาการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทางกายภาพ และทรัพยากรทางทะเลทางชีวภาพตลอดจนระบบนิเวศ โดยเป็นการป้องกันและรักษาระบบนิเวศในมหาสมุทรและทะเลผ่านการจัดการตามแผนเพื่อป้องกันการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้ การอนุรักษ์ทางทะเลเป็นผลมาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมของเรา เช่น การสูญพันธุ์, การทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ

รวมถึงมุ่งเน้นไปที่การจำกัดความเสียหายของมนุษย์ต่อระบบนิเวศทางทะเล, การฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลที่เสียหาย และรักษาสายพันธุ์ที่อ่อนแอ ตลอดจนระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตทางทะเล การอนุรักษ์ทางทะเลเป็นระเบียบวินัยที่ค่อนข้างใหม่ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อประเด็นทางชีววิทยา เช่น การสูญพันธุ์ และที่อยู่อาศัยใต้ทะเลที่เปลี่ยนไป

คำขวัญวันทะเลโลก

  • ธรรมชาติเป็นของท่าน จงยึดมั่นรักษามัน
ทะเล

ทะเล

ทะเล คือ แหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อกล่าวถึงกว้าง ๆ ทะเล คือระบบที่เชื่อมกันระหว่างผืนน้ำมหาสมุทรน้ำเค็มบนโลก ถือเป็นมหาสมุทรโลก หรือแยกเป็นมหาสมุทรหลาย ๆ แห่ง ทะเลบรรเทาภูมิอากาศของโลก และมีบทบาทสำคัญในวัฏจักรน้ำ และวัฏจักรคาร์บอน แม้ว่ามีการเดินทางและสำรวจทะเลตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เกี่ยวกับทะเลที่เรียกว่า สมุทรศาสตร์ สืบย้อนไปได้ถึงคณะเดินทางแชลเลนเจอร์ของชาวอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1870 ทะเลถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ 5 ส่วน รวมถึงมหาสมุทร 4 แห่ง ที่ตั้งชื่อโดยองค์การอุทกศาสตร์สากล (มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรอาร์กติก) และมหาสมุทรใต้ ทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า และอยู่ในระดับรองลงมา เช่น ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

น้ำทะเล

น้ำทะเล เป็นของเหลวที่ได้จากทะเลหรือมหาสมุทร โดยทั่วไปมหาสมุทรทั่วโลกมีความเค็ม (salinity) ประมาณ 3.5% หรือ 35 ส่วนต่อพันส่วน นั่นหมายความว่าในน้ำทะเลทุก ๆ 1 กิโลกรัม จะพบเกลืออยู่ 35 กรัม (ส่วนมากจะพบในรูปของไอออนโซเดียมคลอไรด์ (Na+, Cl−) ความหนาแน่นเฉลี่ยที่ผิวน้ำของมหาสมุทรอยู่ที่ 1.025 กรัมต่อมิลลิลิตร น้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืด (น้ำจืดมีความหนาแน่นสูงสุดที่ 1.000 กรัมต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส) เพราะน้ำทะเลมีความหนักของเกลือและ Electrostriction (ไฟฟ้าที่ไม่นำกระแส แต่อยู่ในเรื่องของสนามไฟฟ้า) จุดเยือกแข็งของน้ำทะเลอยู่ที่อุณหภูมิ −2 องศาเซลเซียสหรือ 28.4 องศาฟาเรนไฮต์ นับว่ามากกว่าน้ำจืด ในน้ำทะเลที่มีความเข้มข้น 35 ส่วนต่อพันส่วน (35 ppt)

ปัญหาระบบนิเวศทางทะเล

ปัญหาระบบนิเวศทางทะเล

น้ำมันรั่วในทะเล

การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีความต้องการใช้พลังงานต่าง ๆ มากขึ้น โดยที่น้ำมันเป็นพลังงานที่มีความต้องการแปรผันตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นกิจกรรมการนำเข้าและส่งออกน้ำมันจากต่างประเทศโดยใช้การขนส่งทางทะเลจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กันไป เราจึงพบการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้น้ำมันเกิดการรั่วไหลลงสู่ทะเลเกิดขึ้นอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุจากเรือ การขุดเจาะน้ำมัน หรือการลักลอบปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำ

ไมโครบีดส์ (Microbeads)

ขณะที่เราใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าหรือแปรงฟัน เราอาจสร้างผลกระทบ ให้กับสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอาจมี ไมโครบีดส์ (Microbeads) ผสมอยู่ โดยที่ไมโครบีดส์ คือพลาสติกพอลิเอทิลีน หรือพอลิพรอพเพอร์ลีนในรูปของไมโครสเฟียร์ (Microspheres) ขนาดเล็กมากจนแทบจะมองไม่เห็นและเป็นวัตถุที่ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ ซึ่งจะยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำตลอดไป

ประมงผิดกฎหมาย

สัตว์น้ำในทะเลเป็นทรัพยากรธรรมชาติและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ โดยยืนยันได้จากข้อเท็จจริงทางสถิติตัวเลขดังที่กล่าวถึงในข้างต้น ดังนั้นหากไม่มีการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลอย่างยั่งยืนสัตว์น้ำในทะเลก็อาจสูญพันธ์ุไปในที่สุด

การท่องเที่ยวทางทะเลที่ไม่อนุรักษ์ธรรมชาติ

การท่องเที่ยวทางทะเลนั้นมีกิจกรรมให้เลือกทำมากมาย เช่น การดำน้ำดูปะการัง การเล่นเรือใบ การท่องเที่ยวทางทะเลด้วยเรือยอช์ต การท่องเที่ยวชายหาด เป็นต้น

World Ocean Map

มหาสมุทรในโลก

มหาสมุทรในโลกแบ่งเป็น 4 มหาสมุทร

  • มหาสมุทรแปซิฟิก
  • มหาสมุทรแอตแลนติก
  • มหาสมุทรอาร์กติก
  • มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรแปซิฟิก

  • เป็นมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีเนื้อที่ประมาณ 166,242,000 ตร.กม.
  • จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณ Mariana Trench ลึกประมาณ 3,939 เมตร

มหาสมุทรแอตแลนติก

  • ตั้งอยู่ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับไต้ มีเนื้อที่ประมาณ 86,557,000 ตร.กม. เป็นมหาสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
  • จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณ Puerto Rico Trench ลึกประมาณ 3,575 เมตร

มหาสมุทรอินเดีย

  • ตั้งอยู่ระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปออสเตรเลีย มีเนื้อที่ประมาณ 73,427,500 ตร.กม. ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก
  • จุดลึกที่สุดของมหาสมุทรอินเดีย บริเวณ Java Trenech ลึกประมาณ 3,840 เมตร

มหาสมุทรอาร์คติก

  • ตั้งอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 13,224,000 ตร.กม. เป็นมหาสมุทรที่เล็กที่สุดในโลก
  • จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอาร์คติก บริเวณ Eurasia Basin ลึกประมาณ 1,038 เมตร

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee