วันสำคัญ

วันต่อต้านยาเสพติด วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

วันต่อต้านยาเสพติด ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน ร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา

วันต่อต้านยาเสพติด

วันต่อต้านยาเสพติดโลก (International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking) ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เป็นวันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยหมายความถึงยาเสพติด ยึดถือเป็นวันสำคัญประจำปีมาตั้งแต่การประกาศเมื่อ 26 มิถุนายน 2531

โดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม 2530 ซึ่งประเทศไทยหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทั่วโลก ด้วยการจัดกิจกรรมเนื่องใน วันต่อต้านยาเสพติด เป็นประจำเสมอมา ดังนั้น เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนไทยเกิดความตระหนักว่ายาเสพติดเป็นปัญหาของคนไทยทั้งชาติ ที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข

กิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติด

รัฐบาลกำหนดนโยบายให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ โดยมียุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด”เป็นยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยการระดมสรรพกำลังของทุกภาคส่วนร่วมเป็นพลังแผ่นดินในการเอาชนะยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานยาเสพติด จึงกำหนดเร่งดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติ เพื่อสนองต่อนโยบายรัฐบาล รวมถึงการกำหนดนโยบายในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมให้สอดรับกับแผนและยุทธศาสตร์การดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล

Advertisement

วัตถุประสงค์กิจกรรม วันต่อต้านยาเสพติด

  1. เพื่อให้ประชาชน ชุมชน เยาวชน และหน่วยงานภาคี รับรู้และเห็นถึงความสำคัญของ วันต่อต้านยาเสพติด ในการที่จะร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด
  2. เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคีของคนในชาติ ที่ร่วมเป็น “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด”
  3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในทุกภาคส่วนของสังคมเกิดความตระหนักถึงภัยจากยาเสพติดและเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อการเอาชนะยาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืน
  4. เพื่อให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของการผนึกกำลังของคนในชาติ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด

  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2561 — “ไทยนิยมยั่งยืน ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2560 — “ทำดีเพื่อพ่อ สานต่อแก้ปัญหายาเสพติด” (Do Good Deeds for Dad against Drugs” 26 June, International Day Against Drug Abuse and Illicit Trafficking)
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2559 — “ประชารัฐร่วมใจ ปลอดภัย ยาเสพติด เฉลิมพระเกีรติ 70 ปี ทรงครองราชย์”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2558 — “คิดดี ทำดี ต่อต้านยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2557 — “สังคมปลอดภัย ชุมชนอุ่นใจ ได้ลูกหลานกลับคืน”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2556 — “คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด” ภายใต้คำขวัญ “ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2555 — “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เทิดไท้ 80 พรรษา มหาราชินี”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2554 — “สานต่อพระราชปณิธาน หยุดยั้งยาเสพติด หยุดหายนะแผ่นดิน”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2553 — “ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2552 — “ทำความดี ตามคำพ่อ” ภายใต้คำขวัญ “รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2551 — “รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2550 — “รวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2549 — “60 ปี ทรงครองราชย์ รวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2548 — “พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2546 — “พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด”

คำขวัญ วันต่อต้านยาเสพติด

  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2545 — “พลังมวลชน พลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด : The Power of people can conquer illicit drugs”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2544 — “รวมพลังแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2543 — “รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2542 — “รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2541 — “ร่วมใจเล่นกีฬา ใช้ชีวิตอย่างรู้ค่า ไม่พึ่งพายาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2540 — “เล่นกีฬา ใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2539 — “มุ่งทำความดี มีวินัย หลีกไกลยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2538 — “ล้อมรักให้ครอบครัว เหมือนล้อมรั้วป้องกันยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2537 — “ยาเสพติดป้องกันได้ ด้วยความเข้าใจจากครอบครัว”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2536 — “ผิดกฎหมาย ทำลายชีวิต หากติดสารระเหย”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2535 — “สมองฝ่อ รักษาไม่หาย คือพิษร้ายจากยาเสพติด”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด 2534 — “ประสาทหลอน เป็นโรคจิตวิกลจริต เพราะกินยาบ้า”

คําขวัญ วันต่อต้านยาเสพติดโลก

  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2561 — “Listen First – Listening to children and youth is the first step to help them grow healthy and safe.”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2560 — “Listen First – Listening to children and youth is the first step to help them grow healthy and safe.”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2559 — “A message of hope: Drug use disorders are preventable and treatable.”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2558 — “Think Health, Not Drugs”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2557 — “Drug use disorders are preventable and treatable”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2556 — “Make health your “new high” in life, not drugs.”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2555 — “Do drugs control your life ? Your life. Your community. No place for drugs”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2554 — “Global Action for Healthy Communities Without Drugs”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2553 — “Health is the ongoing theme of the world drug campaign.”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2550-2552 — “Do drugs control your life? Your life. Your community. No place for drugs.”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2549 — “Value yourself…make healthy choices”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2548 — “Drugs is not child’s play”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2547 — “Drugs : treatment works”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2546 — “Let’s talk about drugs”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2545 — “Substance abuse and HIV/AIDS”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2544 — “Sports against drugs”
  • คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดโลก 2543 — “Facing reality: denial, corruption and violence”
ยาเสพติด

ยาเสพติด

สารเสพติด หรือ ยาเสพติด (ภาษาอังกฤษ: Drugs) หมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ

ประวัติยาเสพติด

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการนำเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาระงับประสาทและรักษาโรคลมชัก ซึ่งได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบัน แต่โบรไมด์สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และทำลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เคียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาบิทเชอริท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็นที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี 2498 คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ 1 ระหว่าง 2503 – 2513 ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (LSD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน

ระหว่างปี 2503 – 2513 ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง 2513 ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmanเป็นผู้ค้นพบในปี 2496 เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการคล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด “Repression” ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในอเมริกา

ดอกกัญชา weed
ดอกกัญชา

โทษของยาเสพติด

แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า

ลักษณะทั่วไป

เป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่เก็บความจำ ความคิดและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มีชื่อเรียกทางการค้าต่าง ๆ กัน เช่น เบนซีดรีน เด็กซีดรีน ฟีนามีน ฯลฯ แต่ในกลุ่มผู้เสพนิยมเรียกกันว่า ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาเพิ่มพลัง และสุดท้ายเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ยาบ้า ผงแอมเฟตามมีนเมื่อนำมาผลิตอัดเป็นเม็ดจะมีหลายลักษณะทั้งเม็กกลมและแคปซูน มีหลายสี แต่ส่วนมากมีสีขาว สีน้ำตาล เม็ดกลมแบน มีลักษณะบนเม็ดยา เช่น รูปหัวม้า 99 รูปดาว LONDON ฯลฯ ในอดีต วงการแพทย์ใช้แอมเฟตามีนรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต โรคซึมเศร้า โรคง่วงเหงาหาวนอน ใช้ลดความอ้วน แต่ด้วยอาการติดยา และมีผลเสียต่อสุขภาพจึงเลิกใช้ในปัจจุบัน ฤทธิ์ของแอมเฟตามีนจะมีผลมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นกับปริมาณยา ระยะเวลาของการใช้ยา สภาพของร่างกายผู้เสพ และเอกลักษณ์ทางเคมีของตัวยาว่ามีมาก้อยเพียงใดเป็นสำคัญ

อาการของผู้เสพติดแอมเฟตามีนหรือยาบ้า

ฤทธิ์ของแอมเฟตามีนหรือยาบ้าส่งผลกระทบต่อผู้เสพ ก่อให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจดังต่อไปนี้

ผลกระทบของยาเสพติดอาการทางกาย

ผู้เสพแอมเฟตามีนหรือยาบ้าประมาณ 20-30 กรัมต่อวัน จะมีอาการเบื่ออาหาร พูดมากตื่นเต้นง่าย มือสั่น คลื่นไส้ ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง หน้ามัน ไม่ง่วง ทำงานได้นานกว่าปกติ รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด ท้องเสีย มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย จะทำให้ตัวซีดจนอาจเขียว มีไข้ขึ้นใจสั่น หายใจไม่ออก มือสั่นมาก เดินโซเซ คลื่นไส้อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อาจชักหมดสติหรือเสียชีวิตด้วยอาการของโรคหัวใจวาย หรือหลอดเลือดในสมองแตก นอกจากนี้ผู้เสพยาบ้า ยังมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคตับอักเสบ ไตไม่ทำงาน โรคเกี่ยวกับปอด และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ได้ง่าย

ผลกระทบของยาเสพติดด้านจิตใจ

เนื่องจากยาบ้ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทส่วนกลางและเป็นยาที่ถูกดูดซึมได้ง่าย จึงต้องเพิ่มขนาดเสมอ ๆ และเมื่อเสพต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการทางจิต คือ หวาดระแวง วิตกกังวล มีอาการประสาทหลอน บางรายเพ้อ คลุ้มครั่ง อาจเป็นบ้า ทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้

อีเฟดีน หรือ ยาอี

ลักษณะทั่วไป

เป็นผงละเอียดสีขาว ที่มักเรียกกันว่า ยาอี ยาเอฟ หรือ ยาอี๊ เมื่อนำมาผลิตจะมีหลายลักษณะ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับยาบ้าจึงระบาดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยมีการนำมาใช้แทนยาบ้า ก่อให้เกิดปัญหาต้อชีวิตและทรัพย์สินส่วนรวมอย่างมากมายกฎหมายจึงมีการควบคุมและมีมาตรการลงโทษเช่นเดียวกับยาบ้าด้วย

อาการของผู้เสพติดอีเฟดีน

จะมีอาการคล้ายกับผู้ติดยาบ้า

ฝิ่น

ลักษณะทั่วไป

ฝิ่นเป็นพืชล้มลุก เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล (กระเปาะ) มีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็นเขียว รสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ หากนำมาเคี้ยว ต้ม หรือหมักจนเป็นฝิ่นสุก จะมีสีน้ำตาลไหม้ปนดำ มีรสขมเฉพาะตัว ในอดีตทางการแพทย์ใช้เป็นยาระงับปวด แก้โรคท้องเดิน และอาการไอ ด้วนมีฤทธิ์กดระบบประสาท

อาการของผู้เสพติดฝิ่น

ขณะเสพผู้เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจากวน อารมณ์ดี ความคิดและการตัดสินใจเชื่องช้า ผู้เสพฝิ่นติดต่อกันมานาน สุขภาพร่างการจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ตาเหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงนอน เกรียจคล้านไม่รู้สึกตัว อารมณ์แปรปรวนง่าย ชีพจร เต้นช้า ความจำเสื่อม หากไม่ได้เสพจะมีอาการหงุดหงิด น้ำมูกน้ำตาไหลม่านตาขยายผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หายใจ ลำบาก อาจชักและหมดสติ

มอร์ฟีน

ลักษณะทั่วไป

เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำง่าย มีฤทธิ์กดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น 8-10 เท่าเสพติดได้ง่าย มีลักษณะต่างกันเช่น เป็นเม็ด ผง หรือแท่งสี่เหลี่ยม

อาการของผู้เสพติดมอร์ฟีน

ด้วยฤทธิ์กดประสาท ผู้ที่เสพมอร์ฟีนในระยะแรกจะช่วยทำให้ลดความวิตกกังวลคลายความเจ็บปวดทางร่างกายและทำให้ง่วงนอน หลับง่าย หากใช้เพื่อการรักษาต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ แต่ผู้ที่เสพจนติดแล้วฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะทำให้เหม่อลอย เซื่องซึม เป็นต้น

เฮโรอีน

ลักษณะทั่วไป

เป็นสารเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุด ได้มาจากกรรมวิธีทางเคมี ฤทธิ์มีความรุนแรงกว่ามอร์ฟีน 4-8 เท่า มีสองชนิดคือ ผงขาวเป็นเฮโรอีนบริสุทธ์ และไอละเหย เป็นเฮโรอีนไม่บริสุทธิ์

อาการของผู้ที่เสพติดเฮโรอีน

ผู้ที่เสพครั้งสองครั้งอาททำให้ติดเฮโรอีนได้ทันที ขณะเสพจะออกฤทธิ์กดประสาททำให้มึนงง เซื่องซึม ง่วง อ่อนเพลีย เคลิ้มหลับได้นานโดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ผู้ที่เสพประจำจะทำให้สมองเสื่อม ปัญญาอ่อน ร่างกายซีดผอม สุขภาพทรุดโทรม ถึงขั้นช็อกละเสียชีวิตได้

โคเคน

ลักษณะทั่วไป

โคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จาการสังเคราะห์ใบของต้นโคคาที่แปรสภาพสุดท้ายเป็น Cocaine Hydrochloride อันเป็นโคเคนบริสุทธิ์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วยกลางเหมือนยาบ้า แต่จะทำให้ติดยาได้ง่ายกว่า มีลักษณะเป็นผงละเอียด สีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น

อาการของผู้เสพติดโคเคน

เมื่อเสพโคเคนเข้าไประยะแรกจะทำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าคล้ายมีกำลังมากขึ้น ไม่เหนื่อย แต่จะอ่อนล้าทันทีเมื่อหมดฤทธิ์และมีอาการซึมฤทธิ์ของโคเคนจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้ชักและเสียชีวิตได้

กัญชา

ลักษณะทั่วไป

กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า จะใช้ใบและยอดช่อดอกตัวเมียมาตากหรืออบแห้ง แล้วหั่นหรือบดมาสูบกับบุหรี่หรือใช้บ้องไม่ไผ่ อาจใช้เคี้ยวหรือบดในอาหาร ออกฤทธิ์หลายอย่างรวมกัน ทั้งกระตุ้น กดและหลอดประสาท

อาการของผู้เสพติดกัญชา

ระยะแรกจะกระตุ้นประสาท ทำให้พูดมาก หัวเราะตลอดเวลา ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะคล้ายคนเมาเหล้า ง่วงนอน ซึม ถ้าเสพมากจะหลอนประสาทเห็นภาพลวงตา ความคิดสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจทำให้เป็นบ้าได้ ทำให้ติดโรคได้ง่าย ความรู้สึกทางเพศลดน้อยหรือหมดไปด้วย

วิธีป้องกันยาเสพติด

วิธีป้องกันยาเสพติด

ป้องกันตนเอง

  • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
  • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
  • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
  • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
  • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่

ป้องกันครอบครัว

  • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
  • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
  • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
  • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด

ป้องกันชุมชน

  • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
  • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที

กฎหมายคดียาเสพติด

  • ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีนหรือยาบ้า
  • ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น โคเคน
  • ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย เช่น ยาแก้ไอที่มีฝิ่นหรือโคเคนเป็นส่วนผสม
  • ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์
  • ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม
แจ้งเบาะแสยาเสพติด

แจ้งเบาะแสยาเสพติด

ป.ป.ส. เปิดช่องทางการแจ้งเบาะแสยาเสพติด เอาผิดผู้เกี่ยวข้อง ปกป้องลูกหลานคนใกล้ตัว พ้นภัยยาเสพติด

  1. สายด่วน 1386 ผู้แจ้งเบาะแส สามารถโทรผ่านสายด่วน 1386 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และโทรฟรีทุกเครือข่าย
  2. หนังสือร้องเรียนถึงสำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค
  3. การแจ้งเบาะแสด้วยตนเองได้ที่สำนักงาน ป.ป.ส.ส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค : ผู้เดินทางมาร้องเรียน ณ สถานที่ทำการของแต่ละพื้นที่สามารถติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ ณ ห้องประชาสัมพันธ์ เพื่อรับเรื่องร้องเรียนต่อไป
  4. การแจ้งผ่านเว็บไซต์ ป.ป.ส. : 1386.oncb.go.th

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee